การพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย โดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้ประกอบชุดแบบฝึกทักษะ โรงเรียนบ้านคำพอก

Main Article Content

Sirirat Phatungthane

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1)เพื่อศึกษาระดับทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยโดยรวมและจำแนกรายทักษะ หลังการใช้กิจกรรมการเรียนรู้ประกอบชุดแบบฝึกทักษะ 2)เพื่อเปรียบเทียบการพัฒนาทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยก่อนและหลังการใช้กิจกรรมการเรียนรู้ประกอบชุดแบบฝึกทักษะ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชาย-หญิงที่มีอายุระหว่าง 4-5 ปี ซึ่งกำลังศึกษาอยู่ชั้นอนุบาลศึกษาปีที่ 2-3 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564 โรงเรียนบ้านคำพอก อำเภอเมืองนครพนม จังหวัดนครพนม จำนวน 22 คน ซึ่งได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง (Purposive sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้ประกอบชุดแบบฝึกทักษะวิทยาศาสตร์ และแบบทดสอบ สำหรับสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ใช้ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าความเที่ยงตรง และ t-test for Dependent samples
ผลการวิจัยพบว่า
1. ระดับทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย ก่อนเรียนอยู่ในระดับดี 2 ทักษะ คือ ทักษะการสังเกต ทักษะการจำแนกประเภท ทักษะที่อยู่ในระดับพอใช้ คือ ทักษะการสื่อสาร และทักษะที่อยู่ในระดับปรับปรุง คือ ทักษะการลงความเห็น หลังการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ประกอบชุดแบบฝึกทักษะ พบว่าเด็กปฐมวัยมีการพัฒนาทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์อยู่ในระดับดีมาก 2 ทักษะ คือ คือ ทักษะการสังเกต ทักษะการจำแนกประเภท ทักษะที่อยู่ในระดับดี คือ ทักษะการสื่อสาร และทักษะที่อยู่ในระดับพอใช้ คือ ทักษะการลงความเห็น
2. หลังการใช้แผนการจัดการเรียนรู้ประกอบชุดแบบฝึกทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์ เด็กปฐมวัยมีทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนโดยรวมและรายทักษะอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

Article Details

บท
research article
Share |

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2546). การส่งเสริมนิสัยรักการอ่าน. กรุงเทพฯ: สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2546). หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). ตัวชี้วัดและสาระการ เรียนรู้แกนกลาง กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมชน สหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

กระทรวงศึกษาธิการ สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2556). รายงานการติดตามและประเมินผลการจัด การศึกษาตามนโยบายด้านการศึกษาของรัฐบาล. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้น พื้นฐาน.

กุลยา ตันติผลาชีวะ. (2545). รูปแบบการเรียนการสอนปฐมวัยศึกษา. กรุงเทพฯ: สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

จุนิตา รัตนประทีป. (2541). การพัฒนาแบบฝึกทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐาน สำหรับนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ในโรงเรียนเทศบาล 1 (ห้วยมุด) จังหวัดสุราษฎร์ธานี วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

ชัยวัฒน์ สุทธิรัตน์. (2552). 80นวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ. กรุงเทพฯ: แดเน็กซ์ อินเตอร์คอร์ปอเรชั่น.

นิศารัตน์ แซ่ซ้ง. (2551). ผลของการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบโครงการเพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย. ลำปาง: คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง.

พิมพ์พรรณ ทองประสิทธิ์. (2549). การศึกษาความสามารถทางพหุปัญญาของเด็กปฐมวัย ได้รับการจัดกิจกรรมโดยใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์. วารสารการศึกษาปฐมวัย, 10(2), 71-73.

ยศวีร์ สายฟ้า. (2551). เมื่อเด็กปฐมวัยเรียนปนเล่นกับวิทยาศาสตร์: หลักการและรูปแบบการสอนวิทยาศาสตร์ที่เหมาะสมกับการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัย. เอกสารประกอบการอบรม เรื่อง “สอนวิทย์-คณิตในระดับปฐมวัยอย่างไรให้สนุกและได้มาตรฐาน”. สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2545). มาตรฐานครูวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภา ลาดพร้าว.

สตาคเฮล ดีน่า. (2542). การสอนวิทยาศาสตร์แนวใหม่สำหรับเด็กปฐมวัย. แปลโดย ดุษฎี บริพัตร ณ อยุธยา.พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: นามมีบุคส์.

สิริมา ภิญโญอนันตพงษ์. (2553). การวัดและประเมินแนวใหม่: เด็กปฐมวัย. กรุงเทพฯ: คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

อำพวรรณ์ เนียมคำ. (2546). การสอนคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยแบบโครงการ. วารสารการศึกษาปฐมวัย, 5(4), 12-14.

Neuman, D.B. (1981). Experience in Science for Young Children. New York: Macmillan Publishing Co., Inc.