การอ่านออกเสียงบทร้อยกรอง โดยใช้โปรแกรม HP Reveal กับชุดแบบฝึกทักษะ ผ่านวรรณคดีสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนสหราษฎร์รังสฤษดิ์ อำเภอศรีสงคราม จังหวัดนครพนม

Main Article Content

ศักฑาวุฒ โคตรชมภู

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาทักษะการอ่านออกเสียงบทร้อยกรอง โดยใช้ชุดแบบฝึกทักษะสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนสหราษฎร์รังสฤษดิ์ อำเภอศรีสงคราม จังหวัด นครพนม ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่ได้รับ การพัฒนาทักษะการอ่านออกเสียงบทร้อยกรอง โดยใช้ชุดแบบฝึกทักษะ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 3 และเพื่อศึกษาความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนการสอนการอ่านออกเสียงบทร้อยกรองโดยใช้ ชุดแบบฝึกทักษะ ผลการวิจัยพบว่าชุดแบบฝึกทักษะการอ่านออกเสียงบทร้อยกรอง ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 มีประสิทธิภาพผ่านเกณฑ์ 80/80 โดยมีประสิทธิภาพของกระบวนการเรียนการสอน (E1) = 80.69 และประสิทธิภาพของการเรียนการสอนหลังจากเรียนจบ (E2) = 81.89 ค่าเฉลี่ยข้างต้นแสดงว่าการใช้ชุดแบบฝึกทักษะการอ่านออกเสียงบทร้อยกรอง ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 มีประสิทธิภาพ 82.69/81.89  ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด นักเรียนกลุ่มตัวอย่างซึ่งได้มาโดยวิธีการเลือกแบบเจาะจง จำนวน 36 คน มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 วิชาภาษาไทย หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และมีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนการสอนโดยใช้ชุดแบบฝึก ทักษะการอ่านออกเสียงบทร้อยกรอง โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (X̅ = 4.8, S.D. = 0.3) ซึ่งสูงกว่า เกณฑ์ที่กำหนด เมื่อพิจารณาแต่ละประเด็นพบว่าประเด็นชุดแบบฝึกทักษะส่งเสริมให้นักเรียนได้ใช้ความคิดโดยอาศัยความรู้และความเข้าใจจากกระบวนการสอนโดยเน้นการฝึกปฏิบัติอยู่ในระดับมากที่สุด (X̅ = 5.0, S.D. = 0.2)

Article Details

How to Cite
โคตรชมภู ศ. (2023). การอ่านออกเสียงบทร้อยกรอง โดยใช้โปรแกรม HP Reveal กับชุดแบบฝึกทักษะ ผ่านวรรณคดีสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนสหราษฎร์รังสฤษดิ์ อำเภอศรีสงคราม จังหวัดนครพนม . วารสารครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยนครพนม, 4(2), 60–72. สืบค้น จาก https://so08.tci-thaijo.org/index.php/edunpuJ/article/view/2237
บท
research article
Share |

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพ ฯ : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จ ากัด.

กัญณฐา พงศ์พิริยะวนิช. (2561). การอ่านร้อยแก้วร้อยกรองเชิงนวัตกรรมวรรณศิลป์. พิมพ์ครั้งที่ 2. นนทบุรี : สัมปชัญญะ.

ราชบัญฑิตยสถาน. (2546). พจนานุกรมฉบับราชบัญฑิตสถาน 2542. กรุงเทพ ฯ : บริษัท นานมีบุ๊ค พับลิเคชั่น จำกัด.

วรรณภา ไชยวรรณ. (2549). การพัฒนาแผนการอ่านและการเขียนภาษาไทยเรื่องอักษรควบและอักษรนำสำหรับนักเรียนชั้นำ

ประถมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้แบบฝึกทักษะ. การศึกษาค้นคว้าอิสระ การศึกษามหาบัณฑิต มหาสารคาม : มหาวิทยาลัย

มหาสารคาม.

สุวิชัย พรรษา. (2561). “การพัฒนาสื่อความเป็นจริงเสริมเพื่อการเรียนรู้เชิงสร้างสรรค์ ศิลปะแม่ไม้มวยไทย,” การจัดการ

เทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรม. 5(2) : 149 ; กรกฎาคม-ธันวาคม.23

สุวิทย์ มูลค า และสุนันทา สุนทรประเสริฐ. (2550). การพัฒนาผลงานทางวิชาการ สู่การเลื่อนวิทยฐานะ.

กรุงเทพ ฯ : อี เค บุคส์.

สุวิมล สุวรรณจันดี. (2554). การพัฒนาแผนการเรียนร้สาระพระพุทธศาสนาโดยใช้ใช้กรณีศึกษาเพื่อส่งเสริมการคิดวิเคราะห์

ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนวัดอรัญญาราม อำเภอแม่ท่า จังหวัดลำพูน. การศึกษาค้นคว้าอิสระ การศึกษามหาบัณฑิต เชียงใหม่ :มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

หน่วยศึกษานิเทศก์. (ม.ป.ป.). คู่มือการสอนอ่าน เขียนภาษาไทย ของนักเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร. กรุงเทพ ฯ : ศูนย์สื่อและ

สิ่งพิมพ์แก้วเจ้าจอง มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.

อาภรณ์ ใจเที่ยง. (2550). หลักการสอน (ฉบับปรับปรุง). พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพ ฯ : โอเดียนสโตร์.

อุมาภรณ์ ทองเสมอ. (2548). การพัฒนาแบบฝึกทักษาการอ่านภาษาอังกฤษ โดยใช้นิทานและรูปภาพสำหรับนักเรียน

ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5. วิทยานิพนธ์ ปริญญามหาบัณฑิต ภูเก็ต : มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต.

Office of Knowledge Management and Development. (2016).

Lazer, D, M, J., Buam, M. A., Berinsky, A. M., Menczer, F., … Zittrian, J. L. (2018, March 9).

The Science of Fake News. Science Magozine, 359(6380), pp. 1094-1096