Professional Learning Community in Schools under Nakhon Phanom Primary Educational Service Area Office 1 การเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพของโรงเรียนใน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครพนม เขต 1 จิตรลดา สุขสละ, สุมาลี ศรีพุทธรินทร์
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของการเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพของโรงเรียน และ 2) เพื่อประเมินความต้องการจำเป็นของการเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพของโรงเรียน กลุ่มตัวอย่างทั้งหมด 278 คน ได้แก่ ผู้บริหารโรงเรียน จำนวน 112 คน ครู จำนวน 116 คน กลุ่มตัวอย่างได้มาโดยการสุ่มแบบแบ่งชั้น เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา เป็นแบบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 2 ฉบับ คือ 1)
แบบสอบถามสภาพปัจจุบันของการเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพของโรงเรียน และ 2) แบบสอบถามสภาพที่พึงประสงค์ของการเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพของโรงเรียน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและค่าดัชนีลำดับความสำคัญของความต้องการจำเป็นแบบปรับปรุง (PNIModified) ผลการศึกษาค้นคว้า พบว่า 1) สภาพปัจจุบันของการเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพของโรงเรียนโดยภาพ รวมอยู่ในระดับมาก สภาพที่พึงประสงค์ของการเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพของโรงเรียนโดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด 2) ผลการประเมินความต้องการจำเป็นของการเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพของโรงเรียน เรียงลำดับการประเมินค่าสูงที่สุดไปหาต่ำที่สุด ได้แก่ การมีวิสัยทัศน์ร่วมกัน ชุมชนกัลยาณมิตรโครงสร้างสนับสนุน การทำงานเป็นทีม การเรียนรู้และพัฒนาวิชาชีพ และการมีภาวะผู้นำ ตามลำดับ
คำสำคัญ: สภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ ความต้องการจำเป็น ชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ
The purposes of this study were 1) to study the current and desirable situations of professional learning community in schools, and 2) to assess the needs of professional learning community in schools. The samples used were 278 people including 112 school administrators, and 116 teachers, and they were selected by Stratified Random Sampling. The instruments used were 2 aspects of five-rating scale questionnaires: 1) a questionnaire about the current situations of professional learning community in schools, and 2) a questionnaire about the desirable situations of professional learning community in schools. The statistics employed were percentage, mean, standard deviation and the Modified Priority Needs Index (PNImodified). The results revealed that 1) the current and the desirable situations of professional learning community in schools in overall were at the high level and the highest level, respectively. 2) The need assessment of professional learning community in schools revealed the valuation sorted by the highest to the
lowest aspects, namely shared vision, amity community, support structure, teamwork, professional learning and development, and leadership, respectively
Keywords: Current Situations, Desirable Situations, Needs, Professional Learning Community
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารครุศาสตร์ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยนครพนม ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารครุศาสตร์เล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยนครพนม และคณาจารย์ท่านอื่น ๆ ในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใด ๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). คู่มือประกอบการอบรมการขับเคลื่อนกระบวนการ PLC (Professional Learning Community) “ชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ”
สู่สถานศึกษา. สำนักพัฒนาครูและบุคลากรการศึกษาขั้นพื้นฐาน.
กฤต สุวรรณพรหม. (2560). กลยุทธ์การพัฒนาโรงเรียนให้เป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้วิชาชีพในโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษาสังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การ
ศึกษาประถมศึกษาเลยเขต 1. [วิทยานิพนธ์ปริญญาเอก,มหาวิทยาลัยขอนแก่น]. ฐานข้อมูลงานวิจัย (ThaiLis).
ฐาปณัฐ อุดมศรี. (2558). รูปแบบการบริหารโรงเรียนเพื่อเสริมสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพด้านการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน. [วิทยานิพนธ์ปริญญาเอก,
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย]. ฐานข้อมูลงานวิจัย (ThaiLis).
นราพร จันทร์โอชา. (2560). การนำนโยบายสู่การปฏิบัติ: การอบรม PLC. สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 17.
บุญชม ศรีสะอาด. (2560). การวิจัยเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 10). สุวีริยาสาส์น.
ปองทิพย์ เทพอารีย์. (2557). การพัฒนารูปแบบชุมชนแห่งการเรียนรู้เชิงวิชาชีพ สำหรับครูประถมศึกษา. [วิทยานิพนธ์ปริญญาเอก, มหาวิทยาลัศรีนครินทร
วิโรฒ]. ฐานข้อมูลงานวิจัย (ThaiLis).
พลอยไพลิน นิลกรรณ์. (2564). แนวทางการจัดการเรียนรู้เชิงรุก โครงการการนิเทศการจัดการเรียนรู้เชิงรุกโดยใช้กระบวนการชี้แนะและการเป็นพี่เลี้ยง. กลุ่ม
นิเทศ ติดตาม และประเมินผลการจัดการศึกษาสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาลำปาง ลำพูน.
มินตรา ลายสนิทเสรีกุล และปิยพงษ์ สุเมตติกุล. (2557). กลยุทธ์การบริหารโรงเรียนสู่การเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้วิชาชีพของโรงเรียนมัธยมศึกษาใน
สหวิทยาเขตเบญจบูรพากรุงเทพมหานคร. วารสารครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 9(3), 392-406.
วิจารณ์ พานิช. (2555). วิถีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ในศตวรรษที่ 21. มูลนิธิสดศรีสฤษดิ์วงศ์.
________. (2555). สอนอย่างไรในศตวรรษที่ 21. https://lripsm.wixsite.com/21st/-21.
ศิวกร รัตติโชติ. (2561). แนวทางการพัฒนาชุมชนแห่งการเรียนรู้วิชาชีพเพื่อการวิจัยในชั้นเรียนของครูในโรงเรียนมัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร สังกัดสำนักงาน
คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน: วิธีวิจัยแบบผสมผสานวิธีการ. [วิทยานิพนธ์ปริญญาเอก, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.]. ฐานข้อมูลงานวิจัย
(ThaiLis).
สุวิมล ว่องวาณิช. (2558). การวิจัยประเมินความต้องการจำเป็น. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครพนม เขต 1. (2566). รายงานการขับเคลื่อน PLC. กลุ่มนิเทศและติดตามผลการจัดการศึกษา.
________. (2566). ข้อมูลสารสนเทศทางการศึกษา ปีการศึกษา 2566. https://www.nkpedu1.go.th/information.
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 32. (2560). ตัวแปรที่ส่งผลต่อความเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การ
ศึกษา มัธยมศึกษา เขต 32. วิจัยสำนักงาน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 32.
สำนักงานเลขาธิการคุรุสภา. (2559). แนวทางการส่งเสริม สนับสนุนเครือข่ายพัฒนาวิชาชีพครูและบุคลากรทางการศึกษา. ประกาศสำนักงานเลขาธิการคุรุสภา.
อนุสรา สุวรรณวงค์. (2558). กลยุทธ์การบริหารเพื่อเสริมสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพสำหรับครูโรงเรียนเอกชน. [วิทยานิพนธ์ปริญญาเอก, จุฬาลงกรณ์
มหาวิทยาลัย]. ฐานข้อมูลงานวิจัย (ThaiLis).
อัมพันธ์ ดอกเตย. (2565). การพัฒนากลยุทธ์การบริหารชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.
[วิทยานิพนธ์ปริญญาเอก, มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม]. ฐานข้อมูลงานวิจัย (ThaiLis).
อำนาท เหลือน้อย. (2561). รูปแบบการบริหารจัดการชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพของโรงเรียนมาตรฐานสากล. [วิทยานิพนธ์ปริญญาเอก, มหาวิทยาลัยราชภัฏ
นครสวรรค์]. ฐานข้อมูลงานวิจัย (ThaiLis).
Chen, P. et al. (2016). Factors that develop effective professional learning communities in Taiwan. Asia Pacific Journal of Education,
(2), 248-265.
Daniel, C. (2015). School culture and leadership of professional learning communities. International Journal of Educational
Management, 29(5), 682-694.
Tam, A. C. F. (2015). The role of a professional learning community in teacher change: A perspective from beliefs and practices.
Teachers and Teaching: Theory and Practice, 21(1), 22-43.
Wang, J.H., Han, H.M., &Cui, X. (2013). A study of the teacher team construction based on the theory of professional learning
community. Journal of Hebei University, 38(2): 139-142.
Wei, Y. (2018). The Development of Professional Learning Community Indicators for Higher Educational Institutions in Guangxi Zhuang
Autonomous Region People’s Republic of China. Doctor of philophy thesis educational administration. Loei Rajabhat University.
Zhu, S.H., & Wu, S.J. (2012). On construction of college foreign language teacher professional Learning community. Journal of Northeast
Normal University (Philosophy and Social Sciences), 3(1): 134-137