การนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้บริหารจัดการสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครพนม
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ในการนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้บริหารจัดการสถานศึกษา (2) เพื่อประเมินความต้องการจำเป็นในการนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้บริหารจัดการสถานศึกษา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้จำนวน 259 คน ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 68 คน ครู จำนวน 191 คน กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้เกณฑ์ร้อยละ ได้มาโดยการสุ่มแบบแบ่งชั้น เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาเป็นแบบสอบถาม มาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 2 ฉบับ (1) แบบสอบถามสภาพปัจจุบันการนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้บริหารจัดการสถานศึกษา มีค่าดัชนีความสอดคล้องอยู่ระหว่าง .60-1.0 มีค่าอำนาจจำแนกรายข้ออยู่ระหว่าง .42- .87 และค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ .97 (2) แบบสอบถามสภาพที่พึงประสงค์การนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้บริหารจัดการสถานศึกษา มีค่าดัชนีความสอดคล้องอยู่ระหว่าง .60 - 1.0 มีค่าอำนาจจำแนกรายข้ออยู่ระหว่าง .45 - .93 และค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ .92 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและค่าดัชนีการจัดลำดับความสำคัญของความต้องการจำเป็นแบบปรับปรุง (PNImodified)
ผลการวิจัยค้นคว้า พบว่า (1) สภาพปัจจุบันในการนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้บริหารจัดการสถานศึกษา โดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง สภาพที่พึงประสงค์ในการนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้บริหารจัดการสถานศึกษาโดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (2) ผลการประเมินความต้องการจำเป็นในการนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้บริหารจัดการสถานศึกษา เรียงลำดับค่าสูงที่สุดไปหาต่ำที่สุดดังนี้ ด้านการทำงานร่วมกันแบบออนไลน์ ด้านการใช้งานคอมพิวเตอร์ ด้านการใช้งานเพื่อความปลอดภัย ด้านการใช้ดิจิทัลเพื่อความมั่นคง ปลอดภัย ด้านการใช้งานอินเตอร์เน็ต ด้านการใช้โปรแกรมนำเสนอ ด้านการใช้โปรแกรมสร้างสื่อดิจิทัล และด้านการใช้โปรแกรมตารางคำนวณตามลำดับ
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารครุศาสตร์ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยนครพนม ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารครุศาสตร์เล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยนครพนม และคณาจารย์ท่านอื่น ๆ ในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใด ๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว
References
กระทรวงดิจิทัลเศรษฐกิจและสังคม. (2560). แผนแม่บทหลักในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมดิจิทัลของประเทศระยะ 20 ปี.
กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.
กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร. (2557). การสำรวจการมีการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร พ.ศ.
กรุงเทพฯ: สำนักงานสถิติแห่งชาติกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร.
ขัตติยา ทองเทพ, ทัศนา ประสานตรี และสุมาลี ศรีพุทธรินทร์. (2566). “สภาพความต้องการจำเป็นและแนวทางการ
พัฒนาการนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้ในการจัดการเรียนรู้ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา
บึงกาฬ”, วารสารบัณฑิตวิทยาลัย พิชญทรรศน์. 18(1), 179 – 195.
ทรงเกียรติ พืชมงคล และวีรวัฒน์ อุทัยรัตน์. (2558). “รูปแบบการจัดการดิจิทัลเทคโนโลยีสู่คุณภาพตามมาตรฐานสากลของ
โรงเรียนมัธยมศึกษาในจังหวัดชายแดนภาคใต้ของประเทศไทย”, วารสารมหาบัณฑิตอสีเทิร์นเอเชียฉบับ
สังคมศาสตร์และมนุษย์ศาสตร์. 5(2), 274 - 283.
ทิพวรรณ นนทเภท. (2557). การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการบริหารของสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่
การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 3 (วิทยานิพนธ์ครุศาสตมหาบัณฑิตนครศรีธรรมราช).
มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช.
ไพฑูรย์ สินลารัตน์. (2557). ทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 ต้องก้าวให้พ้นกับดักของตะวันตก. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธุรกิจ
วิทยาลัย.
ธนรัตน์ กุลศรี. (2564). การศึกษาบทบาทของผู้บริหารต่อการจัดการศึกษายุคดิจิทัลของโรงเรียน สังกัดกรมส่งเสริมการ
ปกครองท้องถิ่น อำเภอเมืองเชียงราย. (การศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง การศึกษามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยพะเยา.
บุญชม ศรีสะอาด. (2560). การวิจัยเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 10). กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาสน.
มณีนุช ภูยังมี, สุมาลี ศรีพุทธรินทร์ และจารุวรรณ เขียวน้ำชุม. (2564). “สภาพปัจจุบัน สถาพที่พึงประสงค์ และแนวทาง
พัฒนาการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อการบริการจัดการสถานศึกษาของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
ประถมศึกษานครพนม เขต 1”, วารสารรัชต์ภาคย์. 15(40), 249 - 263.
สุกัญญา รอดระกํา. (2561). บทบาทผู้บริหารสถานศึกษาในยุคไทยแลนด์ 4.0. เอกสารประกอบการประชุมวิชาการเสนอ
ผลงานวิจัยระดับชาติ “GRADUATE SCHOOL CONFERENCE 2018”. วันที่ 30 พฤศจิกายน 2561,
มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา: กรุงเทพฯ.
สุกัญญา แช่มช้อย. (2562). การบริหารสถานศึกษาในยคุดิจิทัล (พิมพ์ครั้งที่2). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครพนม. (2566). แผนปฏิบัติการประจำปี2566. นครพนม: สำนักงาน
คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ.
สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา. (2561). “การพัฒนาทักษะด้านดิจิทัลสำหรับข้าราชการ
ครูและบุคลากรทางการศึกษา,” วารสารสำนักคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา.
(39), 5 - 8.
สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน. (2562). ทักษะด้านดิจิทัลที่จำเป็นสำหรับข้าราชการและบุคลากรภาครัฐเพื่อ
ปรับเปลี่ยนเป็นรัฐบาลดิจิทัล. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ. (2562). ครูไทยยุคใหม่สนใจดิจิทัล. กรุงเทพฯ: พริกหวานกราฟิก.
อดิศักดิ์ นาระนะและ ชวน ภารังกูล. (2565). “การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการบริหารสถานศึกษา สังกัดสานักงานเขต
พื้นที่ การศึกษาประถมศึกษาราชบุรี เขต 1”, วารสารสิรินธรปริทรรศน์. 23(2), 131 - 132.
อัญสุชา บุญขันตินาถ. (2561). “การพัฒนาทักษะด้านดิจิทัลสำหรับข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา,” วารสาร
ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา. 39(1), 5 - 8.
Agarwal, N. and Ahmed, F. (2017). “Developing collective learning extension for rapidly evolving information system courses,” Education and Information Technologies. 22(1), 7 - 37.
Carretero, S., R. Vuorikari, and Y. Punie. (2017). DigComp 2.1: The Digital Competence Framework for
Citizens with Eight Proficiency Levels and Examples of Use. Luxenburg: Publications Office of the
European Union.
Cohen,J.M. and Uphoff,N.T. (1980). Effective Behavior in Organizations. New York: Richard D. Irwin.
Marthese Spiteri1 and Shu‑Nu Chang Rundgren. (2018). “Technology, Knowledge and Learning,” Literature
Review on the Factors Afecting Primary Teachers Use of Digital Technology. [Online], Available:
https://link.springer.com/content/pdf/10.1007/s10758-018- 9376-x.pdf. [20 July, 2022].
Mustafa, Jwaifell, Osama M., Kraishan, Dima, Waswas and Raed Omar, Salah. (2019).
“Digital Competencies and Professional Attitudes as Predictors of Universities Academics' Digital
Technologies Usage: Example of Al-Hussein Bin Talal,” International Journal of Higher
Education. 8(6), 267 - 277.
Monika kiss. (2017). Digital skills inthe EU labour market. EuropeanParliamentary Research Service:
Physical description.
Ugur, Naciye and Koc, Tugba. (2019). “Leading and Teaching with Technology: School Principals’
Perspective,” International Journal of Educational Leadership and Management. 7(1), 42 - 71.