การพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์โดยใช้กิจกรรมการทดลองวิทยาศาสตร์ จากสื่อการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ผ่านภูมิปัญญาท้องถิ่น

Main Article Content

Thidaporn Souysaart

บทคัดย่อ

การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ก่อนและหลังร่วมกิจกรรมการทดลองวิทยาศาสตร์ จากสื่อการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ผ่านภูมิปัญญาท้องถิ่น และเพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนต่อการเรียนรู้วิชาวิทยาศาสตร์ โดยใช้กิจกรรมการทดลองทางวิทยาศาสตร์จากสื่อการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ผ่านภูมิปัญญาท้องถิ่น กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านกลาง อำเภอบ้านแพง จังหวัดนครพนม จำนวนทั้งสิ้น 40 คน ได้มาโดยวิธีการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster sampling) เครื่องมือในการวิจัยใช้แบบวัดทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ แบบวัดความรู้พื้นฐาน และแบบประเมินความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าทีแบบกลุ่มตัวอย่างเดียวไม่เป็นอิสระต่อกัน ที่ระดับนัยสำคัญ .05 ผลการวิจัยพบว่า ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ด้านทักษะการสังเกต ทักษะการทดลอง ทักษะการพยากรณ์ และทักษะการสร้างแบบจำลอง เรื่อง ความยืดหยุ่น การหมุน การชน และแรง ของนักเรียนหลังร่วมกิจกรรมการทดลองวิทยาศาสตร์จากสื่อการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ผ่านภูมิปัญญาท้องถิ่นสูงกว่าก่อนร่วมกิจกรรมอย่างมีนัยสำคัญที่สถิติ (p< 0.05) และนักเรียนมีระดับความพึงพอใจกิจกรรมการ ทดลองวิทยาศาสตร์จากสื่อการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ภูมิปัญญาท้องถิ่น ผู้เข้าร่วมกิจกรรมสามารถนําความรู้ไปใช้ในชีวิต และผู้เข้าร่วมกิจกรรมรู้สึกสนุกสนาน และโดยรวมมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด

Article Details

How to Cite
Souysaart, T. (2024). การพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์โดยใช้กิจกรรมการทดลองวิทยาศาสตร์ จากสื่อการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ผ่านภูมิปัญญาท้องถิ่น. วารสารครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยนครพนม, 5(1), 38–50. สืบค้น จาก https://so08.tci-thaijo.org/index.php/edunpuJ/article/view/2799
บท
research article
Share |

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลางกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ

ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภา.

ฆนัท ธาตุทอง. (2554). สอนคิด: การจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาการคิด (พิมพ์ครั้งที่ 2) กรุงเทพฯ: เพชรเกษมการพิมพ์.

ทัศริน โตนุช, และวรนุช แหยมแสง. (2560). พฤติกรรมการสอนวิทยาศาสตร์ทั่วไป. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัย

รามคำแหง.

ธนภรณ์ ก้องเสียง และรินรดี พรวิริยะสกุล. (2560). การพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ โดยใช้กิจกรรมการ

ทดลองวิทยาศาสตร์เสริมการเรียนรู้ กรณีศึกษาโรงเรียนปราโมชวิทยารามอินทรา. วารสารครุศาสตร์อุตสาหกรรม

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี, 5(1), 24 - 31.

ประสาท เนืองเฉลิม. (2558). การเรียนรู้วิทยาศาสตร์ในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

พิมพ์ขวัญ สังข์ทอง และปิยาภรณ์ พุ่มแก้ว (2563). การพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้น

มัธยมศึกษาปีที่ 4 โดยใช้ชุดกิจกรรมปฏิบัติการทดลองเรื่อง สมบัติของธาตุและสารประกอบ. วารสารวิชาการ

มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีษะเกษ, 14(2), 12 - 28.

ลภัสพร จิตปรีดา และ สัจธรรม พรทวีกุล. (2566). การพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นบูรณาการโดยใช้กิจกรรม

การเรียนรู้เชิงรุกสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5. วารสารสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏ

มหาสารคาม, 10(1), 422 - 436.

ลัดดา ภู่เกียรติ. (2552). การสอนแบบโครงงานและการสอนแบบใช้วิจัยเป็นฐาน: งานที่ครูประถมทำได้. กรุงเทพฯ: สาฮะ

แอนด์ซัน พริ้นติ้ง.

วิชา ทรวงแสวง. (2543). ภูมิปัญญาท้องถิ่นกับการเรียนการสอนในสถาบันราชภัฏ, วารสารวิชาการ. 3(3), 73 - 79.

วีระพงษ์ แสงชูโต. (2552). แนวทางการจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์โดยใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น. กรุงเทพฯ: โซตนา พรินท์.

สกาว แสงอ่อน. (2546). การพัฒนาชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ เรื่อง สับปะรดท้องถิ่นในจังหวัดประจวบคีรีขันธ์สำหรับนักเรียน

ช่วงชั้นที่ 3. (ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

สิรินทร์ ลัดดากลม บุญเชิดชู และมุจลินทร์ กลิ่นหวล. (2559). กิจกรรมทัศนศึกษาเพื่อส่งเสริมสมรรถนะการเรียนรู้ของเด็ก

ปฐมวัยในศตวรรษที่ 21. Veridian E-Journal, Silpakorn University (Humanities, Social Sciences and

arts), 9(3), 1550 - 1562.

Evans, L., & Abbott, I. (1998). Teaching and learning in higher education. Bloomsbury Publishing.

Good, C. V. (1973). Dictionary of Education. New York: McGraw-Hill Book.