การพัฒนาความสามารถการอ่านสะกดคำไม่ตรงตามมาตรา ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้การจัดการเรียนรู้สมองเป็นฐาน ร่วมกับการใช้สื่อการ์ตูนแอนิเมชัน
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถการอ่านสะกดคำไม่ตรงตามมาตราก่อนและหลัง
การจัดการเรียนรู้สมองเป็นฐาน ร่วมกับการใช้สื่อการ์ตูนแอนิเมชันของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 2) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถการอ่านสะกดคำไม่ตรงตามมาตราของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 หลังเรียนกับเกณฑ์ร้อยละ 80 และ 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจที่มีต่อการจัดการเรียนรู้สมองเป็นฐานร่วมกับสื่อการ์ตูนแอนิเมชันของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 กลุ่มตัวอย่างในการวิจัย ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2566 โรงเรียนบ้านลาด อำเภอเดิมบางนางบวช จังหวัดสุพรรณบุรี จำนวน 10 คน ได้มาโดยวิธีการสุ่มแบบกลุ่ม มีหน่วยในการสุ่ม คือ โรงเรียน เครื่องมือในการวิจัย ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้ เรื่อง การอ่านสะกดคำไม่ตรงตามมาตรา โดยใช้การจัดการเรียนรู้สมองเป็นฐานร่วมกับการใช้สื่อการ์ตูนแอนิเมชัน 2) การ์ตูนแอนิเมชัน โดยมีเนื้อหาเกี่ยวกับการอ่านสะกดคำไม่ตรงตามมาตรา 3) แบบทดสอบวัดความสามารถในการอ่านสะกดคำไม่ตรงตามมาตรา และ 4) แบบประเมินความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้สมองเป็นฐานร่วมกับการใช้สื่อการ์ตูนแอนิเมชัน สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที
ผลการวิจัย พบว่า 1) ความสามารถการอ่านสะกดคำไม่ตรงตามมาตรา โดยใช้การจัดการเรียนรู้สมองเป็นฐาน ร่วมกับการใช้สื่อการ์ตูนแอนิเมชัน ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 2) ความสามารถการอ่านสะกดคำไม่ตรงตามมาตราของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 หลังเรียนสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 80 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) นักเรียนมีความพึงพอใจ ต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน ร่วมกับการใช้สื่อการ์ตูนแอนิเมชัน อยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.72, S.D. = 0.42)
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารครุศาสตร์ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยนครพนม ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารครุศาสตร์เล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยนครพนม และคณาจารย์ท่านอื่น ๆ ในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใด ๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. โรงพิมพ์ ชุมชนการเกษตรแห่ง
ประเทศไทย.
กฤตยากาญจน์ อินทร์พิทักษ์. (2562). การพัฒนาความสามารถการอ่านและการเขียนคำภาษาไทย นักเรียนชั้นประถมศึกษา
ปีที่ 2 ด้วยกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดสมองเป็นฐาน. [ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิตสาขาหลักสูตร
และการสอน: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม]. ฐานข้อมูลงานวิจัย (ThaiLis).
ขวัญนภา บุญนิธี. (2564). การพัฒนาทักษะด้านการอ่านสะกดคำนักเรียนชั้นปะถมศึกษาปีที่ 1 โดยใช้แบบฝึกวินิจฉัยเป็น
รายบุคคล. [ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาภาษาไทย: มหาวิทยาลัยนเรศวร]. ฐานข้อมูลงานวิจัย (ThaiLis).
จิฑาภรณ์ จูมาศ. (2563). การพัฒนาความสามารถในการอ่านคำที่สะกดไม่ตรงมาตราของนักเรียนชั้นแนวคิดสมองเป็นฐาน
ร่วมกับการใช้แบบฝึกทักษะสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ประถมศึกษาปีที่ 2. [ปริญญาการศึกษา
มหาบัณฑิต สาขาวิชาภาษาไทย: มหาวิทยาลัยนเรศวร]. ฐานข้อมูลงานวิจัย (ThaiLis).
ดารัตน์ จันทสาร. (2558). การพัฒนาการ์ตูนแอนิเมชั่น เรื่อง เศรษฐกิจพอเพียง สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5.
[ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษา: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ]. ฐานข้อมูลงานวิจัย (ThaiLis).
บรรจง พลไชย (2556). การอ่านเพื่อการเรียนรู้. วารสารห้องสมุด, 57(1), 36-46.
ภริตา การะภาพ. (2564). การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวทางการจัดการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน (Brain-Based
Learning: BBL) ร่วมกับการใช้สื่อโมชันกราฟิกเพื่อส่งเสริมความสามารถในการอ่านสะกดคำของนักเรียน
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2. [วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษา:
มหาวิทยาลัยศิลปากร]. ฐานข้อมูลงานวิจัย (ThaiLis).
ทิพย์สุดา ไพรงาม. (2565). การพัฒนาบทเรียนการ์ตูนแอนิเมชันโดยใช้การจัดการเรียนรู้ตามหลักการ พัฒนาสมองเป็นฐาน
เพื่อพัฒนาความสามารถด้านการอ่านสะกดคำ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3. [ปริญญาการศึกษา
มหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยี และสื่อสารการศึกษา: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม]. ฐานข้อมูลงานวิจัย (ThaiLis).
รัตนาพร คงยวง. (2565). การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้ภาษาไทย ด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน
เรื่อง ชนิดของคำ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. [ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาภาษาไทย:
มหาวิทยาลัยนเรศวร]. ฐานข้อมูลงานวิจัย (ThaiLis).
สิทธิพล อาจอินทร์ (2560). ศาสตร์และศิลป์การจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21. (พิมพ์ครั้งที่ 2). คณะศึกษาศาสตร์
มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
สุธาทิพย์ ชัยแก้ว. (2564). การพัฒนาความสามารถในการอ่าน การเขียนสะกดคำและการเรียนรู้อย่างมีความสุขของนักเรียน
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ด้วยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดสมองเป็นฐาน. [วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตร
มหาบัณฑิต สาขาวิชาการสอนภาษาไทย: มหาวิทยาลัยศิลปากร]. ฐานข้อมูลงานวิจัย (ThaiLis).