การพัฒนาทักษะการอ่านออกเสียงตัวสะกดตรงมาตรา โดยใช้แบบฝึกเสริมทักษะของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 The Development of pronunciation skill in final consonant sounds using the exercises For Thai spelling in grade 2 Bankhonkhang School Nakhon Phanom Primary Educational Service Area Office 1

Main Article Content

์Nutchima Kunhaboot

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบทักษะการอ่านออกเสียงมาตราตัวสะกดของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้ โดยใช้แบบฝึกเสริมทักษะเรื่องมาตราตัวสะกด กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ที่กำลังศึกษาอยู่ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2566 โรงเรียนบ้านขอนขว้าง จังหวัดนครพนม จำนวน 1 ห้องเรียน มีจำนวนนักเรียน 15 คน ได้มาจากการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้วิชาภาษาไทย จำนวน 10 แผน 2) แบบทดสอบทักษะการอ่านออกเสียง เรื่อง มาตราตัวสะกด          มีลักษณะเป็นข้อสอบถูกผิด จำนวน 15 ข้อ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าทีแบบที่ไม่เป็นอิสระต่อกัน ผลการวิจัยพบว่า นักเรียนมีทักษะการอ่านออกเสียงตัวสะกดตรงมาตรา โดยใช้แบบฝึกเสริมทักษะเรื่องมาตราตัวสะกด หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

Article Details

How to Cite
Kunhaboot ์. (2024). การพัฒนาทักษะการอ่านออกเสียงตัวสะกดตรงมาตรา โดยใช้แบบฝึกเสริมทักษะของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 : The Development of pronunciation skill in final consonant sounds using the exercises For Thai spelling in grade 2 Bankhonkhang School Nakhon Phanom Primary Educational Service Area Office 1. วารสารครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยนครพนม, 5(1), 75–81. สืบค้น จาก https://so08.tci-thaijo.org/index.php/edunpuJ/article/view/3059
บท
research article
Share |

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์

การเกษตรแห่งประเทศไทย.

นัฐพงศ์ เชื้อเพชร. (2560). สภาพและแนวทางแก้ไขปัญหาการอ่านสะกดคำและเขียนสะกดคำของนักเรียนชั้นประถมศึกษาใน

โรงเรียนสังกัดสำนักการศึกษากรุงเทพมหานคร. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย).

นิศานาจ โสภาพล. (2563). อ่านอย่างไรให้มีศิลปะ. อุบลราชธานี: มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี.

บุญชม ศรีสะอาด. (2545). การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 7. สุวีริยาสาส์น.

บุญชม ศรีสะอาด และคณะ. (2552). การวิจัยเกี่ยวกับการบริหารการศึกษา. กรุงเทพฯ: สุวิริยาสาส์น.

ปิยธิป ไทยเสน. (2564). การพัฒนาทักษะการอ่านออกสียงตัวสะกดตรงตามมาตรา โดยใช้เกมร่วมกับเทคนิคเพื่อนคิดของ

นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1. (วิทยานิพนธ์หลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยรังสิต).

ละอองดาว เบียดนอก. (2560). การศึกษาความสามารถการอ่านสะกดคำที่ตรงตามมาตราตัวสะกดของนักเรียนชั้น

ประถมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนนายกวัฒนากร จังหวัดนครนายก โดยใช้แบบฝึกทักษะอ่านแจกลูกสะกดคำ.

(สารนิพนธ์ หลักสูตรปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ).

ศศินิภา ศรีทอง. (2565). การพัฒนาความสามารถในการอ่านสะกดคำที่สะกดไม่ตรงตามมาตราตัวสะกด

แม่ กด ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD.

(วิทยานิพนธ์ หลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี).

อุุทัยวรรณ อรรคเสลา. (2557). การพัฒนาทักษะการอ่านและเขียนคำมาตราตัวสะกด โดยใช้แบบฝึกของนักเรียนชั้น

ประถมศึกษาปีที่ 2 ปีการศึกษา 2557. กรุงเทพฯ: โรงเรียนอัสสัมชัญแผนกประถม.