สภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์และความต้องการจำเป็นการนิเทศภายในโรงเรียนยุคดิจิทัล สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครพนม

Main Article Content

Chedsada Poncha

บทคัดย่อ

การนิเทศภายในมีความสำคัญอย่างยิ่งที่จะนำพาสถานศึกษาบรรลุเป้าหมายในยุคดิจทัลที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา อันจะก่อให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการบริหารงานของสถานศึกษาการศึกษาค้นคว้าอิสระครั้งนี้มีวัตถุ


ประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์การนิเทศภายในโรงเรียนยุคดิจิทัล  (2) ประเมินควาต้องการ


จำเป็นการนิเทศภายในโรงเรียนยุคดิจิทัล กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา หัวหน้ากลุ่มงานบริหารวิชาการ และครู จำนวน 173 คน กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้เกณฑ์ร้อยละ ได้มาโดยวิธีการสุ่มแบบแบ่งชั้น เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา


มีจำนวน 2 ฉบับ คือ (1) แบบสอบถามสภาพปัจจุบันของการนิเทศภายในโรงเรียนยุคดิจิทัล มีค่าดัชนีความสอดคล้องระหว่าง .60-1.00 มีค่าอำนาจจำแนกรายข้อระหว่าง .52-.90 มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ .99 (2) แบบสอบถามสภาพที่พึงประสงค์ของการนิเทศภายในโรงเรียนยุคดิจิทัล  มีค่าดัชนีความสอดคล้องระหว่าง .60-1.00 มีค่าอำนาจจำแนกรายข้vระหว่าง .60-.89 มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ .95 สถิติที่ใช้ ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและจัดลำดับความสำคัญความต้องการจำเป็น โดยใช้สูตร Modified Priority Needs Index (PNIModified)


         ผลการวิจัยพบว่า (1) สภาพปัจจุบันของการนิเทศภายในโรงเรียนยุคดิจิทัล โดยรวมอยู่ในระดับมาก และสภาพที่พึงประสงค์ของการนิเทศภายในโรงเรียนยุคดิจิทัล โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (2) ความต้องการจำเป็นการนิเทศภายในโรงเรียนยุคดิจิทัล  โดยรวมและรายด้านเรียงลำดับค่าเฉลี่ยสูงสุดไปต่ำสุด ได้แก่ ด้านการนิเทศแบบชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ ด้านการนิเทศแบบครูพี่เลี้ยง ด้านการนิเทศออนไลน์ ด้านการนิเทศแบบชี้แนะ และด้านการนิเทศแบบคลินิก ตามลำดับ

Article Details

How to Cite
Poncha, C. (2024). สภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์และความต้องการจำเป็นการนิเทศภายในโรงเรียนยุคดิจิทัล สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครพนม. วารสารครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยนครพนม, 5(2), 25–35. สืบค้น จาก https://so08.tci-thaijo.org/index.php/edunpuJ/article/view/3282
บท
research article
Share |

References

กุลกาญจน์ สุวรรณรักษ์. (2562). การนิเทศการสอนในยุค 4.0. กรุงเทพฯ : คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏ

บ้านสมเด็จเจ้าพระยา.

จุไรรัตน์ สุดรุ่ง. (2559). การนิเทศภายในโรงเรียน. กรุงเทพมหานคร: แดเน็กซ์อินเตอร์คอร์ปอเรชั่น.

จริยา ศรีชนะ. (2563). การพัฒนาแนวทางการนิเทศภายในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา

เขต 27.[วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต,มหาวิทยาลัยมหาสารคาม].ฐานข้อมูลงานวิจัย (ThaiLis).

จริยาภรณ์ เรืองเสน. (2561). แนวทางพัฒนากระบวนการนิเทศภายในสถานศึกษาของโรงเรียนขยายโอกาส สังกัด

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากำแพงเพชร เขต 2. วารสารคณะครุศาสตร์ คณะครุศาสตร์

มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร,3(6), 1-13.

บุญชม ศรีสะอาด. (2560). การวิจัยเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 10). สุวีริยาสาส์น.

พิพัฒน์ ภู่ภีโญ. (2555). กลยุทธ์การบริหารโรงเรียนขนาดเล็กเพื่อการพัฒนาแบบก้าวกระโดด.[วิทยานิพนธ์ปริญญาเอก,

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย]. ฐานข้อมูลงานวิจัย (ThaiLis).

พิมพ์ทอง สังสุทธิพงศ์. (2555). บริบท ปัจจัย และสภาพการจัดการเรียนการสอนพลศึกษา โดยใช้ชุมชนแห่งการเรียนรู้

ทางวิชาชีพ ระดับประถมศึกษ ในโรงเรียนเขตเมือง 8 จังหวัดภาคเหนือตอนบน. เชียงใหม่ : มหาวิทยาลัยราช

ภัฏเชียงใหม่.ฐานข้อมูลงานวิจัย (ThaiLis).

พีรยา ทรัพย์หล่ำ. (2562). แนวทางการดำเนินงานนิเทศภายในโรงเรียนของโรงเรียนขนาดเล็กในจังหวัดนครสวรรค์

สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 42. [วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏ

นครสวรรค์].ฐานข้อมูลงานวิจัย (ThaiLis).

เพิ่มพูล ร่มศรี. (2558). การพัฒนารูปแบบการนิเทศภายในที่มีประสิทธิผลสำหรับโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่

การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ดเขต 1. [ วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม].

ฐานข้อมูลงานวิจัย (ThaiLis).

มุกดา เลขะวิพัฒน์.(2563). ตกผลึกความคิดชีวิตศึกษานิเทศก์ 30 ปี จากหลักการ ทฤษฎี สู่วิถีปฏิบัติ.กรุงเทพฯ :

เลิศไพศาลการพิมพ์.

วัชรา เล่าเรียนดี. (2553). การนิเทศการสอน: Supervision of Instruction. (พิมพ์ครั้งที่ 7). นครปฐม: โรงพิมพ์

มหาวิทยาลัยศิลปากร.

วัชรา เล่าเรียนดี. (2556). ศาสตร์การนิเทศการสอนและการโค้ช การพัฒนาวิชาชีพ: ทฤษฎี กลยุทธ์สู่การปฏิบัติ.

(พิมพ์ครั้งที่ 12). ภาควิชาหลักสูตรและวิธีสอน คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากรนครปฐม.

วิจารณ์ พานิช. (2554). วิถีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ : มูลนิธิสดศรี-สฤษดิ์วงศ์.

วรลักษณ์ ชูกำเนิด และเอกรินทร์ สังข์ทอง. (2557). โรงเรียนแห่งชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ เพื่อการพัฒนาวิชาชีพครู

ที่เน้นผู้เรียนเป็นหัวใจสำคัญ.วารสารวิทยบริการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, 25(1),93-102.

สุกัญญา แช่มช้อย. (2558). ภาวะผู้นำทางเทคโนโลยี: การนำเทคโนโลยีสู่ห้องเรียนและโรงเรียนในศตวรรษที่ 21.

วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 16(4), 216-224.

ศิริพร อิ่มชื่น (2565). บทบาทการนิเทศภายในของผู้บริหารสถานศึกษาในยุคดิจิทัล สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา

ประถมศึกษาเพชรบุรี เขต 2 . วารสารนวัตกรรมการศึกษาและการวิจัย, 7(1), 310 –322.

สุนารี ศรเพ็ชร. (2564). แนวทางการพัฒนาการนิเทศภายในโรงเรียนสหวิทยาเขตปรางค์กู่ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่

การศึกษามัธยมศึกษา เขต 28,”วรสารครุศาสตร์ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์, 4 (3), 57-58.

สุวิมล ว่องวาณิช. (2558). การวิจัยประเมินความต้องการจำเป็น. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุเดือนเพ็ญ คงคะจันทร์และคณะ.(2550). Coaching/Mentoring. เอกสารประกอบการฝึกอบรม หลักสูตรนัก

บริหารงานส่งเสริมสุขภาพระดับกลาง. สมุทรสาคร.

สมเกียรติ ทานอกและคณะ. (2556). การพัฒนาครูโดยใช้กระบวนการสร้างระบบพี่เลี้ยง Coaching and Mentoring:

คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา.

อัญชลี ธรรมะวิธีกุล. (2552). ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการนิเทศการศึกษา. กรุงเทพฯ: กระทรวงศึกษาธิการ.

Harris ,(A.) (2009). Creative leadership. Journal of Mangement in Edocation.23(1),9-11.

https://shorturl.asia/oOux4.