สภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ และความต้องการจำเป็นในการพัฒนาการดำเนินงานการจัดการศึกษาพิเศษในโรงเรียนเรียนรวม จังหวัดนครพนม
Main Article Content
บทคัดย่อ
การพัฒนาการดำเนินงานการจัดการศึกษาพิเศษในโรงเรียนเรียนรวม จังหวัดนครพนม เป็นข้อมูลในการวางแผนแก้ไขปัญหาที่เกิดการจัดการเรียนรวมในโรงเรียน อันจะก่อให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการจัดการศึกษาของโรงเรียนเรียนรวม การศึกษาค้นคว้าอิสระครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของการดำเนินงานการจัดการศึกษาพิเศษในโรงเรียนเรียนรวม (2) ประเมินความต้องการจำเป็นของการดำเนินงานการจัดการศึกษาพิเศษในโรงเรียนเรียนรวม กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 309 คน ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 103 คน ครูผู้รับผิดชอบเด็กพิเศษ จำนวน 103 คนและครูที่ไม่ได้รับผิดชอบเด็กพิเศษ จำนวน 103 คน ปีการศึกษา 2566 โรงเรียนเรียนรวมในจังหวัดนครพนม กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่าง โดยเทียบตารางของ Krejcie and Morgan โดยการใช้การสุ่มแบบแบ่งชั้น (Stratified Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาเป็นแบบสอบถาม มาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 2 ฉบับ คือ (1) แบบสอบถามสภาพปัจจุบันของการดำเนินงานการจัดการศึกษาพิเศษในโรงเรียนเรียนรวม มีค่าดัชนีความสอดคล้องเชิงเนื้อหารายข้อระหว่าง .60-1.00 มีค่าอำนาจจำแนกรายข้อระหว่าง .54-.86 มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ .98 (2) แบบสอบถามสภาพที่พึงประสงค์ของการดำเนินงานการจัดการศึกษาพิเศษในโรงเรียนเรียนรวม มีค่าดัชนีความสอดคล้องเชิงเนื้อหารายข้อระหว่าง .60-1.00 มีค่าอำนาจจำแนกรายข้อระหว่าง .64-.91 มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ .98 สถิติที่ใช้ ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและจัดลำดับความสำคัญความต้องการจำเป็นโดยใช้สูตร Modified Priority Needs Index (PNI Modified)
ผลการศึกษา พบว่า (1) สภาพปัจจุบันของการดำเนินงานการจัดการศึกษาพิเศษในโรงเรียนเรียนรวมโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก และสภาพที่พึงประสงค์ของการดำเนินงานการจัดการศึกษาพิเศษในโรงเรียนเรียนรวม โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (2) ผลการประเมินความต้องการจำเป็นของการดำเนินงานการจัดการศึกษาพิเศษในโรงเรียนเรียนรวม เรียงลำดับค่าสูงที่สุดไปหาต่ำที่สุด ได้แก่ ด้านกิจกรรมการเรียนการสอน ด้านเครื่องมือ ด้านสภาพแวดล้อม ด้านนักเรียน ตามลำดับ
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารครุศาสตร์ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยนครพนม ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารครุศาสตร์เล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยนครพนม และคณาจารย์ท่านอื่น ๆ ในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใด ๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว
References
จาตุรงค์ เจริญนำ. (2559). การศึกษาสภาพการบริหารจัดการเรียนร่วมโดยใช้โครงสร้างซีท (SEAT) ของโรงเรียนเรียน
ร่วมในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 9. [ปริญญามหาบัณฑิต
สาขาเทคโนโลยีการบริหารการศึกษา: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี]. ฐานข้อมูลงานวิจัย (ThaiLis).
บุญชม ศรีสะอาด. (2560). การวิจัยเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 10). กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.
เบญจา ชลธาร์นนท์. (2554). คู่มือการบริหารจัดการเรียนร่วมตามโครงสร้างซีท (SEAT). กรุงเทพฯ: เพทายการพิมพ์.
พัทธนันท์ วงษ์วิชยุตม์ และคณะ. (2560). แนวทางการพัฒนาการจัดการศึกษาแบบเรียนรวมโรงเรียนบ้านลำมะโกรก
สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากำแพงเพชร เขต 1 จังหวัดกำแพงเพชร. วารสารมนุษยศาสตร์
สังคมศาสตร์และศิลปะ, 11(1), 588 – 603.
พลธาวิน วัชรทรธำรงค์ และศศินันท์ ศิริธาดากุลพัฒน์. (2564). การดำเนินงานจัดการศึกษาของโรงเรียนเรียนรวม
สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มมร วิทยาเขตอีสาน,
(3), 40-50.
มนัชญา แก้วอินทรชัย และสุกัญญา แช่มช้อย (2565). แนวทางพัฒนาการบริหารงานการให้บริการช่วยเหลือเด็กพิการ
ตามแนวคิดการเตรียมความพร้อมในการเปลี่ยนผ่านสู่ระบบโรงเรียนเรียนร่วม. วารสารนวัตกรรมการศึกษาและ
การวิจัย, 6(1), 117-133.
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครพนม เขต 1. (2562). ข้อมูลพื้นฐานโรงเรียนสังกัด สพป.นครพนม เขต 1.
นครพนม: กลุ่มสารสนเทศสำนักนโยบายและแผนการศึกษาขั้นพื้นฐาน.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2550). แนวทางการกระจายอำนาจการบริหารและการจัดการศึกษาให้
คณะกรรมการเขตพื้นที่การศึกษาและสถานศึกษาตามกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการกระจาย
อำนาจการบริหารจัดการศึกษา พ.ศ.2550. กรุงเทพฯ: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
สุวิมล ว่องวาณิช. (2558). การศึกษาประเมินความต้องการจำเป็น Need assessment research. (พิมพ์ครั้งที่ 3
ฉบับปรับปรุง). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
อนุชิต บุญมาก. (2560). การพัฒนาแนวทางการจัดการเรียนร่วมสำหรับสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่
การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 1. [วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม].
ฐานข้อมูลงานวิจัย (ThaiLis).
อรทัย แสนชัย. (2559). การจัดการการเรียนรวมของโรงเรียนต้นแบบการเรียนรวม จังหวัดนนทบุรี. [ปริญญา
มหาบัณฑิต: มหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์น]. ฐานข้อมูลงานวิจัย (ThaiLis).
Krejcie & Morgan. (1970). Determining sample size for research activities. Education and
Psychological Measurement.