การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง การดำเนินการระหว่างเซต โดยใช้ การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค TAI ร่วมกับสื่อประสมของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนนวมินทราชินูทิศ หอวัง นนทบุรี

Main Article Content

PIYAPOL PLUBWANGKLUM

บทคัดย่อ

              บทความนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์พื้นฐาน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 เรื่อง การดำเนินการระหว่างเซต โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค TAI ร่วมกับสื่อประสม กับเกณฑ์ร้อยละ 70 กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2566 ที่ได้มาโดยการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบกลุ่ม (Cluster sampling) จำนวน 35 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้ และแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง การดำเนินการระหว่างเซต ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค TAI ร่วมกับสื่อประสม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ยเลขคณิต (Mean) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) และการทดสอบที t-test one sample ผลการวิจัยพบว่า การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง การดำเนินการระหว่างเซต โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค TAI ร่วมกับสื่อประสม ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ สูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

Article Details

How to Cite
PLUBWANGKLUM, P. (2024). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง การดำเนินการระหว่างเซต โดยใช้ การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค TAI ร่วมกับสื่อประสมของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนนวมินทราชินูทิศ หอวัง นนทบุรี . วารสารครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยนครพนม, 5(2), 57–64. สืบค้น จาก https://so08.tci-thaijo.org/index.php/edunpuJ/article/view/3304
บท
research article
Share |

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลาง กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560). กรุงเทพฯ: ชุมชนสหกรณ์

การเกษตรแห่งประเทศไทย.

กิติศักดิ์ คำเมฆ, ยุภาดี ปณะราช และปวีณา สาสิงห์. (2560). การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือโดยใช้เทคนิค TAI ที่มีผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียนคณิตศาสตร์ของ

นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนองค์การบริหารส่วนจังหวัดกำแพงเพชร. วารสารครุศาสตร์สาร, 16(1), 117 - 126.

ณัฏฐพัชร ปัดภัย. (2564). ผลการจัดการเรียนรู้เรื่อง การบวก การลบ การคูณ และการหารเศษส่วน โดยใช้วิธีแบบเปิดร่วมกับ

การเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค TAI ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความสามารถด้านการคิดวิเคราะห์ของ

นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5. [ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้: มหาวิทยาลัย

ราชภัฏบุรีรัมย์]. ฐานข้อมูลงานวิจัย (ThaiLis).

ธนศักดิ์ แสนสำราญ. (2562). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 6 เรื่อง การ เรียง สับเปลี่ยนและการจัดหมู่ โดยใช้สื่อประสม โรงเรียนนวมินทราชินูทิศ บดินทรเดชา. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต: มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร]. ฐานข้อมูลงานวิจัย (ThaiLis).

ธนัชพร ตันมา. (2561). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่องเศษส่วน โดยใช้เทคนิคกลุ่มเพื่อนช่วยเพื่อนรายบุคคลร่วมกับสื่อประสม สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต: มหาวิทยาลัยราชภัฏ อุตรดิตถ์]. ฐานข้อมูลงานวิจัย (ThaiLis).

สิรภพ พลสุวรรณ. (2561). การพัฒนากิจกรรมการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ โดยใช้รูปแบบการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือเทคนิคเพื่อนช่วยเหลือรายบุคคล (TAI)

ร่วมกับสื่อประสมเรื่องการคูณ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3. [วิทยานิพนธ์ ปริญญามหาบัณฑิต: มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร]. ฐานข้อมูลงานวิจัย

(ThaiLis).

สุวร กาญจนมยูร. (2554). เทคนิคการใช้สื่อและเกมทางคณิตศาสตร์ เล่ม 2. กรุงเทพฯ: ไฮเอ็ดพับลิชชิ่ง.

เอมอร ผาสุขพันธ์. (2562). การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์และทักษะการสื่อสารทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2

ระหว่างกลุ่มที่จัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD กับเทคนิค TAI โดยการประเมินผลตามสภาพจริง. [ม.ป.ท.: มหาวิทยาลัยราชภัฏ

พระนครศรีอยุธยา]. ฐานข้อมูลงานวิจัย (ThaiLis).

Slavin, R. E., Madden, N. A , & Lcavey, M. (1984). Effects of team assisted individualization on the

mathematics achievement of academically handicapped and non-handicapped students.

Journal of Educational Psychology.

Slavin, R. E. (1995). Cooperative learning (2nd ed.). New York: Allyn and Bacon.