การพัฒนาและฟื้นฟูศิลปวัฒนธรรม ดนตรี และการแสดง บ้านด่านม่วงคำ อำเภอโคกศรีสุพรรณ จังหวัดสกลนคร

Main Article Content

ธีรวุฒิ มูลเมืองแสน

บทคัดย่อ

ดนตรี การแสดง เป็นสิ่งที่มนุษย์ชาติสร้างขึ้นมีลักษณะเป็นองค์ประกอบหนึ่งของศิลปวัฒนธรรม ในแต่ละพื้นมีศิลปวัฒนธรรมดนตรีและการแสดงที่มีความจำเพาะที่จะแสดงออกถึงความเชื่อ ประเพณี พิธีกรรม และวิถีชีวิต ของกลุ่มชาติพันธุ์ ที่สร้างขึ้นเอง หรือรับสืบทอดผ่านการแพร่กระจายทางวัฒนธรรม รวมถึงการนำมาประยุกต์ใช้ในรูปแบบของชุมชนตนเอง การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาศิลปวัฒนธรรม ดนตรี และการแสดง บ้านด่านม่วงคำ อำเภอโคกศรีสุพรรณ จังหวัดสกลนคร และ 2) เพื่อพัฒนาและฟื้นฟูศิลปวัฒนธรรม ดนตรี และการแสดง บ้านด่านม่วงคำ อำเภอโคกศรีสุพรรณ จังหวัดสกลนคร โดยมีกลุ่มตัวอย่างจากกลุ่มผู้รู้ 5 คน กลุ่มผู้ปฏิบัติ 10 คน และจากการสัมภาษณ์กลุ่มผู้ให้ข้อมูลทั่วไป 30 คน มีขอบเขตในการทำวิจัยเดือนตุลาคม พ.ศ. 2566 ถึง เดือนกันยายน พ.ศ. 2567 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แบบสัมภาษณ์ที่มีโครงสร้าง แบบสัมภาษณ์ที่ไม่มีโครงสร้าง แบบสังเกตแบบมีส่วนร่วม แบบสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วม และนำเสนอผลการวิจัยในรูปแบบพรรณนาวิเคราะห์


      ผลการวิจัยพบว่า 1) ศิลปวัฒนธรรมดนตรีและการแสดงบ้านด่านม่วงคำ อำเภอโคกศรีสุพรรณ จังหวัดสกลนคร ประกอบด้วยพิธีกรรมทางศาสนา เช่น ประเพณีงานบุญกฐิณ บุญผ้าป่า บุญผะเหวด ประเพณีไหลเรือไฟ พิธีกรรมทางศาสนา เช่น การแห่พระอุปคุต และการฟ้อนกลองตุ้มเป็นวัฒนธรรมที่แสดงถึงอัตลักษณ์ทางชาติพันธุ์ของชาวผู้ไทกะต๊ะ ด้วยอัตลักษณ์ทางด้านการแต่งกาย และการบรรเลงดนตรีอันเป็นเอกลักษณ์จำเพาะ ทั้งนี้ การแสดงการฟ้อนกลองตุ้มมีบทบาทสำคัญต่อการแสดงในพิธีกรรม และประเพณีของกลุ่มชาติพันธุ์ผู้ไทกะต๊ะ บ้านด่านม่วงคำ อำเภอโคกศรีสุพรรณ จังหวัดสกลนคร และ 2) การพัฒนาและฟื้นฟูศิลปวัฒนธรรม ดนตรี และการแสดง บ้านด่านม่วงคำ อำเภอโคกศรีสุพรรณ จังหวัดสกลนคร โดยมีการรวมร่วมข้อมูลในด้านศิลปวัฒนธรรม พิธีกรรมต่าง ๆ งานบุญ งานประเพณี วิถีชีวิต มีการพัฒนาสร้างบทเพลงแห่กลองตุ้ม รวมถึงการแสดงการออกแบบท่ารำ ของชาวบ้านด่านม่วงคำ อำเภอโคกศรีสุพรรณ จังหวัดสกลนคร

Article Details

How to Cite
มูลเมืองแสน ธ. (2024). การพัฒนาและฟื้นฟูศิลปวัฒนธรรม ดนตรี และการแสดง บ้านด่านม่วงคำ อำเภอโคกศรีสุพรรณ จังหวัดสกลนคร. วารสารครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยนครพนม, 5(3), 11–23. สืบค้น จาก https://so08.tci-thaijo.org/index.php/edunpuJ/article/view/3878
บท
research article
Share |

References

กมลรัตน์ หล้าสุวงษ์. (2523). จิตวิทยาการศึกษา. กรุงเทพฯ: มหามงกุฎราชวิทยาลัย.

กิ่งแก้ว อัตถากร. (2519). คติชนวิทยา. กรุงเทพฯ: หน่วยศึกษานิเทศก์กรมการฝึกหัดครู.

โครงการสร้างสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน. (2540). สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน เล่มที่ 23: โดยพระราชประสงค์ใน

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว. กรุงเทพฯ: โครงการสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน.

ธีระพงษ์ โสดาศรี. (2537). บทบาทของสำนักงานหมอลำ ในอำเภอเมืองในจังหวัดขอนแก่น. มหาสารคาม:

มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ มหาสารคาม.

ปรียาพร วงศ์อนุตรโรจน์. (2543). จิตวิทยาการศึกษา. กรุงเทพฯ: ศูนย์สื่อเสริมกรุงเทพฯ.

ปราณี วงษ์เทศ. (2525). ดนตรีบ้านพื้นเมือง. กรุงเทพฯ: เรือนแก้วการพิมพ์.

พรรณี ช. เจนจิต. (2538). จิตวิทยาการเรียนการสอน. (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ: ต้นอ้อ แกรมมี จำกัด.

พิทยวัฒน์ พันธะศรี. (2554). มโหรี: ความอยู่รอดและการเปลี่ยนแปลงของมโหรีในสังคมเขมร. [วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎี

บัณฑิต] มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

พวงรัตน์ ทวีรัตน์. (2543). วิธีการวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์. กรุงเทพฯ: สำนักทดสอบทางการศึกษา

และจิตวิทยา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร.

ศิริวรรณ แก้วเพ็งกรอ. (2551). ภูมิปัญญาพื้นบ้านเพื่อสืบสานและพัฒนารูปแบบการแสดงดนตรีของชาวผู้ไทจังหวัดกาฬสินธุ์

[วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

สกุณา พันธุระ. (2554). การศึกษาดนตรีผู้ไทย ตําบลหนองห้าง อําเภอกุฉินารายณ์ จังหวัดกาฬสินธุ์. กรุงเทพฯ:

มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

สาร สาระทัศนานันท์. (2534). ฮีตสิบสองคองสิบสี่. เลย: เมืองเลยการพิมพ์.

แสง จันทร์งาม. (2534). ศาสนศาสตร์. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพานิช.

สมศักดิ์ ศรีสันติสุข. (2544). การศึกษาสังคมและวัฒนธรรม: แนวความคิด วิธีวิทยา และทฤษฎี. ขอนแก่น: ภาควิชาสังคมวิทยา

และมานุษยวิทยา คณะมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

สุรศักดิ์ พิมพ์เสน. (2532). การทำแคน. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒมหาสารคาม.

สุรจิตต์ จันทรสาขา. (2532). รวมเผ่าไทยมุกดาหาร. ม.ป.ท.

อภิศักดิ์ โสมอินทร์. (2540). ครอบครัวกับการเปลี่ยนแปลง กรณีชาติพันธุ์ลาว. ใน บุญพา มิลินทสูต, สุรางค์ จันทร์กลั่น, และ

วินัย วรวัตร์(บ.ก.), วัฒนธรรมกับการพัฒนา: ทางเลือกของสังคมไทย (หน้า 69-88). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์การศาสนา

สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ.

สุภางค์ จันทวานิช. (2542). การวิเคราะห์ข้อมูลในการวิจัยเชิงคุณภาพ. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่ง

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อมรา พงศาพิชญ์. (2535). สังคมและวัฒนธรรม. (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Robbins, Stephen P. (2003). Organizational Behavior 10th ed. New Jersey: Prentice-Hall.