การพัฒนาทักษะการอ่านจับใจความสำคัญโดยใช้ชุดแบบฝึกทักษะการอ่านของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาความสามารถการอ่านจับใจความสำคัญโดยใช้แบบฝึกทักษะการอ่านของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 หลังเรียนเปรียบเทียบกับเกณฑ์ร้อยละ 80 และ 2) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถการอ่านจับใจความสำคัญของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ก่อนเรียนและหลังเรียน ด้วยแบบฝึกทักษะการอ่าน กลุ่มตัวอย่างในการวิจัย ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6/5 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2567 โรงเรียนบ้านแพงพิทยาคม อำเภอบ้านแพง จังหวัดนครพนม จำนวน 34 คน ได้มาโดยวิธีการสุ่มแบบกลุ่ม ด้วยวิธีการจับสลาก โดยมีห้องเรียนเป็นหน่วยการสุ่ม เครื่องมือในการวิจัย ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้ร่วมกับแบบฝึกทักษะการอ่าน แบบทดสอบวัดความสามารถในการอ่านจับใจความสำคัญ สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่า t-test แบบ Dependent Samples
ผลการวิจัย พบว่า 1) ความสามารถการอ่านจับใจความสำคัญ โดยใช้แบบฝึกทักษะการอ่านของนักเรียน
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน โดยมีค่าเฉลี่ย ( = 13.52, S.D. = 1.13), ( = 10.32, S.D. = 1.68) ตามลำดับ และ 2) การเปรียบเทียบความสามารถทางการอ่านจับใจความสำคัญของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โดยเรียงลำดับค่าเฉลี่ยเป็นรายด้านพบว่า การอ่านจับใจความสำคัญ มีค่าเฉลี่ย ( = 4.9, S.D. = 0.23) และการอ่านจับใจความสำคัญจากนิทาน มีค่าเฉลี่ย ( = 4.9, S.D. = 0.23) รองลงมาคือ การอ่านจับใจความสำคัญจากตำนาน มีค่าเฉลี่ย ( = 4.8, S.D. = 0.48) รองลงมาคือ การอ่านจับใจความสำคัญจากเรื่องสั้น มีค่าเฉลี่ย ( = 4.7, S.D. = 0.48) รองลงมาคือ การอ่านจับใจความสำคัญจากบทความ มีค่าเฉลี่ย ( = 4.6, S.D. = 0.51) การอ่านจับใจความสำคัญจากข่าว มีค่าเฉลี่ย ( = 4.6, S.D. = 0.51) รองลงมาคือ การอ่านจับใจความสำคัญจากสารคดี มีค่าเฉลี่ย ( = 4.5, S.D. = 0.69) และการอ่านจับใจความสำคัญจากบทร้อยกรอง มีค่าเฉลี่ย ( =4.4, S.D. = 0.69) ตามลำดับ โดยมีค่าเฉลี่ยหลังเรียนสูงกว่าร้อยละ 80 และความสามารถในการอ่านจับใจความสำคัญหลังเรียนมากกว่าก่อนเรียนโดยมีค่านัยสำคัญทางสถิติที่ .05
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารครุศาสตร์ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยนครพนม ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารครุศาสตร์เล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยนครพนม และคณาจารย์ท่านอื่น ๆ ในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใด ๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมชน
การเกษตรแห่งประเทศไทย.
กิติยวดี บุญชื่อ และอัญญมณี บุญชื่อ. (2549). สอนภาษาอย่างไรให้ลูกเก่ง. กรุงเทพฯ: สาราเด็ก.
ถนอมวงศ์ ล้ำยอดมรรคผล. (2541). “การพัฒนาสมรรถภาพในการอ่าน”. เอกสารการสอนชุดวิชาการใช้ภาษาไทย
เล่มที่ 2 หน่วยที่ 9. (พิมพ์ครั้งที่ 14). นนทบุรี: สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
ธัญมาส ตันเสถียร. (2544). การใช้วิธีอ่านเรื่องเพื่อพัฒนาการอ่านใจความของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่มีความสามารถ
ทางการอ่านต่ำกว่าระดับเฉลี่ย โรงเรียนสะอาดเผดิมวิทยา จังหวัดชุมพร. [วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต
สาขาวิชาการสอนภาษาไทย บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์].
https://dric.nrct.go.th/Search/SearchDetail/100933
นิภาพรรณ ทองสว่าง และอ้อมธจิต แป้นศรี. (2565). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการอ่านจับใจความสำคัญของนักเรียนชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 1 โดยใช้แบบฝึกทักษะ ร่วมกับเทคนิคคำถาม. วารสารปราชญ์ประชาคม 7(7), 282-296.
บันลือ พฤกษะวัน. (2543). แนวพัฒนาการอ่านเร็วคิดเป็น. กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพานิช.
ล้วน สายยศ และอังคณา สายยศ. (2543). เทคนิคการวิจัยทางการศึกษา. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.
วรรณี โสมประยูร. (2542). การสอนภาษาไทยระดับประถมศึกษา. กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนา.
แววมยุรา เหมือนนิล. (2541). การอ่านจับใจความ. กรุงเทพฯ: ชมรมเด็ก.
ศริญดา เทียมหมอก. (2557). การพัฒนาความสามารถในการอ่านจับใจความของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3
ด้วยแบบฝึกการอ่านจับใจความโดยใช้สาระท้องถิ่นร่วมกับแผนที่ความคิด. วารสารวิชาการฉบับภาษาไทยสาขา
มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ. 8(2), 1176-1192.
ศิริวรรณ เสนา. (2541). การศึกษาคุณลักษณะของเนื้อความสำหรับฝึกคัดลายมือที่ส่งผลต่อพัฒนาการคัดลายมือและ
ความเข้าใจในการอ่านของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหามหาบัณฑิต
มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ].