การพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้ปรากฏการณ์เป็นฐานเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อมของนักเรียนมัธยมศึกษา: การบูรณาการกรอบสมรรถนะทางวิทยาศาสตร์ PISA 2025

Main Article Content

สรายุธ รัศมี
ณัฐพล มีแก้ว

บทคัดย่อ

           การเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมในศตวรรษที่ 21 ส่งผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญต่อระบบนิเวศและการดำรงชีวิตของมนุษย์ ส่งผลให้จำเป็นต้องมีแนวทางการศึกษาที่สร้างความรู้ด้านสิ่งแวดล้อมและความยั่งยืน การจัดการเรียนรู้ด้านสิ่งแวดล้อมแบบดั้งเดิมมักขาดการเชื่อมโยงกับปรากฏการณ์ในชีวิตจริง ทำให้ผู้เรียนไม่สามารถประยุกต์ใช้ความรู้ทางทฤษฎีกับความท้าทายในทางปฏิบัติได้ การวิจัยนี้มุ่งเติมเต็มช่องว่างดังกล่าวโดยพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้ปรากฏการณ์เป็นฐาน (PhenoBL) เพื่อเสริมสร้างสมรรถนะวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อมในบริบท “ป่าบุ่งป่าทาม” ซึ่งเป็นระบบนิเวศชุ่มน้ำที่สำคัญในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้ PhenoBL เพื่อเสริมสร้างสมรรถนะวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อมของนักเรียนมัธยมศึกษา และ 2) ศึกษาสมรรถนะวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อมของนักเรียนมัธยมศึกษา โดยประเมินผ่านกรอบสมรรถนะทางวิทยาศาสตร์ PISA 2025 กลุ่มเป้าหมายได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 80 คน โดยเลือกแบบการสุ่มอย่างง่าย (Simple Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้ PhenoBL เรื่อง ป่าบุ่มป่าทาม จำนวน 4 แผน รวม 4 ชั่วโมง 2) แบบทดสอบสมรรถนะวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม จำนวน 20 ข้อ โดยกำหนดนักศึกษาผ่านเกณฑ์ที่ร้อยละ 70 3) แบบประเมินผลการพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้ และ 4) แบบสัมภาษณ์เชิงลึก สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และร้อยละ


         ผลการวิจัยพบว่า 1) แผนการจัดการเรียนรู้ PhenoBL ช่วยให้นักเรียนเชื่อมโยงความสัมพันธ์ในระบบนิเวศ ส่งเสริมการคิดเชิงระบบ การแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อม และการสร้างจิตสำนึกด้านสิ่งแวดล้อม พร้อมทั้งพัฒนาทักษะที่จำเป็นในศตวรรษที่ 21 และ 2) นักเรียนร้อยละ 87.25 มีคะแนนสมรรถนะวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อมผ่านเกณฑ์ โดยมีคะแนนเฉลี่ย 16.76 คะแนน (SD = 2.87) คิดเป็นร้อยละ 83.80 ผลการวิจัยชี้ให้เห็นถึงประสิทธิผลของการบูรณาการ PhenoBL ในการจัดการเรียนรู้ด้านสิ่งแวดล้อม พร้อมเสนอแนะเชิงนโยบายให้พัฒนาแผนการเรียนรู้ PhenoBL ในระดับชาติ รวมถึงสนับสนุนการอบรมครูให้มีความพร้อมในการจัดการเรียนรู้ที่เชื่อมโยงกับบริบทท้องถิ่นและความท้าทายด้านสิ่งแวดล้อมในปัจจุบัน

Article Details

How to Cite
รัศมี ส. ., & มีแก้ว ณ. (2024). การพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้ปรากฏการณ์เป็นฐานเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อมของนักเรียนมัธยมศึกษา: การบูรณาการกรอบสมรรถนะทางวิทยาศาสตร์ PISA 2025. วารสารครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยนครพนม, 5(3), 36–53. สืบค้น จาก https://so08.tci-thaijo.org/index.php/edunpuJ/article/view/4231
บท
research article
Share |

References

กรรณิการ์ ธรรมพานิชวงค์, กฤษฎ์เลิศ สัมพันธารักษ์, และสวิสา พงษ์เพชร. (2567). การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศกับ

เศรษฐกิจ. กรุงเทพฯ: สถาบันวิจัยเศรษฐกิจ ป๋วย อึ๊งภากรณ์.

ชินกร พิมพิลา, ธนภูมิ ดีพรม, วีระยุทธ อ่อนสุระทุม, วุฒิชัย ฤทธิวงค์, อรอนงค์ แจ่มพิศ, จินตระวี บุตระ, ภูวนัย มุงคุณ,

ณัฐพัฒน์ หะสุนโม, ชลดา เส็งนา, และศุภกร รัตนจันทร์. (2564). การศึกษาวิถีชีวิตและความหลากหลายทาง

ชีวภาพของป่าบุ่งป่าทามในลำน้ำสงคราม บ้านนาสีนวล ต.หนองแปน อ.เจริญศิลป์ จ.สกลนคร. โรงเรียนบ้านนา

สีนวล สำนักงานเขตพื้นที่ประถมศึกษาสกลนคร.

ภาคภูมิ เนียมบุญ และกรกนก เลิศเดชาภัทร. (2567). การจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมสมรรถนะทางวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม.

วารสารหน่วยวิจัยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และสิ่งแวดล้อมเพื่อการเรียนรู้, 15(1), 133-151.

สิริวิมล ยืนสี. (2567). การพัฒนาสมรรถนะทางวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม เรื่อง มนุษย์กับความยั่งยืนของสิ่งแวดล้อม ด้วยการ

จัดการเรียนรู้โดยใช้หลักฐานของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6. การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชา

วิทยาศาสตร์ศึกษา มหาวิทยาลัยนเรศวร]. พิษณุโลก: มหาวิทยาลัยนเรศวร.

สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. (2565). รายงานสถานการณ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

ประจำปี 2565. กรุงเทพฯ: สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม.

Adipat, S. (2024) Transcending traditional paradigms: the multifaceted realm of phenomenon-based learning.

Front. Educ. https://www.frontiersin.org/journals/education/articles/10.3389/feduc.

1346403/full

Jokinen, P., & Rissanen, M. (2022). Phenomenon-Based Learning: Developing 21st century skills in

environmental science education. Education for Sustainable Development, 13(2), 85-102.

Kauertz, A., Fischer, H. E., Mayer, J., Sumfleth, E., & Walpuski, M. (2010). Evaluation of the Standards of Science

Education for Lower Secondary Schools (ESNaS). In German National Standards in Science Education.

Koskinen, P., & Niemi, H. (2021). Integrating phenomenon-based learning into environmental education for

sustainable development. Journal of Environmental Education, 42(3), 299-310.

Mattila, P., & Silander, P. (2015). How to create the school of the future: Revolutionary thinking and design

from Finland. Oulu: Multiversum.

OECD. (2023). Environmental Sustainability Competence Framework. OECD Publications. https://www.oecd.org/

PISA 2025. (2024). SCIENCE FRAMEWORK. https://pisa-framework.oecd.org/science-2025/