ผลการประยุกต์ใช้แนวคิดการจัดการเรียนรู้ของ Van Hiele ร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบจิ๊กซอว์ในการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์เพื่อพัฒนาระดับการคิดเชิงเรขาคณิต ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่องพื้นที่ผิวและปริมาตร และความสุขในการเรียนรู้ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปี

Main Article Content

Anupong Sukkasem

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบระดับการคิดเชิงเรขาคณิต ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์เรื่องพื้นที่ผิวและปริมาตร และศึกษาความสุขในการเรียนรู้ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยประยุกต์ใช้การจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดของ Van Hiele ร่วมกับแนวคิดการจัดการเรียนรู้แบบจิ๊กซอว์ กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565 จำนวน 17 คน โดยดำเนินการจัดการเรียนรู้และทดสอบก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้รวม 14 คาบเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้ แบบวัดการคิดเชิงเรขาคณิต แบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง พื้นที่ผิวและปริมาตร และแบบวัดความสุขในการเรียนรู้ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพื้นฐาน ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบ โดยใช้การทดสอบเครื่องหมายและการทดสอบของวิลค็อกซัน


           ผลการวิจัยพบว่า การประยุกต์ใช้การจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดของ Van Hiele ร่วมกับแนวคิดการจัดการเรียนรู้แบบจิ๊กซอว์ ทำให้ระดับการคิดเชิงเรขาคณิต และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง พื้นที่ผิวและปริมาตรของนักเรียนมีคะแนนหลังการจัดการเรียนรู้สูงกว่าก่อนการจัดการเรียนรู้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และความสุขในการเรียนรู้ของนักเรียนอยู่ในระดับมาก

Article Details

How to Cite
Sukkasem, A. (2023). ผลการประยุกต์ใช้แนวคิดการจัดการเรียนรู้ของ Van Hiele ร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบจิ๊กซอว์ในการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์เพื่อพัฒนาระดับการคิดเชิงเรขาคณิต ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่องพื้นที่ผิวและปริมาตร และความสุขในการเรียนรู้ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปี. วารสารครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยนครพนม, 4(1). สืบค้น จาก https://so08.tci-thaijo.org/index.php/edunpuJ/article/view/724
บท
research article
Share |

References

บรรณานุกรม

จุฑาทิพย์ เต็มวิบูลย์โชค. (2560). กิจกรรมการเรียนการสอนคณิตศาสตร์โดยใช้เทคนิคจิ๊กซอว์ที่เสริมสร้างความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ เรื่อง การวัดค่ากลางของข้อมูล ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5. วารสารศึกษาศาสตร์. 28(1) : 110-123.

ชมนาด เชื้อสุวรรณทวี. (2561). การเรียนการสอนคณิตศาสตร์ Mathematics Instruction. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ชัชวิทย์ สงวนภักร์. (2557). การพัฒนาโปรแกรมเสริมสร้างสุขในการเรียนตามแนวคิดจิตตปัญญาศึกษาของนิสิตระดับปริญญาตรี ชั้นปีที่ 2 มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตบางเขน. ปริญญานิพนธ์ กศ.ม. (การวิจัยและพัฒนาศักยภาพมนุษย์). กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ณัชชา กมล. (2558). ตัวแบบของโซโล: กรอบแนวคิดในการวิเคราะห์การคิดเชิงคณิตศาสตร์. วารสารศรีนครินทรวิโรฒวิจัยและพัฒนา (สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์). 7(14) : 218-227.

ณัชฎาภา นิมตรดี และ นัฐจิรา บุศย์ดี. (2560). การจัดการเรียนรู้ตามแนวปฏิบัติสู่ผลสัมฤทธิ์ขั้นสูงเพื่อส่งเสริมการคิดเชิงเรขาคณิตของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. การประชุมประจำปีครั้งที่ 22 ในสาขาคณิตศาสตร์ จัดโดย ภาควิชาคณิตศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

รัชนี ทาเหล็ก. (2556). ผลการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิคจิ๊กซอว์ เรื่อง เส้นขนาน ที่มีต่อความสามารถในการวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. สารนิพนธ์ กศ.ม. (การมัธยมศึกษา). กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

วิภาพร งอยกุดจิก และ หล้า ภวภูตานนท์. (2558). การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ โดยใช้รูปแบบการสอนตามแนวคิดของ Van Hiele และใช้โปรแกรม The Geometer’s Sketchpad เป็นเครื่องมือช่วยการเรียนรู้เรื่อง ความสัมพันธ์ระหว่างรูปเรขาคณิตสองมิติและสามมิติ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น. 38(2) : 96-102.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2560). ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลาง กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2560. กรุงเทพฯ : สำนักคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ.

อลงกรณ์ ตั้งสงวนธรรม และคณะ. (2561). การใช้รูปแบบ Van Hiele ในการพัฒนาการเรียนการสอนการพิสูจน์ทางเรขาคณิต สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปี ที่ 3. วิทยาสารเกษตรศาสตร์ สาขาสังคมศาสตร์. 39(2561) : 634-644.

อัมพร ม้าคนอง. (2553). ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์ : การพัฒนาเพื่อพัฒนาการ. กรุงเทพฯ : ศูนย์ตำราและเอกสารทางวิชาการ คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อัมพร ม้าคนอง. (2557). คณิตศาสตร์สำหรับครูมัธยม. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อิทธิพัฒน์ สุวทันพรกูล. (2561). การวิจัยทางการศึกษา: แนวคิดและการประยุกต์ใช้. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Crowley, M. L. (1987). The van hiele model of the development of geometric thought. Teaching and Learning, K-12 – 1987 Yearbook. Virginia, USA: NCTM.

Olusegun, B, S. (2015). Constructivism Learning Theory: A Paradigm for Teaching and Learning. IOSR Journal of Research & Method in Education. 5(1) : 66-70.

Steinbrink, J, J. and Stahl, R, J. (1994). Jigsaw III = Jigsaw II + cooperative test review: Application to the social studies classroom. In cooperative learning in social studies: A handbook for teachers pp.131-152. California” Addison-Wesley publishing company.

Willson, J, W. (1971). Evaluation of Learning in Secondary School Mathematics: A Handbook on Formative and Summative Evaluation of Students Learning. New York: Mc Graw Hill.

Translate Thai Reference

Cheausuwantavee, C. (2018). Mathematics Instruction. Bangkok: Chulalongkorn University Printing House.

Kamol, N. (2015). SOLO model : A framework for analyzing mathematical thinking. Srinakharinwirot research and development (Journal of humanities and social sciences). 7(14) : 218-227.

Makanong, A. (2010). Skills and Mathematical Process. Developing for Development. Book and Academic Document Center of Faculty of Education, Chulalokorn University.

Makanong, A. (2014). Mathematics for Secondary School Teachers. Bangkok: Chulalongkorn University.

Ngoykudjik, V. and Pavaputanon, L. (2011). The Development of Mathematics Learning Activities Based on van Hieles’ Theory Utilizing The Geometer’s Sketchpad As A Learning Tool On Relation Between Two-Dimensional Geometric Figures and Three-Dimensional Geometric Figures for Matthayomsuksa 1. Journal of Education khon Kaen University. 38(2) : 96-102.

Nimitdee, N. and Busdee, N. (2017). Learning Management by using way to high achievement toward to geometric thinking for mathayomsuksa 3 students. The 22nd annual meeting in mathematics (AMM 2017) by Department of mathematics, Faculty of science Chiangmai University.

Office of the Basic Education Commission. (2017). Indicators and Core Content Mathematics Learning Area (Revied Edition B.E. 2560) According to The Basic Education Core Curriculum B.E. 2551. Office of the Basic Education Commission, Ministry of Education.

Snguanphak, C. (2014). The Development of program which enhances happiness in learning based on contemplative for sophomore students of Kasetsart university, Bankkhen campus. M.Ed. (Research and development on human potentials). Bangkok : Graduate school. Srinakharinwirot university.

Suwanthanpornkul, I. (2018). Educational research: Concept and application. Bangkok: Chulalongkorn University Printing House.

Temwiboolchok, C. (2017). Mathematical Instructional Activities Using Jigsaw Technique to Enhance Problem-Solving Abilities on Measure of Central Tendency for Mathayomsuksa Five Students. Journal of Education. 110-123.