การศึกษาการใช้ระบบคลาวด์ คอมพิวติ้งในกูเกิลแอปพลิเคชันเพื่อพัฒนาประสิทธิภาพการทำงานวิชาการร่วมกันในศตวรรษที่ 21

ผู้แต่ง

  • ศศิพิมพ์ สายกระสุน คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์
  • ทศพร แก้วเหมือน คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์

คำสำคัญ:

การประยุกต์ใช้ระบบคลาวด์ คอมพิวติ้ง, กูเกิลแอปพลิเคชัน, ประสิทธิภาพการทำงานวิชาการร่วมกัน

บทคัดย่อ

การศึกษาวิจัยเรื่อง การประยุกต์ใช้ระบบคลาวด์ คอมพิวติ้งในกูเกิลแอปพลิเคชันเพื่อพัฒนาประสิทธิภาพการทำงานวิชาการร่วมกันในศตวรรษที่ 21 โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อสำรวจความพึงพอใจประสิทธิภาพของระบบการประยุกต์ใช้ระบบคลาวด์ คอมพิวติ้งในกูเกิลแอปพลิเคชันเพื่อพัฒนาประสิทธิภาพการทำงานวิชาการร่วมกันในศตวรรษที่ 21 สำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์  กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ นักศึกษาหลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ สุรินทร์ ที่ จำนวน 219  คน เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ 1) แบบประเมินประสิทธิภาพของระบบการประยุกต์ใช้ระบบคลาวด์ คอมพิวติ้งในกูเกิลแอปพลิเคชันเพื่อพัฒนาประสิทธิภาพการทำงานวิชาการร่วมกันในศตวรรษที่ 21  2) แบบประเมินความพึงพอใจประสิทธิภาพของระบบการประยุกต์ใช้ระบบคลาวด์ คอมพิวติ้งในกูเกิลแอปพลิเคชันเพื่อพัฒนาประสิทธิภาพการทำงานวิชาการร่วมกันในศตวรรษที่ 21 สถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

ผลการวิจัยพบว่า

 1. การประยุกต์ใช้ระบบคลาวด์ คอมพิวติ้งในกูเกิลแอปพลิเคชันเพื่อพัฒนาประสิทธิภาพการทำงานวิชาการร่วมกันในศตวรรษที่ 21 โดยผู้เชี่ยวชาญสำหรับประเมินความเหมาะสมของรูปแบบการประยุกต์ใช้ระบบคลาวด์ คอมพิวติ้งในกูเกิลแอปพลิเคชันเพื่อพัฒนาประสิทธิภาพการทำงานวิชาการร่วมกันในศตวรรษที่ 21  ผู้เชี่ยวชาญจำนวน 3 ท่าน ภาพรวมข้อมูลผลการประเมินประสิทธิภาพของระบบการประยุกต์ใช้ระบบคลาวด์ คอมพิวติ้งในกูเกิลแอปพลิเคชันเพื่อพัฒนาประสิทธิภาพการทำงานวิชาการร่วมกันในศตวรรษที่ 21 อยู่ในระดับมาก (x̅ = 4.41, S.D. = 0.69) 

2. การประเมินความพึงพอใจในการประยุกต์ใช้ระบบคลาวด์ คอมพิวติ้งในกูเกิลแอปพลิเคชันเพื่อพัฒนาประสิทธิภาพการทำงานวิชาการร่วมกันในศตวรรษที่ 21 นักศึกษามีความพึงพอใจในการใช้ระบบคลาวด์ คอมพิวติ้งในกูเกิลแอปพลิเคชันเพื่อพัฒนาประสิทธิภาพการทำงานวิชาการร่วมกันในศตวรรษที่ 21 โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( x̅ =3.56, S.D. = 0.41) โดยเรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย พิจารณาเป็นรายข้อพบว่า อันดับที่ 1 เอกสาร/คู่มือประกอบการใช้งานมีความชัดเจนเข้าใจง่าย ( x̅  =4.03, S.D. = 1.99) มีความพึงพอใจในระดับมาก  และอันดับที่ 2 คือ ประเด็นข้อมูลตอบสนองตรงต่อความต้องการของผู้ใช้ ( x̅   =3.99, S.D. = 0.06) มีความพึงพอใจในระดับมาก อันดับที่ 3 ข้อมูลในระบบมีความเป็นปัจจุบัน และระบบสามารถช่วยลดระยะเวลาปฏิบัติงานให้เร็วขึ้นได้ ( x̅  =3.92, S.D. = 0.26) มีความพึงพอใจในระดับมาก

References

กิตติศักดิ์ สิงห์สูงเนิน และณมน จีรังสุวรรณ. (2558). Google for Education กับการปฎิรูปการศึกษาไทย. วารสารพัฒนาเทคนิคศึกษา. 69:14-20.

คุณารักษ์ โอสถาภิรัตน์. (2554). ระบบแนะนำโดยใช้แท็กคลาวด์เสมือน. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

คําพูน แสนโคตร. (2553). เทคนิคการใชทรัพยากรรวมกันสำหรับการทำงานข้ามคลาวด์ที่มีความปลอดภัย. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาความมั่นคงทางระบบสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร.

วรสรวง ดวงจินดา. (2562). การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสารในการเรียนรู้แบบปฏิบัติจริง. [ออนไลน์]. https://www.spu.ac.th. สืบค้นเมื่อวันที่ 10 ตุลาคม 2562.

อารี อยู่ภู่และคณะ. (2561). การพัฒนารูปแบบรายงานและติดตามผลการดำเนินงาน (PA)ออนไลน์. สถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว มหาวิทยาลัยมหิดล.

อุทิศ บํารุงชีพ. (2560). ความพึงพอใจของนิสิตที่มีต่อการใช้บริการระบบเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการศึกษาของคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร. 19(1), 146-159.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-06-30