การบริหารงาน การบริหารงานตามมาตรฐานวิชาชีพของผู้บริหารสถานศึกษา ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาศรีสะเกษ ยโสธร

การศึกษา

ผู้แต่ง

  • อานนท์ นามลาด มหาวิทยาลัยเอเชียอาคเนย์
  • สมบัติ เดชบำรุง มหาวิทยาลัยเอเชียอาคเนย์
  • สมใจ เดชบำรุง มหาวิทยาลัยเอเชียอาคเนย์

คำสำคัญ:

การบริหารงาน, มาตรฐานวิชาชีพของผู้บริหารสถานศึกษา, สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาศรีสะเกษ ยโสธร

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาการบริหารงานตามมาตรฐานวิชาชีพของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาศรีสะเกษ ยโสธร 2)เพื่อศึกษาแนวการบริหารงานตามมาตรฐานวิชาชีพของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาศรีสะเกษ ยโสธร กลุ่มตัวอย่าง คือ ข้าราชการครูและผู้บริหารสถานศึกษา ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาศรีสะเกษ ยโสธร จำนวน 70 โรงเรียน ประกอบด้วยผู้ตอบแบบสอบถามจำนวน 2 คน ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา 1 คน และ ครู 1 คน รวม 140 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา

             ผลการวิจัยพบว่า 1) การบริหารงานตามมาตรฐานวิชาชีพของผู้บริหารสถานศึกษา (มาตรฐานความรู้) สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาศรีสะเกษ ยโสธร พบว่า ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด  (x ̅ = 4.87 , S.D. = 0.09) และเมื่อพิจารณารายมาตรฐาน พบว่า มาตรฐานที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ มาตรฐานที่ 7 คุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณ  (x ̅ = 4.98 , S.D. = 0.02) รองลงมา คือ มาตรฐานที่ 5 กิจการและกิจกรรมนักเรียน (x ̅ = 4.95 , S.D. = 0.02) และมาตรฐานที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ มาตรฐานที่ 6 การประกันคุณภาพการศึกษา  (x ̅ = 4.59 , S.D. = 0.22)  ส่วน 2) แนวการบริหารงานตามมาตรฐานวิชาชีพของผู้บริหารสถานศึกษา (มาตรฐานความรู้) สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาศรีสะเกษ ยโสธร ผลการวิเคราะห์เนื้อหาบทสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง เพื่อทราบแนวทางการพัฒนาการดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษา โดยผู้วิจัยได้ทำการสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญด้านการดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษา 6 ขั้นตอน ประกอบด้วย การกำหนดมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา การจัดทำแผนพัฒนาการจัดการศึกษาของสถานศึกษาที่มุ่งคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา การดำเนินงานตามแผนพัฒนาการจัดการศึกษาของสถานศึกษา การประเมินผลและตรวจสอบคุณภาพภายในสถานศึกษา การติดตามผลการดำเนินงานเพื่อพัฒนาสถานศึกษาให้มีคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษา และการรายงานผลการประเมินตนเอง

References

ตฤณศิษฐ์ ราชนิยม. (2553). การศึกษาความต้องการพฒนาสมรรถนะตามมาตรฐานความรู้ของ ผู้บริหารสถานศึกษาสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาจันทบุรี. ครุศาสตรมหาบัณฑิตศึกษา สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์.

ธีรวุฒิ เอกะกุล. (2552). ระเบียบวิธีวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์. อุบลราชธานี : โรงพิมพ์อุบลกิจ ออฟเซท.

ธีระ รุญเจริญ. (2550). ความเป็นมืออาชีพในการจัดการและบริหารการศึกษายุคปฎิรูปการศึกษา. กรุงเทพฯ : ข้าวฟ่าง.

บุญชม ศรีสะอาด. (2546). การวิจัยเบื้องต้นฉบับปรับปรุง. พิมพ์ครั้งที่ 9. กรุงเทพฯ : สุวีริยาสาส์น.

บุษกร ชมชู. (2556). การพัฒนามาตรฐานความรู้ของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขต พื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 1. ครุศาสตรมหาบัณฑิตศึกษา สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ในพระบรมราชูปถัมภ์.

ประกาศคณะกรรมการคุรุสภา เรื่อง สาระความรู้ สมรรถนะและประสบการณ์วิชาชีพของผู้ ประกอบวิชาชีพครู ผู้บริหารสถานศึกษา ผู้บริหารการศึกษา และศึกษานิเทศก์ ตาม ข้อบังคับคุรุสภาว่าด้วยมาตรฐานวิชาชีพ. (2556, 12 พฤศจิกายน). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 130.

พิชาภา ยืนยาว. (2560). มาตรฐานความรู้ของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อการพัฒนา ข้าราชการครูในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 9. วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย. 9, 271-285.

มนต์ชัย สุวรรณหงส์. (2554). สภาพการปฏิบัติงานประกันคุณภาพภายในของครูโรงเรียน บริหารธุรกิจอยุธยาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจังหวัด พระนครศรีอยุธยา เขต 1. สำนักบริหารงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชนใน งานวิจัยการจัดการศึกษาตามหลักสูตร อาชีวศึกษา โรงเรียนบริหารธุรกิจอยุธยา.

วชิรวุฒิ สองสี. (2566, เมษายน 4). รองผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาศรีสะเกษ ยโสธร. สัมภาษณ์.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาศรีสะเกษยโสธร. (2566). แผนพัฒนาคุณภาพการจัด การศึกษา (พ.ศ. 2566-2570). ศรีสะเกษ : สพม.ศก.ยส.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-18