การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง ประวัติและผลงานของบุคคลสำคัญในการสร้างสรรค์ชาติไทย ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โดยใช้วิธีการจัดกระบวนการเรียนรู้ 5 ขั้นตอน
คำสำคัญ:
ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน, วิธีการจัดกระบวนการเรียนรู้ 5 ขั้นตอน, ประวัติและผลงานของบุคคลสำคัญในการสร้างสรรค์ชาติไทยบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง ประวัติและผลงานของบุคคลสำคัญในการสร้างสรรค์ชาติไทย ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ก่อนและหลังใช้วิธีการจัดกระบวนการเรียนรู้ 5 ขั้นตอน 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง ประวัติและผลงานของบุคคลสำคัญในการสร้างสรรค์ชาติไทย ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 หลังใช้วิธีการจัดกระบวนการเรียนรู้ 5 ขั้นตอน กับเกณฑ์ร้อยละ 70 และ 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่ได้รับการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง ประวัติและผลงานของบุคคลสำคัญในการสร้างสรรค์ชาติไทย โดยใช้วิธีการจัดกระบวนการเรียนรู้ 5 ขั้นตอน กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/1 โรงเรียนพิมายดำรงวิทยาคม จำนวน 32 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster random sampling) เครื่องมือการวิจัย ประกอบด้วย 1) แผนการจัดการเรียนรู เรื่อง ประวัติและผลงานของบุคคลสำคัญในการสร้างสรรค์ชาติไทย จำนวน 6 แผน 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และ 3) แบบวัดความพึงพอใจของนักเรียนหลังใช้วิธีการจัดกระบวนการเรียนรู้ 5 ขั้นตอน วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของ Wilcoxon signed-rank test for two related samples และ Wilcoxon signed rank test for one sample
ผลการวิจัยพบว่า
1) ผลการเปรียบเทียบคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่อง ประวัติและผลงานของบุคคลสำคัญในการสร้างสรรค์ชาติไทยของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 หลังใช้วิธีการจัดกระบวนการเรียนรู้ 5 ขั้นตอนแตกต่างจากก่อนใช้วิธีการจัดกระบวนการเรียนรู้ 5 ขั้นตอน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
2) ผลการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง ประวัติและผลงานของบุคคลสำคัญในการสร้างสรรค์ชาติไทยของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 หลังใช้วิธีการจัดกระบวนการเรียนรู้ 5 ขั้นตอน สูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยคิดเป็นร้อยละ 91.04 และมีส่วนเบี่ยงมาตรฐานเท่ากับ 5.95
3) ผลการศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่ได้รับการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง ประวัติและผลงานของบุคคลสำคัญในการสร้างสรรค์ชาติไทย หลังใช้วิธีการจัดกระบวนการเรียนรู้ 5 ขั้นตอน ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.28 และมีส่วนเบี่ยงมาตรฐานเท่ากับ 0.02
References
กนกวรรณ ขอบทอง และนิลมณี พิทักษ์. (2558). การศึกษาความสามารถด้านการคิดวิเคราะห์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน รายวิชา ส32101 สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม 3 โดยใช้หลักการจัดการเรียนรู้แบบบันได 5 ขั้น. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตร มหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
กรมศิลปากร. (2544) ภูมิแผ่นดินมรดกไทยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวกับการเสด็จพระราชดำเนินแหล่งมรดกไทย. กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร.
กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ : กระทรงศึกษาธิการ.
กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). แนวทางการดำเนินงานโครงการสถานศึกษาน้อมนำศาสตร์พระราชาสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน. กรุงเทพฯ : สำนักส่งเสริมกิจการศึกษา,กระทรวงศึกษาธิการ.
จตุรภัทร ไสยสมบัติ. (2565). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน การคิดวิเคราะห์ และเจตคติต่อการเรียนวิชาประวัติศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้แบบซิปปาร่วมกับสื่อประสม. Journal of Roi Kaensarn Academi. 7(10). 18-34. [Online]. https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JRKSA/article/view/255997.
จักรศิลป์ พาไชย. (2560). การพัฒนาทักษะการคิดแก้ปัญหาและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้วยการจัดการเรียนรูปแบบบันได 5 ขั้น (5 Steps) ร่วมกับเทคนิคการใช้คําถาม 5W1H รายวิชา ส23102 สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนผดุงนารี จังหวัดมหาสารคาม. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรละการสอน. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
ชญานิศ ดวงระหว้า. (2560). การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการเรียนรู้ 5STEPs เรื่องของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษาศาสนาและวัฒนธรรมชั้นประถมศึกษาปีที่ 4. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณทิต สาขาวิชาหลักสูตรและการเรียนการสอน. มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.
ณรงค์ พ่วงพิศ และวุฒิชัย มูลศิลป์. (2560). หนังสือเรียนวิชาประวัติศาสตร์ไทย. กรุงเทพฯ : อักษรเจริญทัศน์.
ประสาท เนืองเฉลิม. (2552). รูปแบบการเรียนการสอน. (พิมพ์ครั้งที่ 2). มหาสารคาม : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
พิมพันธ์ เดชะคุปต์. (2558). การจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
พีรวุฒิ ยิ่งนอก. (2564). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และการคิดวิเคราะห์โดยการจัดกิจกรรม การเรียนรู้ด้วยกระบวนการเรียนรู้ 5 ขั้นตอน (5 STEPs) ร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิค STAD เรื่อง ทรัพยากรธรณีของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 4. มหาวิทยาลัยบูรพา.
โรงเรียนพิมายดำรงวิทยาคม. (2565). รายงานสรุปผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโรงเรียนพิมายดำรง วิทยาคม ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565. นครราชสีมา.
สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ. (2563). รายงานผลการทดสอบทางการศึกษา ระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ปีการศึกษา 2563. [Online]. http://www.newonetresult.niets.or.th/AnnouncementWeb/Login.asp
สํานักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2560-2579. กรุงเทพฯ : พริกหวานกราฟฟิค.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 วารสารครุศาสตร์ปัญญพัฒน์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ข้อความลิขสิทธิ์