การบริหารงานวิชาการภายใต้ความปกติใหม่ในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากาญจนบุรี

ผู้แต่ง

  • วีรวัฒน์ พนาสณฑ์ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี
  • มิตภาณี พุ่มกล่อม คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี

คำสำคัญ:

การบริหารงานวิชาการ, ความปกติใหม่, สถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากาญจนบุรี

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการบริหารงานวิชาการและเปรียบเทียบการบริหารงานวิชาการภายใต้ความปกติใหม่ในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากาญจนบุรี จำแนกตามขนาดสถานศึกษา ตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ครูในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากาญจนบุรี จำนวน 309 คน โดยใช้การสุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิ ตามขนาดสถานศึกษา เครื่องมือที่ใช้ในงานวิจัยครั้งนี้เป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหาอยู่ระหว่าง 0.67-1.00 และมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.98 สถิติที่ใช้คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และทดสอบความแตกต่างค่าเฉลี่ยรายคู่ด้วยวิธีของเชฟเฟ่ กำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ .05

          ผลการวิจัยพบว่า 1) การบริหารงานวิชาการภายใต้ความปกติใหม่ในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากาญจนบุรี ในภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก ดังนี้ ด้านการพัฒนากระบวนการเรียนรู้ ด้านการพัฒนาและใช้สื่อเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา ด้านการพัฒนาและส่งเสริมให้มีแหล่งเรียนรู้ ด้านการส่งเสริมและสนับสนุนงานวิชาการ ด้านการวัดผล ประเมินผล และเทียบโอนผลการเรียน และด้านการจัดการเรียนการสอนในสถานศึกษา ตามลำดับ 2) การเปรียบเทียบการบริหารงานวิชาการภายใต้ความปกติใหม่ในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากาญจนบุรี จำแนกตามขนาดสถานศึกษา ในภาพรวม มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยการบริหารงานวิชาการภายใต้ความปกติใหม่ในสถานศึกษาขนาดใหญ่ และสถานศึกษาขนาดใหญ่พิเศษ มีการปฏิบัติมากกว่า สถานศึกษาขนาดเล็ก และสถานศึกษาขนาดกลาง

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2550). แนวทางการกระจายอำนาจการบริหารและการจัดการศึกษาให้คณะกรรมการ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาและสถานศึกษา ตามกฎกระทรวง กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการกระจายอำนาจการบริหารและการจัดการศึกษา พ.ศ. 2550. สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ.

______. (2564). นโยบายและจุดเน้น ของกระทรวงศึกษาธิการ ปีงบประมาณ

พ.ศ. 2564 (เพิ่มเติม). [Online]. http://www.reo13.moe.go.th/index.php/2020-01-14-09-22-19/110-2564

แจ่มใส กรมรินทร์. (2556). การบริหารจัดการการเรียนการสอน ภายใต้สถานการณ์ COVID-19. การค้นคว้าอิสระรัฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์. มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

ดุษฎี บุญกระพือ. (2556). การใช้ประโยชน์จากแหล่งเรียนรู้ในสถานศึกษา. วารสารวิชาการ, 8(1), 27-31.

ประชาชาติธุรกิจ. (2563). ภาวะฉุกเฉินด้านสาธารณสุขระหว่างประเทศ ที่ WHO เพิ่งประกาศ คือ อะไร สำคัญอย่างไร. [Online]. https://www.dmh.go.th/news-dmh/view.asp?id=30178

พิมพ์ใจ พุฒจัตุรัส. (2562). หลักการวัดและประเมินผลการศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ: เฮ้าส์ ออฟเคอร์มิสท์.

พระครูสุมนสุตกิจ อรชุน ฐิตมโน. (2565). ข้อเสนอเชิงนโยบายการเรียนการสอนในยุคฐานวิถีชีวิตใหม่ของผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุโขทัย เขต 1. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพุทธบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

มยุรี รินศรี. (2564). การบริหารงานวิชาการของโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลำปาง เขต 3. การค้นคว้าอิสระการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยพะเยา.

มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. (2564). มาตรการที่สำคัญต่อโรคโควิด 19 ที่มีผลต่อวิถีใหม่. [Online]. https://learningdq-dc.ku.ac.th/course/?c=1&l=2

เมตตา ภัทราภรณ์ไพบูลย์. (2556). การศึกษาการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจันทบุรี เขต 1. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยบูรพา.

วริทธิ์สิน ไชยอัษฎาพร. (2565). การจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมทักษะในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม.

สุกันยา ดลสถิต. (2556). การมีส่วนร่วมในการบริหารงานวิชาการของครูผู้สอนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานเขตเทศบาลเมืองตราด จังหวัดตราด. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยบูรพา.

วริทธิ์สิน ไชยอัษฎาพร. (2565). การบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสงขลา เขต 3. สารนิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยหาดใหญ่.

อัจฉราภรณ์ พลรักษา. (2555). การดำเนินงานบริหารงานวิชาการในโรงเรียนอำเภอนางรอง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 32. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต การบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์.

อาเฟียต สัตยดำรง. (2565). การบริหารงานวิชาการของสถานศึกษา สังกัดสานักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาตรัง กระบี่. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยหาดใหญ่

Krejcie, R. V., & Morgan, D. W. (1970). Determining sample size for research activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607-610.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-31