การศึกษาความต้องการในการพัฒนาวิธีการสอนวิชาทางด้านศิลปะไทย ของนิสิตสาขาวิชาศิลปศึกษา
คำสำคัญ:
ศิลปะไทย, พัฒนาวิธีการสอนบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความต้องการของนิสิตสาขาวิชาศิลปศึกษาที่มีต่อการจัดการเรียนการสอนของหลักสูตรศิลปศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ สาขาวิชาศิลปศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ชั้นปีที่ 1-5 ปีการศึกษา 2561-2565 จำนวน 50 คน โดยการเลือกสุ่มตัวอย่างแบบโควตา (Quota Sampling) โดยกำหนดสัดส่วนของกลุ่มตัวอย่างระดับชั้นละ 10 เครื่องมือที่ใช้คือแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้ ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย สัดส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า
1. ผลการวิเคราะห์ข้อมูล ในภาพรวมเกี่ยวกับศิลปะไทยในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ความยากในการเรียนการสอนศิลปะลายไทย รองลงมา คือ ด้านวิธีการสอน, ด้านสื่อการสอน, ด้านกิจกรรมในชั้นเรียนและด้านความรู้เดิม ตามลำดับ
2. ข้อเสนอสำหรับความคิดเห็นในการพัฒนาวิธีการสอนศิลปะลายไทยของนิสิตคณะครุศาสตร์ สาขาวิชาศิลปศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มีดังนี้ มีการประยุกต์การสอนให้เข้ากับสมัยปัจจุบัน มีการประยุกต์วิธีการสอนในโปรแกรมที่ทันสมัย สามารถให้ผู้เรียนเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง
3. ข้อเสนอสำหรับความคิดเห็นจากอาจารย์ผู้สอนศิลปะไทย มีดังนี้ ควรมีการปรับวิธีการสอนให้เข้ากับบริบทปัจจุบันและสอดคล้องกับบริบทของสถานศึกษาที่กำหนด ควรจัดหาสื่อการสอนหรือสิ่งที่แปลกใหม่ เพื่อเปิดโลกทัศน์ให้ผู้เรียนสนใจไม่เบื่อหน่าย
References
เกียรติศักดิ์ ล้วนมงคล. (2558). แนวทางการพัฒนาทักษะการเขียนภาพลายไทยโดยใช้สื่อดิจิทัลสำหรับนิสิตนักศึกษาระดับปริญญาตรี. ปริญญานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. (2562). หลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต (หลักสูตร 4 ปี). (Online). คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. สืบค้นจาก
https://www.edu.chula.ac.th/node/603
ฉาย เทวาภินิมมิต. (2497). สมุดตำราไทย. กรุงเทพมหานคร: พระจันทร์,.
น.ณ ปากน้ำ. (2550). ความงามในศิลปะไทย. กรุงเทพมหานคร: เมืองโบราณ.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วารสารครุศาสตร์ปัญญพัฒน์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ข้อความลิขสิทธิ์