การบริหารงานวิชาการของโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรี เขต 1

ผู้แต่ง

  • ณัฐดนัย ฤทธูทัย คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี
  • สาโรจน์ เผ่าวงศากุล คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี
  • นิพนธ์ วรรณเวช คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี

คำสำคัญ:

การบริหารงานวิชาการ, โรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา, สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรี เขต 1

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการบริหารงานวิชาการและเพื่อเปรียบเทียบการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรี เขต 1 จำแนกตามพื้นที่จัดการศึกษา

          กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้ ได้แก่ ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาสาย
การสอน ในโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรี เขต 1 จำนวน 252 คน โดยการสุ่มแบบชั้นภูมิตามพื้นที่จัดการศึกษา เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามแบบมาตรประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหาเท่ากับ 1.00 และความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.87 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และการทดสอบความแตกต่างค่าเฉลี่ยรายคู่ด้วยวิธีของเชฟเฟ่ กำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05

          ผลการวิจัยพบว่า

  1. การบริหารงานวิชาการของโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรี เขต 1 โดยภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก เรียงลำดับตามค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย คือ ด้านการนิเทศการศึกษา ด้านการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา ด้านการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ ด้านการวัดผลประเมินผลและเทียบโอนผลการเรียน ด้านการพัฒนาสื่อ นวัตกรรมและเทคโนโลยีเพื่อการศึกษาด้านการพัฒนาระบบประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา ด้านการพัฒนากระบวนการเรียนรู้ ด้านการวิจัยเพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียน และด้านการพัฒนาและใช้สื่อเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา

         

  1. การเปรียบเทียบการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรี เขต 1 จำแนกตามพื้นที่จัดการศึกษา พบว่า ในภาพรวมและรายด้านทุกด้าน ไม่แตกต่างกัน

References

จิระศักดิ์ ภูศิริด. (2560). การศึกษาการบริหารงานวิชาการตามทรรศนะของครูโรงเรียนวัดวัชคามคชทวีปอำเภอเกาะช้าง จังหวัดตราด. สารนิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ.

แจ่มใส กรมรินทร์. (2556). การบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 2. ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยบูรพา.

จงรัก วงศ์ไชย. (2555). การพัฒนากระบวนการเรียนรู้งานเกษตรแบบมีส่วนร่วมของโรงเรียนบ้านผาตูบและชุมชนอำเภอเมือง จังหวัดน่าน. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาส่งเสริมการเกษตร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ชัยยศ พลีเพื่อชาติ. (2559). การบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาเครือข่ายการจัดการศึกษาไทรโยค-ลิ่นถิ่น สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรี เขต 3 สารนิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ.

ณัฐสุภางค์ แซ่เจียม. (2561). การบริหารงานวิชาการของโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 1. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี

ธิดารัตน์ อินทร์หา. (2563). สภาพการบริหารวิชาการของโรงเรียนในสังกัดสานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา อุบลราชธานี เขต 2. วิทยานิพนธ์ศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยการจัดการและเทคโนโลยีอีสเทิร์น.

ธัญดา ยงยศยิ่ง. (2560). การบริหารงานวิชาการของผู้บริการสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษายะลา เขต 3. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา.

มณีวรรณ ฤทธิ์น้ำคำ. (2552). ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการบริหารสถานศึกษา

ขั้นพื้นฐานระดับมัธยมศึกษาในพื้นที่ภาคใต้ของประเทศไทย. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิตสาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

ปิยะกรณ์ ภูขาว. (2557). การพัฒนาครูด้านการวิจัยในชั้นเรียน โรงเรียนหนองชุมแสงวิทยาคม สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดกาฬสินธุ์. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

พัชรินทร์ สำนักวิชา. (2556). ปัญหานิเทศภายในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาระยอง เขต 2. ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยบูรพา.

ราชัน โนสปิง. (2563). แนวทางพัฒนาบุคลากรด้านการวัดและประเมินผลของกลุ่มโรงเรียนท่าไม้วังควง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากำแพงเพชร เขต 1. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร.

วิฑูรย์ หนูขาว. (2552). ปัญหาการดำเนินงานประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษา

ขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาชลบุรี เขต 2. วิทยานิพนธ์

ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ 2560–2579. กรุงเทพฯ: ผู้แต่ง.

สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร. (2560). รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560. กรุงเทพฯ: ผู้แต่ง.

สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดกาญจนบุรี. (2563). แผนพัฒนาการศึกษาจังหวัดกาญจนบุรี 4 ปี พุทธศักราช 2562-2565. กาญจนบุรี: ผู้แต่ง.

สุลัดดาวัลย์ อัฐนาค. (2557). สภาพปัญหาการบริหารงานวิชาการในโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สำกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานีเขต 3. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี.

สุรภี ศรีหิรัญ. (2561). การศึกษาความคิดเห็นของครูที่มีต่อสมรรถนะการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา โรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตดินแดง กรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ.

อัษราวุฒิ จันทะแสง. (2557). การบริหารแหล่งเรียนรู้ในโรงเรียนของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 32. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์.

Krejcie, R. V., & Morgan, D. W. (1970). Determining sample size for research activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607-610.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

06-12-2023