แนวทางการบริหารงานพัสดุของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรี เขต 4
คำสำคัญ:
แนวทาง, การบริหารงานพัสดุบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเพื่อ 1) ศึกษาการบริหารงานพัสดุของสถานศึกษา และ 2) ศึกษาแนวทางการบริหารงานพัสดุของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรี เขต 4 ตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ผู้บริหารสถานศึกษา และหัวหน้าเจ้าหน้าที่พัสดุ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรี เขต 4 จำนวน 124 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามมาตรประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา 1.00 และความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.99 การวิเคราะห์เชิงเนื้อหา (focus group) สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยพบว่า 1) การบริหารงานพัสดุของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรี เขต 4 ในภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก โดยเรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปน้อยคือ ด้านการเก็บและการบันทึก การเบิกจ่าย ด้านการยืม ด้านการจำหน่ายพัสดุ และด้านการบำรุงรักษาการตรวจสอบ 2) แนวทางการบริหารงานพัสดุของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรี เขต 4 มีแนวทางดังนี้ ผู้บริหารควรมีการกำกับติดตามความถูกต้องของบัญชี เมื่อมีการเบิกจ่ายพัสดุ ควรตรวจสอบครุภัณฑ์เป็นประจำและทำการซ่อมแซมบำรุงรักษาก่อนใช้งาน และควรลงบัญชีหรือลงทะเบียนต่าง ๆ ให้เป็นปัจจุบันอยู่เสมอ และการจัดเก็บพัสดุให้สะดวกต่อการตรวจนับ ผู้บริหารควรให้อำนาจกับผู้รับผิดชอบตรวจสอบการยืมพัสดุและครุภัณฑ์ทุกครั้งว่าพัสดุและครุภัณฑ์นั้นอยู่ในสภาพเดิมหรือไม่ หากมีสภาพไม่คงเดิมหรือเกิดการชำรุดเสียหาย จะต้องแจ้งให้ผู้ยืมทราบและแก้ไข ซ่อมแซมให้มีสภาพกลับมาคงสภาพเดิมก่อนที่จะรับคืน และจัดระบบสารสนเทศทะเบียนคุมวัสดุครุภัณฑ์เป็นปัจจุบัน สถานศึกษาควรคุมพัสดุอย่างรอบคอบ การปรับปรุงแก้ไข มีการเปลี่ยนแปลงโอนย้ายพัสดุในทะเบียนให้ถูกต้องและตรวจสอบอย่างต่อเนื่อง มีการดูแลตรวจสอบคุณภาพพัสดุของโรงเรียนเป็นประจำเพื่อให้อยู่ในสภาพที่พร้อมใช้งานถ้าพบพัสดุชำรุดเสียหาย ไม่อยู่ในสภาพพร้อมใช้งานควรรีบดำเนินการซ่อมแซมทันที และควรจัดสรรงบประมาณในการดูแลซ่อมแซมพัสดุของโรงเรียนอย่างเพียงพอ สถานศึกษาควรแต่งตั้งคณะกรรมการในการจำหน่ายพัสดุที่ชัดเจน จัดอบรมให้กับบุคคลากรที่เกี่ยวข้องกับงานพัสดุ เพื่อเพิ่มความรู้ความเข้าใจในการปฏิบัติงาน มีการนำเทคโนโลยีที่ทันสมัยเข้ามาเป็นเครื่องมือช่วยเพื่อความสะดวกในการจำหน่ายพัสดุ ผู้บริหารควรให้ความสำคัญในการกำกับดูแล และติดตามการจำหน่ายพัสดุอย่างเคร่งครัด และเห็นควรให้บุคลากรที่ปฏิบัติงานด้านพัสดุควรได้รับการอบรมพัฒนาความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับระเบียบพัสดุ การตั้งคณะกรรมการตรวจรับพัสดุควรคัดเลือกจากผู้มีความรู้และประสบการณ์ในเรื่องนั้น ๆ และจัดทำตารางการตรวจสอบครุภัณฑ์ประจำปีเพื่อการบำรุงรักษาก่อนเสื่อมสภาพ และจัดทำคู่มือประกอบการปฏิบัติงานพัสดุให้ความรู้ความเข้าใจในด้านการจำหน่ายพัสดุและปฏิบัติตามขั้นตอนการจำหน่ายพัสดุอย่างเคร่งครัด
References
กรมวิชาการเกษตร. (2565). แนวทางการปฏิบัติงานด้านการบริหารพัสดุ. ค้นจาก https://www.doa.go.th/finance/wp-content
กระทรวงการคลัง. (2560ก). พระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560. ราชกิจจานุเบกษา, เล่มที่ 134 ตอนที่ 24 ก, 13-47.
จักรี เชิดชู. (2565). แนวทางการบริหารงานพัสดุด้วยระบบสารสนเทศ ของวิทยาลัยศิลปหัตถกรรมนครศรีธรรมราช สังกัดอาชีวศึกษา จังหวัดนครศรีธรรมราช. วารสารพุทธสังคมวิทยาปริทรรศน์, 7(3), 1-16.
เดชา สมคะเณย์. (2565). แนวทางพัฒนาการบริหารงานพัสดุโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 4. วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร, 2(1), 88-89.
นันทา คุ้มศักดิ์. (2557). ปัญหาในการจัดซื้อจัดจ้างโดยวิธีการประกวดราคาด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ (e-Auction) ของสำนักงานศาลปกครอง. วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
ปิยวรรณ มากกลาย. (2561). แนวทางพัฒนาการบริหารงานพัสดุของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาแพงเพชร เขต 2. งานการประชุมวิชาการครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏกาแพงเพชร, 1(1), 136-148.
ปรีชา คำแสน. (2556). การบริหารงานพัสดุของโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 36. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย.
วิยะดา ธนสรรวนิช. (2565). การบริหารงานพัสดุ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. ค้นจาก https://www.ubu.ac.th/web/files_up/27f2015090415073964.pdf
ศราวุธิ จันทร์วิเศษ. (2566). การบริหารงานพัสดุในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 33. ค้นจาก http://dspace.bru.ac.th/xmlui/handle/123456789/8002
สุกัญญา ศรีทับทิม. (2555). กลยุทธ์ในการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารงานพัสดุ. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการทั่วไป มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร.
สุกัญญา พิมพา. (2564). การบริหารงานพัสดุของโรงเรียนมัธยมศึกษาในจังหวัดแพร่. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง
สุวัช มูลเมืองแสน. (2563). สภาพปัญหาและแนวทางการบริหารงานพัสดุในโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดเขตตรวจราชการที่ 11. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2560). การตรวจสอบหน่วยงานภาครัฐด้านการ ปฏิบัติงานพัสดุ. กรุงเทพฯ: ผู้แต่ง.
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรี เขต 4. (2565). แผนพัฒนาการศึกษาขั้นพื้นฐาน 3 ปี (พ.ศ. 2563-2565) ฉบับทบทวน 2565. กาญจนบุรี: ผู้แต่ง.
อภิวัฒน์ พูลทรัพย์. (2566). การบริหารงานพัสดุของโรงเรียนเครือข่ายกุมภวาปี ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 2. วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร, 3(1), 57-68.
อริสรา สุดสระ. (2564). ปัญหาและแนวทางการพัฒนาการบริหารงานพัสดุของผู้ปฏิบัติงานพัสดุมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยปทุมธานี, 13(2), 14-31.
Krejcie, R. V., & Morgan, D. W. (1970). Determining sample size for research activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607-610.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 วารสารครุศาสตร์ปัญญพัฒน์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ข้อความลิขสิทธิ์