การพัฒนาการเรียนรู้ เรื่องวัสดุและอุปกรณ์พื้นฐาน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 จากการจัดการเรียนรู้โดยใช้เทคโนโลยีความจริงเสริม AR ร่วมวิธีการสอนแบบร่วมมือ
คำสำคัญ:
เทคโนโลยีความจริงเสริม AR, วิธีการสอนแบบร่วมมือ, วัสดุและเครื่องมือพื้นฐานบทคัดย่อ
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อพัฒนาสื่อเทคโนโลยีความจริงเสริม AR ประกอบการสอนแบบร่วมมือ เรื่องวัสดุและเครื่องมือพื้นฐานของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ให้มีประสิทธิภาตามเกณฑ์ 75/75 2) เพื่อศึกษาผลการเรียนรู้ของนักเรียนเรื่องวัสดุและอุปกรณ์พื้นฐาน จากการจัดการเรียนรู้โดยใช้เทคโนโลยีความจริงเสริม AR ร่วมวิธีการสอนแบบร่วมมือ 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียน ที่มีต่อการเรียนรู้โดยการใช้เทคโนโลยีความจริงเสริม AR ประกอบการสอนแบบร่วมมือ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้การวิจัย ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนพนมดงรักวิทยา ต.จีกแดก อ.พนมดงรัก จำนวนนักเรียน 22 คน ได้มาจากการเลือกแบบสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ 1) เทคโนโลยีความจริงเสริม AR เรื่องวัสดุและเครื่องมือพื้นฐาน 2) แผนการจัดการเรียนรู้ เรื่องวัสดุและเครื่องมือพื้นฐาน 3) แบบทดสอบ 4) แบบสอบถามความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ในงานวิจัยได้แก่ สถิติเชิงพรรณนา ค่าเฉลี่ยเลขคณิตและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของผลการเรียนรู้โดย dependent sample t – test
ผลการวิจัยมีดังนี้
- ผลวิเคราะห์คุณภาพของเทคโนโลยีความจริงเสริม AR อยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.82 และมีประสิทธิภาพเท่ากับ 94.84/79.09 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ 75/75
- ผลการจัดการเรียนรู้โดยเทคโนโลยีความจริงเสริม ร่วมกับวิธีการสอนแบบร่วมมือ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ก่อนเรียนมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 12.40 คะแนน หลังเรียนมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 15.81 คะแนน หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
- ผลวิเคราะห์ความพึงพอใจของนักเรียนโดยใช้เทคโนโลยีความจริงเสริม ร่วมกับวิธีการสอนแบบร่วมมือ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 อยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.40
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2564). บทบาทกระทรวงศึกษาธิการกับการพัฒนาคุณภาพการศึกษาของชาติ. กองระบบและบริหารข้อมูลเชิงยุทธศาสตร์ สำนักงานปลิดกระกรวงการอุดมศึกษา. เทคโนโลยีโลกเสมือนก้าวสู่โลกความจริง. [Online]. https//www.ops.go.th–interface-technology-vr-ar-mr สืบค้นเมื่อวันที่ 20 ธันวาคม 2564.
นิพนธ์ คุณารักษ์. (2014). ระบบและกระบวนการผลิตภาพยนตร์แอนิเมชั่น 2 มิติร่วมสมัย. Journal of Fine and Applied Arts Khon Kaen University, 3(2), 56-68.
สุพรรณพงศ์ วงษ์ศรีเพ็ง. (2554). ผลของการใช้บทเรียน Augmented Reality Code เรื่อง คำศัพท์ภาษาจีนพื้นฐาน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนเทศบาล ๒ วัดตานีนรสโมสร. ภาควิชาเทคโนโลยีการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี.
สุวิชญาน์ บุญโท, อุไร พรมมาวัน และฐิตินันท์ ธรรมโสม (2562). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาเคมี 1 เรื่อง รูปร่างโมเลกุลโคเวเลนต์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนเลยพิทยาคม โดยใช้สื่อการเรียนรู้เทคโนโลยีเสมือนจริง (Augmented Reality Code : AR Code). วารสารครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย. 14(1).
อัครเทพ อัคคีเดช. (2563). การพัฒนาสื่อเทคโนโลยีความเป็นจริงเสริมเรื่อง เครื่องดนตรีสากล สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒองครักษ์. การศึกษามหาบัณฑิต (กศ.ม.)
อทิติยา สวยรูป. (2556). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในรายวิชา เทคโนโลยีสารสนเทศ เรื่อง คอมพิวเตอร์เบื้องต้น ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ด้วยการเรียนการสอนแบบกลุ่มร่วมมือ โดยใช้เทคนิค STAD. คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตบางเขน.
Abd Majid, Mohammed, & Sulaiman. (2015). Students' perception of mobile augmented reality applications in learning computer organization. Procedia-Social and Behavioral Sciences. 176, 111-116.
Di Serio et al. (2013, October). Impact of an augmented reality system on students’ motivation for a visual.art course. 586-596.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 วารสารครุศาสตร์ปัญญพัฒน์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ข้อความลิขสิทธิ์