การพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษา ในการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลสำหรับการจัดการสารสนเทศของสถานศึกษา

ผู้แต่ง

  • เจษฎา ทองเสถียรกิจ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยฟาร์อิสเทอร์น
  • ฉัตรทิพย์ สุวรรณชิน คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยฟาร์อิสเทอร์น
  • พงศ์กร จันทราช คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยฟาร์อิสเทอร์น

คำสำคัญ:

เทคโนโลยีดิจิทัล, การจัดการสารสนเทศ, การพัฒนาครู

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา วิเคราะห์สารสนเทศของสถานศึกษาและประเมินผลการพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษาในการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลสำหรับการจัดการสารสนเทศของสถานศึกษา กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ ครูและบุคลากรทางการศึกษา จำนวน 20 คน โดยเลือกกลุ่มเป้าหมายแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ตารางวิเคราะห์สารสนเทศของสถานศึกษา โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ แบบประเมินโครงการ และแบบประเมินผลการพัฒนา ดำเนินการวิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

          ผลการวิเคราะห์สารสนเทศของสถานศึกษา พบว่า สารสนเทศของแต่ละกลุ่มงานในสถานศึกษามีจำนวนมาก และมีการจัดเก็บสารสนเทศหลากหลายรูปแบบ ได้แก่ Word, Excel, PDF และเอกสารประเภทกระดาษ ผลการจัดโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษาในการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลสำหรับการจัดการสารสนเทศของสถานศึกษา พบว่า ผลการประเมินโครงการมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.61 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.33 ส่วนผลการประเมินการพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษาในการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลสำหรับการจัดการสารสนเทศของสถานศึกษา โดยผู้บังคับบัญชาและผู้เข้ารับการอบรม อยู่ในระดับปฏิบัติได้ดี ค่าเฉลี่ย 2.05 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

References

จิณณวัตร ปะโคทัง. (2561). ภาวะผู้นำยุคดิจิทัล สำหรับผู้บริหารสถานศึกษามืออาชีพ. ศิริธรรมออฟเซ็ท.

จีรวรรณ จินาฟู. (2565). การพัฒนาบุคลากรในการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลสำหรับการจัดการ สารสนเทศ ในสถานศึกษา โรงเรียนกาวิละวิทยาลัย จังหวัดเชียงใหม่. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต การบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์น.

ชมพู แสนเสน. (2559). การพัฒนาศักยภาพครูในการจัดการเรียนรู้ ผ่าน Google Apps for Education โรงเรียนมัธยมวาริชภูมิ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 23.วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

ณัฏฐินี มหานิติพงษ์. (2564, มกราคม-เมษายน). บทบาทของผู้บริหารในการส่งเสริมเทคโนโลยี สารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการศึกษาในอำเภอบุณฑริกสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 5. วารสารนวัตกรรมการศึกษาและการวิจัย. 5(1), 43-58.

ดวงกมล กิ่งจำปา. (2555). บทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาในการส่งเสริมงานเทคโนโลยีทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาปทุมธานี เขต 2. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

ทิพวัลย์ นนทเภท. (2558). การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการบริหารของสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 3. มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช.

ธงชัย คำปวง. (2561). การพัฒนาครูแบบองค์รวมโดยการเทียบเคียงสมรรถนะ. วิทยานิพนธ์ ปริญญาดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยนเรศวร.

บัณฑิตพงศ์ ท้าวทุมมา, ยงยุทธ ยะบุญธง และธารณ์ ทองงอก (2560, กันยายน-ธันวาคม). การจัดระบบสารสนเทศเพื่อการประกันคุณภาพภายในของโรงเรียนช่องฟ้าซินเซิงวาณิชบำรุง. จังหวัดเชียงใหม่. Veridian E-Journal, Silpakorn University. 10(3), 2189-2204.

พิมล โชติธนอธิวัฒน์. (2560). การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนในสังกัด เทศบาลเมืองพนัสนิคม. มหาวิทยาลับบูรพา.

พงษ์ขจร บุษพงษ์. (2557). การพัฒนาศักยภาพครูในการผลิตบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนโรงเรียนมัธยมวาริชภูมิ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 23. มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

ภาวิดา ธราราศีสุทธิ. (2542). หลักและทฤษฎีการบริหารการศึกษา. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง, มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

ยุทธนา วงศ์ใหญ่. (2552). การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศใน การบริหารงานวิชาการของโรงเรียนในโครงการหนึ่ง อำเภอหนึ่งโรงเรียนในฝัน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่ การศึกษาเชียงใหม่ เขต 3. สารนิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง.

มนูญ ไชยทองศรี. (2544). ความต้องการพัฒนาตนเองของบุคลากรโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานการประถมศึกษา อำเภอกุสุมาลย์ จังหวัดสกลนคร. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. (2549). ทฤษฎีและแนวปฏิบัติในการบริหารการศึกษา. กรุงเทพฯ

วรวุฒิ อุตสม. (2563). การพัฒนาครูโดยใช้กูเกิล แอปส์ โรงเรียนบ้านหนองบัว อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่. วิทยานินพธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์น.

วินัย ดอนโคตรจันทร์. (2542). การศึกษาความต้องการพัฒนาบุคลากรในโรงเรียนปฏิรูปการศึกษา สังกัดสำนักงานการศึกษาการประถมศึกษาจังหวัดอุดรธานี. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

สมโภชน์ นพคุณ. (2558). การสร้างองค์กรแห่งความสุขด้วยหลักพุทธธรรม. มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

หวน พินธุพันธ์. (2549). นักบริหารมืออาชีพ. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

อดุลย์ นันท์บัญชา. (2558). การเรียกใช้ Google Apps For Education. สืบค้น พฤศจิกายน 28, 2565, จาก http://www.it24hrs.com.

อังคนา นารัตน์. (2560). การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการบริหารงานวิชาการของกลุ่มเครือข่ายพัฒนาคุณภาพสันทราย 1 จังหวัดเชียงใหม่. มหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์น.

อุษารัชฎ์ วิสากล. (2551). การพัฒนาบุคลากรครูภาษาอังกฤษโรงเรียนมุกดาหารในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบโครงงาน. การศึกษาค้นคว้าอิสระ สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

โอภาส เอี่ยมสิริวงศ์. (2547). วิทยาการคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ. เอช เอ็น กรุ๊ป.

Cain, K. G. (2001). Computer usage by building-level administrators in West Virginia public schools. Retrieved January 30, 2016, from http://etd.wvu.edu/templates/show ETD.cfm?recnum=1856.

Cambell, D. (1995). A descriptive study monitoring the change of individual teacher involve in using an innovation: A study middle school teacher’use of telecommunications. Dissertation Abstracts International. 55(11), 3418-A.

Wylt Allen I. (1990). Computer professional dictionary. McGraw-Hill.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

24-06-2024