การส่งเสริมการพัฒนานวัตกรรมทางการศึกษาของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรี เขต 3
คำสำคัญ:
การส่งเสริมการพัฒนา, นวัตกรรมทางการศึกษา, ผู้บริหารสถานศึกษาบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบัน การส่งเสริมการพัฒนานวัตกรรมทางการศึกษาของผู้บริหารสถานศึกษา และ 2) เปรียบเทียบการส่งเสริมการพัฒนานวัตกรรม ทางการศึกษาของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรี เขต 3 จำแนกตามขนาดสถานศึกษา และพื้นที่จัดการศึกษา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือ ครูในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรีเขต 3 จำนวน 285 คน โดยใช้การสุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิตามขนาดสถานศึกษา เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามแบบมาตรประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหาอยู่ที่ 1.00 และความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.98 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และทดสอบค่าเฉลี่ยรายคู่ด้วยวิธีของเชฟเฟ่ กำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ .05
ผลการวิจัยพบว่า 1) การส่งเสริมการพัฒนานวัตกรรมทางการศึกษาของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรี เขต 3 โดยภาพรวมและรายด้านมีการส่งเสริมอยู่ในระดับมากที่สุดทุกด้าน เรียงลำดับตามค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย คือ ด้านการบริหารจัดการ ด้านสื่อการสอน ด้านการวัดและการประเมินผล ด้านวิธีการจัดแผนการเรียนการสอน และด้านหลักสูตร 2) การเปรียบเทียบการส่งเสริมการพัฒนานวัตกรรมทางการศึกษาของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรี เขต 3 จำแนกตามขนาดสถานศึกษา โดยภาพรวมและรายด้านมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 พบว่า สถานศึกษาขนาดใหญ่และขนาดเล็กมีการส่งเสริมมากกว่าสถานศึกษาขนาดกลาง ส่วนสถานศึกษาขนาดเล็กกับสถานศึกษาขนาดใหญ่ ไม่มีความแตกต่างกัน 3) การเปรียบเทียบ การส่งเสริมการพัฒนานวัตกรรมทางการศึกษาของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรี เขต 3 จำแนกตามพื้นที่จัดการศึกษา โดยภาพรวมไม่มีความแตกต่างกัน เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านการบริหารจัดการ มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ผลการเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยรายคู่ พบว่า ไม่มีความแตกต่างกัน
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2562ก). พระราชบัญญัติพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา พ.ศ. 2562. ราชกิจจานุเบกษา, เล่ม 136 ตอนที่ 56 ก, 102.
กระทรวงศึกษาธิการ. (2562ข). การจัดตั้งพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาจังหวัดกาญจนบุรี. กรุงเทพฯ: สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ.
กัลยกร ทองโสม. (2560). แนวทางการพัฒนาบทบาทผู้บริหารสถานศึกษาและครูในการส่งเสริมระบบสารสนเทศโรงเรียนมัธยมศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษายโสธร เขต 28. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษามหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
จุรีพร นิลแก้ว. (2566). บทบาทของผู้บริหารในการส่งเสริมการใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศด้านการจัดการเรียนรู้ของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชุมพร เขต 1. วารสารนวัตกรรมการศึกษาและการวิจัย, 7(1), 84.
ชยพล พานิชเลิศ และ เพียงแข ภูผายาง. (2564). บทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาต่อการส่งเสริมการจัดการศึกษาเพื่อให้ผู้เรียนเกิดทักษะในศตวรรษที่ 21 ของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 6. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 8(1), 45-57.
ณัฏฐินี มหานิติพงษ์, สุรางคนา มัณยานนท์, สุรศักดิ์ หลาบมาลา, ปิยานี สมบูรณ์ทรัพย์. (2563). บทบาทของผู้บริหารในการส่งเสริมเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการศึกษาใน อำเภอบุณฑริกสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 5. วารสารนวัตกรรมการศึกษาและการวิจัย, 5(1), 43-58.
บุญมา แพ่งศรีสาร. (2561). คุณลักษณะผู้บริหารทางการศึกษาในยุคศตวรรษใหม่. วารสาร มจร นครน่านปริทรรศน์, 2(2), 134-136.
เบญจพร สุคนธร. (2565). บทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาในการส่งเสริมการจัดการเรียนการสอนออนไลน์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา กรุงเทพมหานคร เขต 2. วิทยานิพนธ์ ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยเกริก.
เบญจวรรณ ช่อชู. (2563). บทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาในการส่งเสริมการบริหารงานวิชาการในโรงเรียนวิชูทิศ สำนักงานเขตดินแดง สังกัดกรุงเทพมหานคร. วารสารครุศาสตร์ปริทรรศน์ฯ, 7(2), 162-174.
ปริวรรต สมนึก. (2558). การพัฒนานวัตกรรมการเรียนการสอนโดยใช้สื่อวีดีทัศน์เพื่อเพิ่มผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่อง “ผลิตภัณฑ์การท่องเที่ยว”. วารสารวิชาการการท่องเที่ยวไทยนานาชาติ, 11(1), 4-17.
ไมตรี อินทร์ประสิทธิ์. (2554). การวิจัยและพัฒนานวัตกรรมเรื่องการศึกษาชั้นเรียนเพื่อการพัฒนาเครือข่ายครูคณิตศาสตร์. ขอนแก่น: คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
วัชรินทร์ ปานพรหม. (2555). การจัดการนวัตกรรมทางการศึกษาด้านวิชาการที่สงผลต่อสมรรถนะประจำสายงานของครูในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขต พื้นที่การศึกษาประถมศึกษาราชบุรีเขต 2. วารสารสังคมศาสตร์วิจัย, 3(2), 139.
วรวิทย์ นิเทศศิลป์. (2557). สื่อและนวัตกรรมแห่งการเรียนรู้. ปทุมธานี: สกายบุ๊กส์.
วัลลภ เตชะปิตุ. (2564). การพัฒนากลยุทธ์การบริหารและการจัดการงานวิชาการ โดยใช้นวัตกรรมทางการศึกษาในภาวะวิกฤตโรคระบาด ของโรงเรียนบ้านด้ายเทพกาญจนาอุปถัมภ์. การศึกษาอิสระครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย.
ศศิรดา แพงไทย. (2560). บทบาทผู้บริหารกับการนำนวัตกรรมการศึกษาสู่การปฏิบัติ: กรณีโรงเรียนคูคำพิทยาสรรพ์. วารสารวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยสวนสุนันทา, 9(1), 124-134.
สำนักงานสภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2565). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 (พ.ศ. 2566– 2570). กรุงเทพฯ: สำนักนายกรัฐมนตรี.
สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดกาญจนบุรี. (2561). แนวทางการขับเคลื่อนพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา.กาญจนบุรี: ผู้แต่ง.
อัจศรา ประเสริฐสิน, พรรณธิภา เอี่ยมสิริปรีดา, และสมพร วันประกอบ. (2561). การสำรวจความรู้ ทักษะ และเจตคติ ที่เกี่ยวข้องกับการจัดการนวัตกรรมทางการศึกษาที่สามารถนำไปใช้ในการพัฒนาการเรียนการสอนและการทำวิจัยของครู. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์น, 12(3), 278-291.
อัจศรา ประเสริฐสิน, เทพสุดา จิวตระกูล, และจอย ทองกล่อมศรี. (2560). การศึกษาแนวทางการจัดการนวัตกรรมทางการศึกษาไปใช้ในการพัฒนาการเรียนการสอนและการทำวิจัย. วารสารบรรณศาสตร์ มศว, 10(2), 78-89.
อวัศยา แสงทอง. (2564). การพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาของโรงเรียนวัดจันทราวาส(ศุขประสารราษฎร์). การค้นคว้าอิสระศึกษาศาตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยศิลปากร.
Dubrin, J. (1998). Leadership Research Finding: Practice and Skill. Boston: Houghton Mifflin.
Krejcie, R. V., & Morgan, D. W. (1970). Determining sample size for research activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607-610.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วารสารครุศาสตร์ปัญญพัฒน์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ข้อความลิขสิทธิ์