แนวทางการส่งเสริมการปฏิบัติงานของข้าราชการครูในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรี เขต 2

ผู้แต่ง

  • ศศิธร สังข์ลาโพธิ์ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี
  • พงษ์ศักดิ์ รวมชมรัตน์ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี

คำสำคัญ:

แนวทางการส่งเสริม, การปฏิบัติงานของข้าราชการครู

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับการส่งเสริมการปฏิบัติงานและ   2) แนวทางการส่งเสริมการปฏิบัติงานของข้าราชการครูในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรี เขต 2 จำแนกตามพื้นที่จัดการศึกษา ตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ครั้งนี้ คือ ข้าราชการครูในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรี เขต 2 จำนวน 274 คน โดยการสุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิตามพื้นที่จัดการศึกษาและผู้ให้ข้อมูลสำคัญการสนทนากลุ่ม จำนวน 8 คน โดยเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามมาตรประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา 1.00 ความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.95 และประเด็นการสนทนากลุ่ม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา

          ผลการวิจัยพบว่า 1) การส่งเสริมการปฏิบัติงานของข้าราชการครูในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรี เขต 2 โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก  โดยเรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปน้อย คือ ด้านการส่งเสริมและสนับสนุนการจัดการเรียนรู้ รองลงมา คือ ด้านการจัดการเรียนรู้ และด้านการพัฒนาตนเองและวิชาชีพ 2) แนวทางการส่งเสริมการปฏิบัติงานของข้าราชการครูในสถานศึกษา ดังนี้ 2.1) ด้านการจัดการเรียนรู้ มีแนวทางการส่งเสริมการปฏิบัติงานของข้าราชการครู คือ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาและสถานศึกษา   ควรมีการจัดกิจกรรมการให้ความรู้ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน หลักสูตรสถานศึกษา และส่งเสริมการจัดทำหลักสูตรท้องถิ่นในเชิงบูรณาการอย่างสม่ำเสมอ รวมถึงการวัดและประเมินผลการจัดการศึกษา และส่งเสริมและสนับสนุนการเผยแพร่การจัดทำสื่อต่าง ๆ รวมถึงจัดหาแหล่งเรียนรู้ที่เป็นตัวอย่างให้กับสถานศึกษาที่มีรูปแบบคล้ายคลึงกัน 2.2) ด้านการส่งเสริมและสนับสนุนการจัดการเรียนรู้ มีแนวทางการส่งเสริมการปฏิบัติงานของข้าราชการครู คือ ควรมีการจัดสภาพแวดล้อมในสถานศึกษาให้เอื้อต่อการจัดการเรียนรู้อยู่เสมอ มีการสร้างความสัมพันธ์อันดีกับชุมชน และสามารถนำปราชญ์ชาวบ้าน ควรมีการตั้งคณะกรรมการระดับเขตพื้นที่การศึกษาในการกำกับ ติดตาม และประเมินผลการศึกษา และใช้การจัดการนิเทศแบบบูรณาการโดยใช้ศูนย์ส่งเสริมประสิทธิภาพเป็นฐาน (SP) ซึ่งเป็นการสร้างเครือข่ายเพื่อติดตามภาระงาน 4 ด้าน  ของสถานศึกษา 2.3) ด้านการพัฒนาตนเองและวิชาชีพมีแนวทางการส่งเสริมการปฏิบัติงานของข้าราชการครู คือ ผู้บริหารควรให้ส่งเสริมและพัฒนาทักษะเพิ่มเติมทั้งด้านเทคโนโลยี  เพื่อนำมาใช้ในการผลิตสื่อและการจัดการเรียนการสอน และด้านภาษาต่างประเทศเพื่อการสื่อสาร ควรมีการจัดให้มีการฝึกอบรมครูที่ปฏิบัติการสอนให้มีการพัฒนาศักยภาพของตนเองเพื่อนำมาใช้ ในการปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ และสนับสนุนให้ครูได้ศึกษาต่อในสาขาที่ชอบและสนใจ  

References

จินตนา โสรดสง, จุฑามาศ แสงงาม และจุฑาภรณ์ มาสันเทียะ. (2566). แนวทางการส่งเสริมการคงอยู่ในการปฏิบัติงานของครู โรงเรียนสาธิตบางนาจังหวัดสมุทรปราการ. วารสารสหวิทยาการวิจัยและวิชาการ, 3(3), 479-492.

ยุทธนา สาจวง. (2558). การส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ในโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา อำเภอลอง จังหวัดแพร่. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง.

รังสิยา นรินทร์. (2562). การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับด้านโดยการใช้กิจกรรมเป็นฐานในการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างความมุ่งมั่นแน่วแน่ของนักเรียน ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ, 19(1), 57-70.

สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา. (2564ก). ผลการประชุมคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ก.ค.ศ.) ครั้งที่ 7/2564. ค้นจาก https://otepc.go.th/th/content_page/item/3436-7-2564-2.html

สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา. (2564ค). มาตรฐานตำแหน่งและมาตรฐานวิทยฐานะของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา. กรุงเทพฯ: ผู้แต่ง.

สำนักงานเลขานุการของคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติ. (2561). ยุทธศาสตร์ชาติ พ.ศ. 2561-2580. กรุงเทพฯ: ผู้แต่ง.

สำนักนายกรัฐมนตรี. (2564). การประกาศแผนการปฏิรูปประเทศ (ฉบับปรับปรุง). กรุงเทพฯ: ผู้แต่ง.

สุธิกานต์ บริเอก. (2564). ภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อการปฏิบัติงานของครูผู้สอนในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 22. วิทยานิพนธ์ ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

อภิสิทธิ์ พึ่งภพ วิไลวรรณ พรมสีใหม่ และชวนคิด มะเสนะ. (2564). การเสริมสร้างพลังในการปฏิบัติงานของข้าราชการครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 5. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ, 15(2), 65-80.

Best, J. W. (1981). Research in education (4th ed.). Englewood cliff: Prentice hall.

Krejcie, R. V. & Morgan, D. W. (1970). Determining sample size for research activities. Educational and psychological measurement, 30(3), 607-610.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

30-06-2024