การพัฒนาแบบฝึกทักษะที่ส่งเสริมความสามารถในการแต่งกาพย์ยานี 11 โดยใช้รูปแบบการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค CIRC สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5
คำสำคัญ:
แบบฝึกทักษะ, กาพย์ยานี 11, การเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค CIRCบทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาแบบฝึกทักษะที่ส่งเสริมความสามารถในการแต่งกาพย์ยานี 11 ของนักเรียน โดยใช้รูปแบบการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค CIRC ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 และ 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียนการแต่งกาพย์ยานี 11 โดยใช้รูปแบบการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค CIRC กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนชุมชนโนนสูง อำเภอเมืองอุดรธานี จังหวัดอุดรธานี จำนวน 1 ห้อง 40 คน โดยการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้ จำนวน 5 แผน 2) แบบฝึกทักษะการแต่งกาพย์ยานี 11 และ 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง การแต่งกาพย์ยานี 11 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบความแตกต่างของคะแนนก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยค่า t–test for Dependent Sample
ผลการวิจัยพบว่า 1) แบบฝึกทักษะ มีประสิทธิภาพ 85.14/86.50 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 โดยแบบฝึกทักษะการแต่งกาพย์ยานี 11 ที่กลุ่มตัวอย่างได้คะแนนมากที่สุด ได้แก่ แบบฝึกทักษะที่ 3 เรื่อง ลักษณะบังคับของกาพย์ยานี 11 (87.33 เปอร์เซ็นต์) ส่วนแบบฝึกทักษะที่กลุ่มตัวอย่างได้คะแนนน้อยที่สุด ได้แก่ แบบฝึกทักษะที่ 1
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.
กุลธิดา ปัญญาจิรวุฒิ. (2547). การพัฒนาแบบฝึกเสริมทักษะการเขียนร้อยกรองกาพย์ยานี 11 สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5. วิทยานิพนธ์ปริญญา
มหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการนิเทศ มหาวิทยาลัยศิลปากร.
ชัยยงค์ พรหมวงศ์ และคณะ. (2540). ระบบสื่อการสอน. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ตรีสุคนธ์ คูนาเอก. (2562). การพัฒนาความสามารถในการแต่งกลอนสุภาพของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ด้วยการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค CIRC.
โรงเรียนเหล่ากลางวิทยาคม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 24.
นงเยาว์ ศรีประดู่. (2546). การพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้และแบบฝึกเสริมทักษะการเขียนกาพย์ยานี 11 ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยด้วย
กระบวนการเรียนรู้แบบกลุ่มเพื่อนช่วยเพื่อน. ปริญญาศึกษาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
บัณฑิตา แจ้งจบ. (2545). การสร้างแบบฝึกเสริมทักษะการสะกดคำในมาตราตัวสะกดที่มีพยัญชนะใช้หลายตัวสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. วิทยานิพนธ์
การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยทักษิณ.
บุญเหลือ ใจมโน. (2555). การแต่งคำประพันธ์. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
รัชนี ศรีไพรวรรณ. (2527). การสอนกลุ่มทักษะ 2 (ภาษาไทย). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
สุรัตน์ คำหอมรื่น. (2559). การพัฒนาความสามารถในการแต่งกลอนสุภาพ ด้วยการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค CIRC ร่วมกับแบบฝึก. สืบค้น 17 กันยายน
จาก http://ithesis-ir.su.ac.th.
Butts, Davis. (1974). The Teaching of Science A self Directed Planning Guide. New York: Harper & Row Publisher.
Slavin. (1987). Learning Cooperative and the cooperative school. Educational Leadership. 45 (November). Pp. 7-13.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วารสารครุศาสตร์ปัญญพัฒน์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ข้อความลิขสิทธิ์