การศึกษาความสามารถในการสื่อสารสื่อความหมายทางคณิตศาสตร์ และความรับผิดชอบโดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2
คำสำคัญ:
ความสามารถในการสื่อสารสื่อความหมายทางคณิตศาสตร์, การจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้, ความรับผิดชอบบทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ เปรียบเทียบความสามารถในการสื่อสารสื่อความหมายทางคณิตศาสตร์ ก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ และเปรียบเทียบหลังการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้กับเกณฑ์ ร้อยละ 70 และศึกษาความรับผิดชอบหลังการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 จำนวน 34 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย แผนการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ แบบวัดความสามารถในการสื่อสารสื่อความหมายทางคณิตศาสตร์ และแบบวัดความรับผิดชอบ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที ผลการวิจัย พบว่านักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 มีความสามารถในการสื่อสารสื่อความหมายทางคณิตศาสตร์ หลังสูงกว่าก่อนการจัดการเรียนรู้ และหลังการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้สูงกว่าเกณฑ์ ร้อยละ 70 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และมีความรับผิดชอบหลังการจัดการเรียนรู้ โดยรวมอยู่ในระดับมาก
References
จุฑามาศ ผกากลีบ. (2560). การพัฒนารูปแบบการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้โดยบูรณาการเทคนิคการสอนแบบเพื่อนคู่คิดในรายวิชาวิทยาศาสตร์สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. วารสารการจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรม, 5(1), 204-214.
ณัฐนันท์ จุยคําวงศ์. (2565). การพัฒนาความสามารถในการแก้ปัญหาคณิตศาสตร์เรื่อง ทศนิยม โดยใช้รูปแบบการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. วารสารนานาชาติ มหาวิทยาลัยขอนแก่น สาขามนุษยศาสตรและสังคมศาสตร์, 12(1), 1-20.
เบญจวรรณ ดาบทอง. (2561). การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้การแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์โดยวิธีการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ร่วมกับเทคนิค K-W-D-L สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี, 29(2), 163-174.
ปนัดดา ด้วงนาค. (2564). ผลการใช้แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้เพื่อส่งเสริมผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. วารสารครุศาสตร์คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร, 4(8), 31-42.
วิรมน ศรคม, & วนินทร พูนไพบูลย์พิพัฒน์. (2565). ผลของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์โดยใช้รูปแบบการโต้แย้งทางคณิตศาสตร์ที่มีต่อความสามารถในการแก้ปัญหาและการสื่อสารสื่อความหมายทางคณิตศาสตร์เรื่องปริมาตรและความจุของทรงสี่เหลี่ยมมุมฉากของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5. Journal of Roi Kaensarn Academy, 7(11), 39-54.
ศุภมิต ศิริโสภณภิวัฒน์, อารยา ปิยะกุล (2560). การพัฒนารูปแบบเพื่อเสริมสร้างค่านิยมด้านความรับผิดชอบของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5, วารสารราชพฤกษ์, 15(3), 36-45.
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2562). ผลการประเมิน PISA 2018: บทสรุปสำหรับผู้บริหาร. https://pisathailand.ipst.ac.th
สุนิสา แซ่ม้า, ยุภาดี ปณะราช, & ไมตรี มั่นทรัพย์. (2564). การจัดการเรียนรู้ผ่านกิจกรรมการปฏิบัติจริงที่ส่งเสริมผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ การทำงานเป็นทีม และความรับผิดชอบของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. รายงานการประชุมวิชาการระดับชาติสำหรับนักศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร ครั้งที่ 1, 1-10.
สุภกาญจ์ คำวาริห์, ปวีณา ขันธ์ศิลา, & สุวรรณวัฒน์ เทียนยุทธกุล. (2566). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ เรื่อง การแยกตัวประกอบของพหุนามดีกรีสองของชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้. วารสารราชภัฏสุรินทร์วิชาการ, 1(6), 31-42.
สุภาภรณ์ อุ้ยนอง, กฤษณะ โสขุมา, & สมวงษ์ แปลงประสพโชค. (2560). การจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ที่ส่งเสริมความสามารถในการสื่อสารและสื่อความหมายทางคณิตศาสตร์ เรื่อง พีระมิด กรวย และทรงกลม สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. วารสารวิจัยรำไพพรรณี, 15(3), 95-106.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วารสารครุศาสตร์ปัญญพัฒน์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ข้อความลิขสิทธิ์