ปัจจัยที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์การทดสอบระดับชาติ (O-NET) กลุ่มสาระภาษาต่างประเทศ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์ เขต 1
คำสำคัญ:
ผลสัมฤทธิ์, การทดสอบระดับชาติ, กลุ่มสาระภาษาต่างประเทศ, นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยด้านผู้เรียนกับผลสัมฤทธิ์การทดสอบ ระดับชาติ (O-NET) กลุ่มสาระภาษาต่างประเทศของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ ครูผู้สอนวิชาภาษาอังกฤษและผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 217 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบชั้นภูมิ เครื่องมือที่ใช้เป็น แบบสอบถามประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ 0.96 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ( 𝑥̅) ความเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD) และวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-way Anova) และเมื่อพบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติจึงทดสอบรายคู่ด้วยวิธีการของ เชฟเฟ่
(Scheffe 's method)
ผลการวิจัยพบว่า ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยด้านผู้เรียนกับผลสัมฤทธิ์การทดสอบระดับชาติ (O-NET) กลุ่มสาระภาษาต่างประเทศ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์ เขต 1 ในรายข้อ เมื่อขาดเรียนนักเรียนติดตามสอบถามงานจากเพื่อนหรือจากครูมีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2548). พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พุทธศักราช 2547. กรุงเทพฯ: กระทรวงศึกษาธิการ.
ธนนันท์ ธนารัชตะภูมิ. (2563). “การใช้ประโยชน์จากผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน.” วารสารครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 48(1), 63 – 82.
นันทพร จิตรจำลอง. (2564). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 7. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิจัยและประเมินผลการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์.
พรพรรณ เสาร์คำเมืองดี. (2562). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยการเรียนรู้แบบร่วมมือ เทคนิค STAD. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาคณิตศาสตรศึกษา ภาควิชาคณิตศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร.
รัตนา บำรุงจันทร์, ภัคณัฏฐ์ สมพงษ์ธรรม และสฎายุ ธีระวณิชตระกูล. (2562). ปัจจัยที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ของนักเรียนโรงเรียนขยายโอกาส สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระแก้ว เขต 2. วารสารบริหารการศึกษา มศว, 16(30), 188 – 200.
รัชพล เสิบกลิ่น, นันทพร ชื่นสุพันธรัตน์ และปรวีณ์ โชติพิทยสุนนท์. (2565). การศึกษาผลสัมฤทธิ์และเจตคติที่มีต่อการเรียนการสอนวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง ความน่าจะเป็นของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่เรียนด้วยรูปแบบการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค TAI กับการเรียนรู้แบบปกติ. วารสารครุศาสตร์สาร, 16(1), 104 – 116.
ล้วน สายยศ และ อังคณา สายยศ. (2542). การวัดด้านจิตพิสัย. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาสน์.
ศราวุธ สุวรรณวรบุญ และธีร หฤทัยธนาสันติ์. (2562). ผล O-NET ต่ำในชายแดนใต้: ต้นตอของปัญหาและทางเลือกในการจัดการปัญหา. วารสารวิทยบริการมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, 31(1), 255 – 269.
สุทธิพงษ์ นามเกิด. (2563). ปัจจัยที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาไทยของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 สังกัดสำนักงานเขตสวนหลวง กรุงเทพมหานคร, วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิตมหาวิทยาลัยพะเยา.
อุษณี ลลิตผสาน, ธนนันท์ ธนารัชตะภูมิ และ สรียา โชติธรรม. (2566). การพัฒนารูปแบบการรายงานผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ระดับบุคคล เพื่อส่งเสริมการใช้ผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติของนักเรียนและผู้ปกครอง. วารสารการทดสอบและการประเมินทางการศึกษาระดับชาติ, 4(2), 81 – 107.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วารสารครุศาสตร์ปัญญพัฒน์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ข้อความลิขสิทธิ์