การส่งเสริมการเรียนรู้ เรื่องการใช้สื่อสังคมออนไลน์อย่างปลอดภัยของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ด้วยเทคนิค Learning Together ร่วมกับการใช้สื่อโมชันกราฟิก

ผู้แต่ง

  • จักรพงษ์ วารี คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์
  • วราภรณ์ สาทิพย์จันทร์ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์

คำสำคัญ:

สื่อโมชันกราฟิก, วิธีการสอนแบบร่วมมือ, การใช้สื่อสังคมออนไลน์อย่างปลอดภัย, เทคนิค Learning Together

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการจัยเชิงทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อพัฒนาสื่อเรื่องการใช้สื่อสังคมออนไลน์อย่างปลอดภัย โดยใช้การเรียนรู้แบบร่วมมือ ด้วยเทคนิค Learning Together ร่วมกับการใช้สื่อโมชันกราฟิก 2) เพื่อเปรียบเทียบคะแนนก่อนและหลังเรียนของนักเรียน เรื่องการใช้สื่อสังคมออนไลน์อย่างปลอดภัยด้วยเทคนิค Learning Together ร่วมกับการใช้สื่อโมชันกราฟิก 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียน ต่อการจัดการเรียนรู้เรื่อง การใช้สื่อสังคมออนไลน์อย่างปลอดภัยด้วยเทคนิค Learning Together ร่วมกับการใช้สื่อโมชันกราฟิก กลุ่มตัวอย่างที่ใช้การวิจัยได้แก่นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนนบ้านชำปะโต จำนวนนักเรียน 19 คนได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ 1) สื่อโมชันกราฟิกเรื่องการใช้สื่อสังคมออนไลน์อย่างปลอดภัย 2) แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้เรื่องการใช้สื่อสังคมออนไลน์อย่างปลอดภัย 3) แบบทดสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 4) แบบสอบถามความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ในงานวิจัยได้แก่ สถิติเชิงพรรณนา ค่าเฉลี่ยเลขคณิตและการเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของผลการเรียนรู้โดย dependent sample t – test

ผลการวิจัย

  1. ผลวิเคราะห์คุณภาพของสื่อโมชันกราฟิก อยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.51 และมีประสิทธิภาพเท่ากับ 86.32/81.05 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ 80/80
  2. ผลการจัดการเรียนรู้โดยใช้สื่อโมชันกราฟิกร่วมกับด้วยเทคนิค Learning Together ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ก่อนเรียนมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.00 คะแนน หลังเรียนมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 7.53 คะแนน หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05
  3. ผลวิเคราะห์ความพึงพอใจของนักเรียนโดยเรื่องการใช้สื่อสังคมออนไลน์อย่างปลอดภัย ด้วยเทคนิค Learning Together ร่วมกับการใช้สื่อโมชันกราฟิก ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุดมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.57

References

กาญจนา คําสมบัติ. (2553). ประสิทธิภาพการใช้แบบฝึกหัดรายกลุ่มในรายวิชาการวิจัย ดําเนินงาน. รายงานผลการวิจัย. มหาสารคามคณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏ มหาสารคาม.

ดวงกมล อังคุนะ. (2559). การพัฒนาโมชันกราฟิกเรื่อง พระมหาเจดีย์ชัยมงคล. คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาราชภัฏมหาสารคาม.

ทิศนา แขมมณี. (2548). รูปแบบการเรียนการสอน: ทางเลือกที่หลากหลาย. กรุงเทพฯ: สํานักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ธนิตย์ สุวรรณเจริญ. (2559). การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ. สืบค้น ธันวาคม, 1, 2561, [Online].

พิชญาภา ยืนยาว และณัฐวรรณ พุ่มดียิ่ง. (2560). รูปแบบการเรียนการสอนแบบบันเทิงของ นักศึกษามหาวิทยาราชภัฏนครปฐม. วารสาร Veridian E-Journal มหาวิทยาลัยศิลปากร ฉบับภาษาไทย สาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์และศิลปะ, 10(3), 904- 920.

พงษ์พิพัฒน์ สายทอง. (2560, พฤษภาคม-สิงหาคม ).การพัฒนาโมชันอินโฟกราฟิกเพื่อ ประชาสัมพันธ์หลักสูตรระดับปริญญาตรี คณะวิทยาการสารสนเทศ มหาวิทยาลัย มหาสารคาม. Veridian E-Journal, Silpakorn University, ฉบับภาษาไทย สาขา มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์และศิลปะ, 10(2).

วรรณทิภา ธรรมโชติ. (2562). การพัฒนาสื่อโมชันกราฟิกเพื่อประกอบการเรียนรู้รายวิชา ส22101 สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม เรื่อง พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. สืบค้นจาก http://www.ph02.tci-thaijo.org/index.php.

เวชยันต์ ปันธรรม. (2560). การผลิตสื่อโมชันกราฟิกเรื่องระบบเสียงรอบทิศทาง 7.1 ชาแนล production of motion graphic media 7.1 channel. [Online].

Downloads

เผยแพร่แล้ว

04-01-2025