ผลการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ทักษะปฏิบัติของเดวีส์ ที่มีต่อทักษะพื้นฐานการเล่นแชร์บอลของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2

ผู้แต่ง

  • นิคม อนากาศ คณะศึกษาศาสตร์และศิลปศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีแห่งสุวรรณภูมิ
  • มนูญพงศ์ ชัยพันธุ์ คณะศึกษาศาสตร์และศิลปศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีแห่งสุวรรณภูมิ
  • นาราภัทร รัตนพิรุณ นักวิชาการอิสระ

คำสำคัญ:

แชร์บอล, ทักษะปฏิบัติของเดวีส์, ทักษะพื้นฐานการเล่นแชร์บอล

บทคัดย่อ

 

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ  1) เปรียบเทียบทักษะพื้นฐานการเล่นแชร์บอลก่อนเรียนและหลังเรียนตามรูปแบบการจัดการเรียนรู้ทักษะปฏิบัติของเดวีส์  2) เปรียบเทียบทักษะพื้นฐานการเล่นแชร์บอลตามหลังเรียนรูปแบบการจัดการเรียนรู้ทักษะปฏิบัติของเดวีส์กับเกณฑ์ร้อยละ 70 และ  3) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อรูปแบบการจัดการเรียนรู้ทักษะปฏิบัติของเดวีส์ กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนสารสาสน์วิเทศบางบอน     ภาคการศึกษาที่ 1 ปีการศึกษา 2566 จำนวน 24 คน ซึ่งได้มาจากการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ ในการวิจัย ประกอบด้วย  1) แผนการจัดการเรียนรู้  2) แบบประเมินทักษะปฏิบัติ และ              3) แบบสอบถามความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที

           ผลการวิจัยพบว่า  1) ทักษะพื้นฐานการเล่นแชร์บอลหลังเรียนตามรูปแบบการจัดการเรียนรู้ทักษะปฏิบัติของเดวีส์ของนักเรียนสูงกว่าก่อนเรียนที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ .05  2) ทักษะพื้นฐานการเล่นแชร์บอลหลังเรียนตามรูปแบบการจัดการเรียนรู้ทักษะปฏิบัติของเดวีส์สูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ  3) ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อรูปแบบการจัดการเรียนรู้ทักษะปฏิบัติของเดวีส์ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก

References

กฤธยากาญจน์ โตพิทักษ์. (2563). การประเมินการปฏิบัติ : แนวคิดสู่การปฏิบัติ. พิษณุโลก: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยนเรศวร.

โกศล เกตุกัน, ระพีพัฒน์ เดือนเพ็ญศรี และสิราวรรณ จรัสรวีวัฒน์. (2565). ผลการเรียนพลศึกษาของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โดยประยุกต์ใช้รูปแบบการสอนทักษะปฏิบัติของเดวีส์. วารสารมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด, 11(1), 423–435.

คำพาง ศรีท้าวปากดี, นิตยา ทองจันฮาด, ประพันธ์ศักดิ์ เดชศรี, ศิรินธร จัตุชัย และกาญจนา แวงวรรณ. (2566). ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง ทักษะพื้นฐานกีฬาแฮนด์บอล โดยใช้แผนการจัดการเรียนรู้ทักษะปฏิบัติของเดวีส์สําหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนอนุบาลมหาสารคาม. วารสารสหวิทยาการวิจัยและวิชาการ, 3(4), 887–898.

ชัยวัฒน์ อันปัญญา. (2565). ผลการจัดการเรียนรู้ทักษะปฏิบัติตามแนวคิดของเดวีส์ที่ส่งผลต่อทักษะพื้นฐานกีฬาฟุตซอลของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

ทิพรัตน์ ไตรศิริสาคร. (2555). การสร้างแบบทดสอบทักษะกีฬาแชร์บอลเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษา โรงเรียนสังกัดสำนักงานเทศบาลเมืองสมุทรสงคราม. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

ทิศนา แขมมณี. (2552). ศาสตรการสอน: องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. กรุงเทพฯ: สํานักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

นุชรินทร์ สมศรี. (2564). สภาพและปัญหาการจัดการเรียนรู้วิชาพลศึกษาในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาตรัง กระบี่. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ วิทยาเขตกระบี่.

บาล ชะใบรัมย์ และอมรเทพ วันดี. (2565). การเปรียบเทียบรูปแบบการสอนของเดวีส์ และการสอนแบบปกติที่มีต่อทักษะการเคลื่อนไหวของเด็กชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนเทศบาล 3 จังหวัดบุรีรัมย์. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยการจัดการและเทคโนโลยีอีสเทิร์น, 19(1), 1–10.

บุญชม ศรีสะอาด. (2541). การพัฒนาการสอน. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

พัชชิราภรณ์ ฮาดดา. (2565). การจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดของเดวีส์ เพื่อส่งเสริมทักษะพื้นฐานกีฬาเทเบิลเทนนิสของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

ภูมิสิทธิ์ สัจจหทยาศรม. (2561). ผลการเปรียบเทียบการจัดการเรียนรู้แบบสาธิต กับการจัดการเรียนรู้แบบสาธิตรกับการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือที่มีต่อความรู้ และทักษะการรํากระบี่กระบองของนักศึกษาโปรแกรมวิชาพลศึกษา. ใน รายงานการประชุมวิชาการระดับชาติ “ครุศาสตร์ศึกษา ครั้งที่ 1” วันที่ 29 มีนาคม 2561 (หน้า 1110–1120). กำแพงเพชร: คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ. (2564). ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลางต้องรู้และควรรู้ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 สำหรับการจัดการเรียนรู้ ปีการศึกษา 2564 ภายใต้สถานการณ์แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (Covid-19). สืบค้นจาก http://academic.obec.go.th/images/official/ 1622514876_d_1.pdf

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ. (2557). แนวปฏิบัติการวัดและการประเมินผลการเรียนรู้ ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตร.

สมจัด ประทัยงาม, นพเรศวร์ ธรรมศรัณยกุล, เฉลิมพล สวัสดิ์พงษ์ และอรธิดา ประสาร. (2562). การพัฒนาทักษะการว่ายน้ำ กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา โดยใช้รูปแบบทักษะปฏิบัติของเดวีส์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4. วารสารราชธานีนวัตกรรมทางสังคมศาสตร์. 3(2). 43–52.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

30-06-2025