การพัฒนาทักษะการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจโดยใช้แบบฝึกการอ่านเรื่องสั้นด้วยเทคนิคการอ่านแบบร่วมมือ(CSR) สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนบ้านห้วยหละ อำเภอบ้านโฮ่ง จังหวัดลำพูน

ผู้แต่ง

  • อาภัสรา อินทผสม โรงเรียนบ้านห้วยหละ จังหวัดลำพูน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลำพูน เขต 2
  • ชนินทร์ ยาระณะ โรงเรียนสันป่าตองวิทยาคม จังหวัดเชียงใหม่ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 34
  • วารุณี โพธาสินธุ์ คณะสังคมศาสตร์และศิลปะศาสตร์ มหาวิทยาลัยนอร์ทเชียงใหม่

คำสำคัญ:

ทักษะการอ่านเพื่อความเข้าใจ, เทคนิคการอ่านแบบร่วมมือCSR, แบบฝึกการอ่านเรื่องสั้นด้วยเทคนิคการอ่านแบบร่วมมือ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อสร้างและประเมินความเหมาะสมแบบฝึกทักษะการอ่านเพื่อความเข้าใจด้วยเทคนิคการอ่านแบบร่วมมือ (CSR) ร่วมกับเรื่องสั้นภาษาอังกฤษสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 และ 2) เพื่อเปรียบเทียบทักษะการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจก่อนและหลังเรียนโดยใช้แบบฝึกการอ่านเรื่องสั้นด้วยเทคนิคการอ่านแบบร่วมมือ(CSR) สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนบ้านห้วยหละ อำเภอบ้านโฮ่ง  จังหวัดลำพูน ประชากร ได้แก่ นักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนบ้านห้วยหละ ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2566 จำนวน 16 คน ได้มาโดยการใช้วิธีการเลือกแบบเจาะจง (Purposive sampling) เครื่องในการวิจัยได้แก่ 1) แบบฝึกการอ่านเรื่องสั้นด้วยเทคนิคการอ่านแบบร่วมมือ(CSR) สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5  2) แผนการจัดการเรียนรู้เทคนิคการอ่านแบบร่วมมือ (CSR) ร่วมกับเรื่องสั้นภาษาอังกฤษ สำหรับนักเรียนชั้นระถมศึกษาปีที่ 5 และ 3) แบบทดสอบทักษะการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจก่อนและหลังเรียน  

          ผลการวิจัย พบว่า 1) ผลความเหมาะสมของแบบฝึกการอ่านเพื่อความเข้าใจด้วยเทคนิคการอ่านแบบร่วมมือ (CSR) ร่วมกับเรื่องสั้นภาษาอังกฤษสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5โดยรวมอยู่ในระดับเหมาะสมมาก 2) ความสามารถในการอ่านเพื่อความเข้าใจของนักเรียนสูงขึ้นหลังเรียนด้วยแบบฝึกการอ่านเรื่องสั้นด้วยเทคนิคการอ่านแบบร่วมมือ(CSR) อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05

 

คำสำคัญ : ทักษะการอ่านเพื่อความเข้าใจ, เทคนิคการอ่านแบบร่วมมือCSR (collaborative strategic reading), แบบฝึกการอ่านเรื่องสั้นด้วยเทคนิคการอ่านแบบร่วมมือ(CSR)

 

References

กชพร ฤาชา. (2555). การศึกษาเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความคงทนในการเรียนรู้ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปี ที่ 1 ที่กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่องพื้นฐานทางเรขาคณิต โดยใช้แบบฝึกทักษะและการเรียนปกติ. วิทยานิพนธ์ครุศาสตร มหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

กัลยา วานิชย์บัญชา. (2545). หลักสถิติ. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย.

ธิดารัตน์ สมานพันธ์ และจันทร์ ติยะวงศ์. (2563). การพัฒนาความเข้าใจในการอ่านภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ที่สอนโดยใช้กลวิธีการอ่านแบบร่วมมือ. วารสารวิชาการ.

บุญชม ศรีสะอาด. (2545). การวิจัยเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

บุญนำ เกษี. (2556). รายงานผลการใช้แบบฝึกทักษะ เรื่อง ระบบสมการเชิงเส้นระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนพานทองสภาชนูปภัมภ์ อำเภอพานทองจังหวัดชลบุรี.

เบญชญา นาครัตน์. (2560). การพัฒนาแบบฝึกทักษะการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ โดยใช้นิทานพื้นบ้านไทย วิชาภาษาอังกฤษ (อ21102) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 (รายงานผลการวิจัย). โรงเรียนจันเสนเอ็งสุวรรณอนุสรณ์. นครสวรรค์.

พิชญ์สินี ชมภูคำ. (2565). การหาคุณภาพการเก็บรวบรวมข้อมูล. คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์น.

มุทิตา อังคุระษี. (2559). การพัฒนาแบบฝึกทักษะเรื่องสีและการระบายสี กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนคลองสำโรง. วิทยานิพนธ์การศึกษา มหาบัณฑิต. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี.

นิตยภัทร์ ธาราสุข. (2557). การพัฒนาแบบฝึกเสริมทักษะการอ่านเพื่อความเข้าใจ โดยใช้กลวิธีสตาร์ท (START) และแผนภูมิความหมาย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการสอนภาษาอังกฤษในฐานะภาษาต่างประเทศ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.

วราภรณ์ พรมอินทร์. (2561). การพัฒนาความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้กลวิธีการอ่านแบบร่วมมือ Collaborative. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยบูรพา.

ศศิธิดา สาหร่ายวัง. (2563). การพัฒนารูปแบบการสอนอ่านภาษาอังกฤษโดยใช้การเรียนแบบปัญหาเป็นฐานร่วมกับกลวิธีการอ่านแบบร่วมมือเพื่อส่งเสริมความสามารถทางการอ่านเพื่อความเข้าใจและการใช้กลวิธีในการอ่านสำหรับนักศึกษาปริญญาตรี. ปริญญาดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยศิลปากร.

แสงนภา ใจเย็น (2562). การพัฒนาความเข้าใจในการอ่านและความสามารถในการตั้งคำถามแบบคิว เอ อาร์ โดยใช้กลวิธีการอ่านแบบร่วมมือของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่.

Carolyn A Denton and Jan E Hasbrouck. (2000). Reading Comprehension from Teaching Students with Disabilities to Read. Texas A & M University.

Johnson and Johnson R. T. (1991). Learning Together and Alone. New Jersey: Prentice Hall.

Klingner J k S V, Dimino J, Schumm J S and Bayant D. (2016). Collaborative Strategic Reading. Longmont: Sopris West.

Williams E. (1986). Reading in the Language Classroom. London: The Macmillan Publisher.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

04-01-2025