การบริหารงานระบบไอซีทีเพื่อพัฒนานวัตกรรมการจัดการเรียนการสอนรายวิชาภาษาไทย เรื่อง นิราศภูเขาทองผ่านบทเรียนออนไลน์ Mobile Learning ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนวัดตะพงนอก จังหวัดระยอง
คำสำคัญ:
บทเรียนออนไลน์ Mobile Learning, ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนบทคัดย่อ
บทความนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ก่อนเรียนและหลังเรียนรายวิชาภาษาไทย เรื่องนิราศภูเขาทอง ผ่านบทเรียนออนไลน์ Mobile Learning ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 และ 2) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนผ่านบทเรียนออนไลน์ Mobile Learning รายวิชาภาษาไทย เรื่องนิราศภูเขาทอง ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนวัดตะพงนอก จังหวัดระยอง ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565 จำนวน 30 คน ซึ่งได้มาจากการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ บทเรียนออนไลน์ Mobile Learning แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ก่อนเรียนและหลังเรียน แผนการจัดการเรียนรู้และแบบประเมินความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ Dependent Sample t-test ผลการวิจัยพบว่า 1.คะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนผ่านบทเรียนออนไลน์ Mobile Learning รายวิชาภาษาไทย เรื่องนิราศภูเขาทอง ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 หลังเรียนสูงกว่าผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติมีค่าเฉลี่ย (x ̅) ก่อนเรียนมีค่าเท่ากับ 16.87 ค่าเฉลี่ยหลังเรียนมีค่าเท่ากับ 23.30 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน(S.D)ก่อนเรียนมีค่าเท่ากับ 1.38 และหลังเรียนมีค่าเท่ากับ 4.57 ค่าเฉลี่ยเปรียบเทียบระหว่างกลุ่ม ( t-test) ก่อนเรียนมีค่าเท่ากับ 66.79 และหลังเรียนมีค่าเท่ากับ 27.91 2) การศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนผ่านบทเรียนออนไลน์ Mobile Learning รายวิชาภาษาไทย เรื่อง นิราศภูเขาทอง ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 พบว่า นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการเรียนผ่านบทเรียนออนไลน์ Mobile Learning ในระดับมาก
ผลการวิจัยทำให้ได้บทเรียนออนไลน์ Mobile Learning ที่มีประสิทธิภาพ สามารถนำไปใช้ได้จริงและทำให้ผู้เรียนมีพัฒนาการการเรียนรู้ในรายวิชาภาษาไทย เรื่อง นิราศภูเขาทองดีขึ้น
References
Saeng-in, S., & Nanthakanok, K. (2022). การจัดกิจกรรมแบบบูรณาการการทำงานกับการเรียนรู้ ภาษาไทยสำหรับนักศึกษาจีนที่มีทักษะการสื่อสารภาษาไทยและพฤติกรรมการเรียนรู้แตกต่างกัน. Journal of Liberal Arts, Maejo University, 10(1), 286-301.
Detkawinlerd, W. (2022). การบูรณาการงานด้านทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมกับการเรียนการสอนนักศึกษา วิชานิติศาสตร์ในศรรตวรรษที่21กรณีศึกษา: คณะนิติศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม. JOURNAL OF SOCIAL SCIENCE FOR LOCAL RAJABHAT MAHASARAKHAM UNIVERSITY, 6(3), 258-267.
สาธกา ตาลชัย, & สุวัฒน พงษ์ร่มศรี. (2022). การจัดการศึกษาแบบบูรณาการในสังคมวิถี ใหม่. วารสารมณีเชษฐารามวัดจอมมณี, 5(2), 71-84.
ปัณฑิตา อินทรักษา. (2019). การจัดการ เรียนรู้ด้วยActiveLearningเพื่อการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์. วารสารคุรุศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี, 1(1), 35-43.
ผ ศ. ดร. ขจร พงศ์ คำ ดี. (2022). นวัตกรรม การ จัดการ เรียน การ สอน ด้วย เทคโนโลยี บน อุปกรณ์ เคลื่อนที่ ผ่าน ระบบ ออนไลน์ ด้วย แอ พ พลิ เค ชั่ น. ม จร. เลย ปริทัศน์, 2(3), 35-35.
มนัส นิต ใจดี, ช นั ฎ นภา พิทยา นุ รักษ์, & วิมาน ใจดี. (2022). ผล การ ใช้ m-Learning วิชา เทคโนโลยี (วิทยาการ คำนวณ) ร่วม กับ การ เรียน รู้ แบบ ปัญหา เป็น ฐาน เพื่อ พัฒนา ผล สัมฤทธิ์ ทางการ เรียน ของ นักเรียน ชั้น มัธยมศึกษา ปี ที่ 4 โรงเรียน สงวน หญิง. ศึกษา ศาสตร์ ม มร, 10(1).
ณฐาพัชร์ วรพงศ์พัชร์,อภิสิทธิ์ ทุริยานนท์ อรอนงค์ โพธิจักร,อพิเชษฐกิจเกษม เหมิและปวีณา จันทร์ไทย. (2565).นวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการศึกษาทักษะการอ่านภาษาอังกฤษโดยใช้บทเรียนอิเล็กทรอนิกส์ (E -Learning) ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนจิ่นเต๊อะแก่งคอย สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน. วารสารมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย. 14(2). 28-42.
ณฐาพัชร์ วรพงศ์พัชร์,สุริยะ วชิรวงศ์ไพศาลและพงษ์ศักดิ์ ผกามาศ. (2564) . การพัฒนาแพลตฟอร์มดิจิทัลรายวิชาเศรษฐศาสตร์ธุรกิจโดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐานสำหรับผู้เรียนระดับปริญญาตรีคณะบริหารธุรกิจ. วารสารศิลปศาสตร์และอุตสาหกรรมบริการมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. 4(2). 427-442.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 วารสารครุศาสตร์ปัญญพัฒน์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ข้อความลิขสิทธิ์