ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษากับประสิทธิผของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 4

ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษากับประสิทธิผของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 4

ผู้แต่ง

  • ปรีชา บุญจิตร -

คำสำคัญ:

ผู้นำเชิงนวัตกรรม, ผู้บริหารสถานศึกษา, ประสิทธิผลของสถานศึกษา

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

 

การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษา 2) ประสิทธิผลของสถานศึกษา 3) ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารกับประสิทธิผลของสถานศึกษา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ ผู้บริหารและครู จำนวน 291 คน จากสถานศึกษา 103 แห่ง กำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ตารางของเครซี่และมอร์แกน และใช้การสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าความเที่ยงตรง (IOC) ระหว่าง 0.67-1.00 ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.98 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าความถี่

ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย (   ) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์อย่างง่ายของเพียร์สัน (Pearson’s product-moment correlation coefficient)

ผลการวิจัยพบว่า

  1. ภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 4 อยู่ในระดับมาก
  2. ประสิทธิผลสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 4 อยู่ในระดับมาก
  3. ภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษามความสัมพันธ์กับประสิทธิผลของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 4 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01

References

เอกสารอ้างอิง

กระทรวงศึกษาธิการ. (2545). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 (แก้ไขเพิ่มเติมฉบับที่ 2 พ.ศ. 2545). กรุงเทพฯ: พริกหวานกราฟฟิคจำกัด.

ฐิตินันท์ นันทะศรี. (2563). การพัฒนาตัวบ่งชี้ภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของบริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วิทยานิพนธ์ ปร.ด.: มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

ธีระ รุญเจริญ. (2557). ความเป็นมืออาชีพในการจัดและบริหารการศึกษาในยุคปฏิรูปการศึกษา เพื่อปฏิรูปรอบ 2 และประเมินภายนอกรอบ 3. (พิมพ์ครั้งที่ 8).กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ข้าวฟ่าง.

บุญชม ศรีสะอาด. (2556). ระเบียบวิธีวิจัยทางการศึกษา. กรุงเทพมหานคร: สุวีริยสาส์น.

แพรลฎา พจนารถ. (2563). ภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมเพื่อความได้เปรียบในการแข่งขันขององค์การในศตวรรษที่ 21. ดุษฏีนิพนธ์ คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยรังสิต: กรุงเทพฯ.

ยุวดี ประทุม. (2559). ปัจจัยบริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 3. วิทยานิพนธ์ กศ.ม: มหาวิทยาลัยบูรพา.

ศศิประภา ชัยประสิทธิ์. (2553). องค์กรแห่งนวัตกรรม” ทางเลือกของผู้ประกอบการยุคใหม่. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาการศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 3. 2563. ข้อมูลสารสนเทศทาง

การศึกษาปีการศึกษา 2563. (อุดรธานี : กลุ่มนโยบายและแผนสำนักงานฯ ).

สํานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2550). แนวทางการกระจายอํานาจการบริหารและการ

จัดการการศึกษา. กรุงเทพฯ : ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จํากัด. สํานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน สํานักงานวิชาการและพัฒนาคุณภาพการศึกษา.

อรพรรณ ตู้จินดา. (2558). ประสิทธิผลของการบริหารโรงเรียนวัดปทุมวนารามโดยใช้อรพรรณโมเดล. วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย, 42-56.

เอกชัย ค้าผล. (2558). การบริหารระบบคุณภาพที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐม เขต 1. วิทยานิพนธ์ ศษ.ม.: มหาวิทยาลัยศิลปากร.

A. M., & Lindgren, P. Abdullah. (2008). Conceptualizing strategic innovation leadership. Journal of Knowledge Globalization.

Coombs. (1991). Thinking Seriously About Curriculum integration. Burnaby. BC: Simon Fraser University, Tri- University Integration Project

Virgile Chassagnon. (2015). The relevance of innovation leadership for environmental benefits. Technological Forecasting and Social Change, 194-207.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-07-17