การพัฒนาตำหรับผลิตภัณฑ์ศรีสงครามครีมว่านหางจระเข้ของกลุ่มวิสาหกิจชุมชน “ศรีสงครามเฮิร์บ” ตำบลศรีสงคราม อำเภอศรีสงคราม จังหวัดนครพนม

การพัฒนาตำหรับผลิตภัณฑ์ศรีสงครามครีมว่านหางจระเข้ของกลุ่มวิสาหกิจชุมชน “ศรีสงครามเฮิร์บ” ตำบลศรีสงคราม อำเภอศรีสงคราม จังหวัดนครพนม

ผู้แต่ง

  • อุดรดิษฐ์ ดอนจันทร์โคตร -

คำสำคัญ:

ครีมว่างหางจระเข้, ครีมทาแผล, ตำหรับผลิตภัณฑ์

บทคัดย่อ

การพัฒนาครีมสมานแผลทางเลือกได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายมายาวนานเนื่องจาก สมุนไพรที่มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ ลดกลไกการอักเสบของแผลและส่งเสริมให้แผลสร้างเนื้อเยื่อใหม่ได้รวดเร็วขึ้น ว่านหางจระเข้ บัวบก และเสี้ยนผี เป็นพืชสมุนไพรพื้นบ้านที่มีคุณสมบัติดังกล่าว ผู้วิจัยได้ดำเนินการพัฒนาครีมทาแผลจากว่านหางจระเข้ บัวบกและเสี้ยนผี โดยใช้วาสลีนเป็นตัวประสาน การวิจัยนี้เป็นการวิจัยพัฒนาเชิงปฏิบัติการ มีขั้นตอนวิจัย ดังนี้ 1.การทบทวนสูตรโดยทบทวนจากภูมิปัญญาหมอสมุนไพรพื้นบ้านจำนวน 3 คน  2) การออกสูตรและจัดการความรู้ขั้นตอนและวิธีการผลิตและออกแบบบรรจุภัณฑ์ 3) การทดลองใช้กับอาสาสมัคร 4) การประเมินผลคุณภาพของสรรพคุณและความพึงพอใจของอาสาสมัคร ดำเนินการวิจัยระหว่างเดือน มกราคม-เมษายน 2565 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยผู้วิจัยใช้แนวทางการสัมภาษณ์เชิงลึก แนวทางการสนทนากลุ่ม และแบบประเมินคุณภาพผลิตภัณฑ์ ผลการวิจัยพบว่า ได้ครีมว่านหางจระเข้ที่มีส่วนผสมของสารสกัดบัวบกและเสี้ยนผีที่มีเนื้อเดียวกันไม่เหม็นหืน และมีสรรพคุณต่อการหายของแผลกดทับในอาสาสมัครก่อน 14 วัน อาสาสมัครมีความพึงพอใจทุกด้าน และสามารถนำไปต่อยอดในทางธุรกิจได้ 

References

กิตติศักดิ์ แคล้วจันทร์สุข. (2562). การสกัดแยกและพิสูจน์เอกลักษณ์ของสารสำคัญจากสมุนไพร. http://www.elfit.ssru.ac.th/kittisakja/pluginfile.php /98/block htmVcontent/4-การสกัด แยกและพิสูจน์ เอกสักษณ์ของสารสำคัญจากสมุนไพร-kithisakpdf

จันทรพร ทองเอกแก้ว. (2556). บัวบก: สมุนไพรมากคุณประโยชน์. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี, 15(3), 70–75.

Devi, B.P., Boominathan, R. & Mandal, S.C. (2002). Evaluation of anti-diarrheal activity of Cleome viscosa L. extract in rats. Phytomedicine, 9, 739–742.

Gupta, P.C. Sharma, N. & Rao, C.V. (2011). Comparison of the antioxidant activity and total phenolic, flavonoid content of aerial part of Cleome viscosa L. International Journal of Phytomedicine, 3, 386-391.

Mybest. (2562). 10 อันดับเจลว่านหางจระเข้. https://my- best. in.th/12358/

Rasri, S., Tantasit, T., Rasiri, T. & Kaewtai, N. (2017). ีUse of herbal product for treatment of oral disease: A review. Thai Dental Nurse Journal, 28(2), 124–133.

Sangkao, S., Khwanwong, N., Khonthong, N., Jaidee, N. & et al. (2017). Antioxidant activity, ascobic acid content and the consumer satisfaction of aloe vera mixed honey soap phayathai herbs amphoe maung, Kampangphet. The Golden Teak Sciences and Technology Journal, 4(1), 117–124.

Singh, H., Ali,S.S., Khan, N.A., Mishra, N. & Mishra, A.K. (2017). Wound healing potential of Cleome viscosa Linn. Seeds extract and isolation of active constituent. South African Journal of Botany, 112, 460–465.

Tangitjareonkun, J. & Supabphol, R. (2015). Application of Aloe Vera on Would healing: A review. Journal of Medicine and Health Sciences, 22(3), 53–67.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-07-17