ภาวะผู้นำเชิงจริยธรรมของผู้บริหารตามความคิดเห็นของครู โรงเรียนอุดรพิทยานุกุล จังหวัดอุดรธานี

ผู้แต่ง

  • สุบันฑิต ชาบุตรโคตร สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชธานี
  • อมรทิพย์ เจริญผล สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชธานี

คำสำคัญ:

ภาวะผู้นำเชิงจริยธรรม;, ผู้บริหารโรงเรียน

บทคัดย่อ

การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับภาวะผู้นำเชิงจริยธรรม และแนวทางพัฒนาภาวะผู้นำเชิงจริยธรรมของผู้บริหารตามความคิดเห็นของครูโรงเรียนอุดรพิทยานุกุล จังหวัดอุดรธานี ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ ครู จำนวน 261 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าความเที่ยงตรง (IOC) ระหว่าง 0.67-1.00 ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.90 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผู้วิจัยพบผลดังนี้ 1) ภาวะผู้นำเชิงจริยธรรมของผู้บริหาร ภาพรวมอยู่ในระดับมาก ด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุดคือ ด้านความยุติธรรม รองลงมาคือ ด้านความไว้วางใจ และด้านความซื่อสัตย์ ด้านที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุดคือ ด้านการเอาใจใส่ 2) แนวทางพัฒนาภาวะผู้นำเชิงจริยธรรม คือ ผู้บริหารต้องปฎิบัติหน้าที่ด้วยความเที่ยงธรรมตามหลักธรรมาภิบาลไม่มีผลประโยชน์ทับซ้อน ผู้บริหารควรวางตัวเป็นกลางไม่แสดงความชอบส่วนตัวกับฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง ผู้บริหารควรการตัดสินใจในเรื่องความยุติธรรมโดยศึกษาข้อเท็จจริงอย่างถี่ถ้วนเพื่อป้องกันความผิดพลาด และผู้บริหารควรมอบหมายงานให้ผู้ใต้บังคับบัญชาให้ตรงกับความรู้ความสามารถ เพื่อให้งานดำเนินการไปด้วยความราบรื่นตามกระบวนการทำงานของโรงเรียน 

References

ดวงทิพา พุ่มไม้. (2557). การศึกษาสภาพและแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงจริยธรรมของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดสุโขทัย. วิทยานิพนธ์ ครุศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม.

บุญชม ศรีสะอาด. (2554). หลักการวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 9. กรุงเทพฯ : สุวิริยาสาส์น.

เพ็ญศิริ สมเรือน. (2560). ภาวะผู้นำเชิงจริยธรรมของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตราด. วิทยานิพนธ์ ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยบูรพา.

ภานุวัฒน์ บุญธัญกิจ. (2560). ภาวะผู้นำเชิงจริยธรรมที่พึงประสงค์ของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดกรุงเทพมหานครตามทัศนะของผู้บริหารและครู. ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการศึกษา วิทยาลัยครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.

โรงเรียนอุดรพิทยานุกุล. (2564). แผนพัฒนาการศึกษา ปี 2562-2564 ; จังหวัดอุดรธานี.

วิโรจน์ สารรัตนะ. (2557). แนวคิด ทฤษฎี และประเด็นเพื่อการบริหารทางการศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 8. กรุงเทพฯ : ทิพยวิสุทธิ์.

เศรษฐ์ คุณทาบุตร. (2556). ภาวะผู้นำเชิงจริยธรรมของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษา จังหวัดเลย. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต แขนงสวิชาบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

สลิลทิพ ชูชาติ. (2556). พฤติกรรมเชิงจริยธรรมของผู้บริหารในการบริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากำแพงเพชร เขต 2. วิทยานิพนธ์ พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย.

แสงสุริยา ศรีพูน. (2563). การศึกษาภาวะผู้นำเชิงพฤติกรรมของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของบุคลากรในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหนองคาย เขต 1. สารนิพนธ์ศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิต. วิทยาลัยสันติพล.

สุรีวัลย์ ดาราพงษ์. (2557). การใช้อำนาจของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตราด. งานนิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา.

สุรัตน์ ไชยชมภู. (2557). ภาวะผู้นำเชิงจริยธรรมในการบริหารสถานศึกษา. วารสารการบริหารการศึกษามหาวิทยาลัยบูรพา.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2553). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2553 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545 และ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2553. กรุงเทพฯ : พริกหวานกราฟฟิค.

Brown, M. E., Trevino, L. K., & Harrison, D. A. (2005). Ethical leadership : A social Behavior and Human Decision Processes, 97(10)

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-10-24