การบริหารตามหลักธรรมาภิบาลสากลของกลุ่มเครือข่ายพัฒนาคุณภาพการศึกษาโนนสัง 3 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหนองบัวลำภู เขต 1
การบริหารตามหลักธรรมาภิบาลสากลของกลุ่มเครือข่ายพัฒนาคุณภาพการศึกษาโนนสัง 3 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหนองบัวลำภู เขต 1
คำสำคัญ:
การบริหารหลักธรรมาภิบาลสากล , กลุ่มเครือข่ายพัฒนาคุณภาพการศึกษาโนนสัง 3บทคัดย่อ
บทคัดย่อ
การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุปะสงค์เพื่อศึกษาการบริหารตามหลักธรรมาภิบาลสากล ของกลุ่มเครือข่ายพัฒนาคุณภาพการศึกษา โนนสัง 3 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหนองบัวลำภู เขต 1 ประชากรและตัวอย่างหน่วยที่ศึกษา คือ โรงเรียนในกลุ่มเครือข่ายพัฒนาคุณภาพการศึกษาโนนสัง 3 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหนองบัวลำภู เขต 1 ประจำปีการศึกษา 2564 จำนวน 11 แห่ง ผู้ให้ข้อมูลได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 11 คน ครูผู้สอน จำนวน 103 คน และประธานคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 11 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า มีค่าความเชื่อมั่น 0.96 และค่าความแม่นตรงของแบบสอบถามอยู่ระหว่าง 0.66 – 1.00 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าความถี่และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยพบว่า
- การบริหารตามหลักธรรมาภิบาลสากลในโรงเรียนของกลุ่มเครือข่ายพัฒนาคุณภาพการศึกษา โนนสัง3 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหนองบัวลำภู เขต 1 อยู่ในระดับ มากมีการกระจายตัวน้อย ( = 4.41 S.D. = 0.79 )
- แนวทางพัฒนาการบริหารตามหลักธรรมาภิบาลสากลของกลุ่มเครือข่ายพัฒนาคุณภาพการศึกษา โนนสัง 3 โดยเรียงลำดับค่าเฉลี่ยรายด้านจากมากไปหาน้อยได้แก่ ผู้บริหารควรเน้นย้ำเรื่องความรู้ความเข้าใจในการปฏิบัติงานตามบริบทของโรงเรียน ผู้บริหารควรชี้แจงหลักเกณฑ์การพิจารณาขั้นเงินเดือนให้ชัดเจน ผู้บริหารควรจัดให้มีการทำประชาพิจารณ์จากครู และผู้ปกครองในการดำเนินงานต่าง ๆ ของโรงเรียน ตามลำดับ
คำสำคัญ : การบริหารหลักธรรมาภิบาลสากล, กลุ่มเครือข่ายพัฒนาคุณภาพการศึกษาโนนสัง 3
References
เอกสารอ้างอิง
คำรณ โชธนะโชติ. (2560). “การบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลของมหาวิทยาลัยมหิดล”, วารสารการ
พัฒนางานประจำสู่งานวิจัย. 4 สิงหาคม 2560, 2-9.
บุญชม ศรีสะอาด. (2560). การวิจัยเบื้องต้น. กรุงเทพฯ : สุวีริยาสาส์น
พินิจ โคตรงาม. (2559). การบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลของ ผู้บริหารโรงเรียนขนาดกลางในอำเภอตา
พระยา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา สระแก้ว เขต 2. วิทยานิพนธ์ กศ.ม. ชลบุรี : มหาวิทยาลัยบูรพา.
ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการสร้างระบบบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี. (2542). เข้าถึงได้จาก
http://www.dmr.go.th/download/10.pdf. 5 พฤษภาคม 2564.
วันเพ็ญ หรูจิตตรีวัฒน์. (2544). Good Governance กับการฟื้นฟูเศรษฐกิจ. ผู้จัดการรายวัน. หน้า 8
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหนองบัวลำภู. (2558). แผนการปฎิบัติการประจำปี 2558.
อัดสำเนา
สํานักงานคณะกรรมการการศึกษาข้นพื้นฐาน. (2551). แนวทางการดําเนินงานการมีส่วนร่วมการบริหารจัด
การศึกษา. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทยจำกัด.
สำนักนายกรัฐมนตรี. (2542). ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการสร้างระบบบริหารกิจการบ้านเมือง
และสังคมที่ดี พ.ศ. 2542. กรุงเทพมหานคร : สำนักนายกรัฐมนตรี.
สุรพันธ์ โชคปมิตต์กุล. (2552). การบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลของเทศบาลในจังหวัดนครปฐม.
วิทยานิพนธ์ ค.ม. นครปฐม : มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม.
อัจฉราพร กรึงไกร. (2558). การศึกษาการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลของโรงเรียนในสังกัดสำนักงาน
เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 1. วิทยานิพนธ์ ค.ม. พระนครศรีอยุธยา : มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา.
Krejcie, R.V., & D.W. Morgan. (1970). “Determining Sample Size for Research Activities”. Educational
and Psychological Measurement. 30(3) : 607 – 610
United Nation. (1998). Management Theory and Total Quality : Improving Research and Practice Through Theory Development. New York : Academy of Management Review.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-ShareAlike 4.0 International License.
บทความที่ตีพิมพ์ในวารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร เป็นทัศนะ ลิขสิทธิ์ และความรับผิดชอบของผู้เขียนเจ้าของผลงาน