ภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 3

ผู้แต่ง

  • วรรณิศา มาลัยทอง คณะบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชธานี
  • กิจพิณิฐ อุสาโห คณะบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชธานี

คำสำคัญ:

ภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรม, ผู้บริหารสถานศึกษา

บทคัดย่อ

      บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมและแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานีเขต 3 กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 132 คน ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.92 ค่าดัชนีความสอดคล้องอยู่ระหว่าง 0.67-1.00 การวิเคราะห์ข้อมูลผู้วิจัยใช้ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา ผู้วิจัยพบว่า 1) ภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษาในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานีเขต 3 โดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านการมีวิสัยทัศน์สู่การเปลี่ยนแปลงและด้านการสื่อสาร มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด อยู่ในระดับที่เท่ากัน อันดับที่ 2 คือ ด้านการสร้างเครือข่ายทำงานเป็นทีม 2) แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมที่มีประสิทธิภาพของผู้บริหารสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานีเขต 3  ได้แก่  ผู้บริหารจะต้องมีความรู้ความเข้าใจ มีความกล้าคิดกล้าแสดงความคิด ผู้บริหารจะต้องมีการคิดที่ริเริ่มสร้างสรรค์ ต้องแสดงออกถึงความเป็นผู้นำเพื่อขับเคลื่อนให้สถานศึกษาเกิดแนวคิดอย่างสร้างสรรค์  มีการประชุมพูดคุยกับบุคลากร มีการสร้างเครือข่ายในการทำงาน ระดมความคิดและประสบการณ์จากบุคลากร แล้วนำมาสร้างสรรค์ผลงานใหม่ ๆ ทำตามแผนที่กำหนดไว้และเป็นผู้นำนวัตกรรมในสถานศึกษา

References

กุลชลี จงเจริญ. (2561). การบริหารทรัพยากรบุคคลทางการศึกษา. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

ชูชาติ พ่วงสมจิตร์. (2561). แนวคิดเกี่ยวกับนวัตกรรมการบริหารการศึกษาและภาวะผู้นำในประมวลสาระชุดวิชานวัตกรรมการบริหารการศึกษาและภาวะผู้นำ หน่วยที่ 1-7. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

ฐิตินันท์ นันทะศรี. (2563). การพัฒนาตัวบ่งชี้ภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารและพัฒนาการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

ทินกร บัวชู. (2559). ภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมหัวหน้าหอผู้ป่วยโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยของรัฐ. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ทิศนา แขมมณี. (2548). รูปแบบการเรียนการสอนทางเลือกที่หลากหลาย. กรุงเทพฯ: ด่านสุทธาการพิมพ์.

บุญชม ศรีสะอาด. (2560). การวิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 10). กรุงเทพฯ: สุวีริยสาส์น.

ปวีณา กันถิน. (2560). ภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษาโรงเรียนประชารัฐ เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 5. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ไพฑูรย์ สินลารัตน์. (2551). อุดมศึกษาโลกาภิวัฒน์: รายงานการดูงานและประชุมวิชาการต่างประเทศ. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ภิรญา สายศิริสุข. (2561). ภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารในโรงเรียนมัธยมศึกษากลุ่มสหวิทยาเขตปัญจภาคี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 4. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

เวียงวิวรรธน์ ทำทูล. (2557). ภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารที่ส่งผลต่อองค์การขีดสมรรถนะสูงของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 21. วารสารศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 37(3), 31-38.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากำแพงเพชร เขต 2. (2562). แผนพัฒนาการศึกษาประถมศึกษา:อัดสำเนา.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานีเขต 3. (2565). แผนปฏิบัติการประจำปี 2565: อัดสำเนา

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2558). ทิศทางแผนพัฒนาเศรษฐกิจสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (2560-2564). นนทบุรี: รายงานสรุปผลการประชุมประจำปี 2558 ณ ศูนย์แสดงการประชุมอิมแพ็ค เมืองทองธานี จังหวัดนนทบุรี.

สุกัญญา แช่มช้อย. (2560). การบริหารสถานศึกษาในยุคดิจิทัล. พิษณุโลก: พิษณุโลกดอทคอม.

อนุสรา สุวรรณวงศ์. (2558). กลยุทธ์การบริหารเพื่อเสริมสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพสำหรับครูโรงเรียนเอกชน. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาบริหารการศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อภินันท์ สิริรัตนจิตต์. (2562). การจัดการเรียนเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ. สงขลา: มหาวิทยาลัยหาดใหญ่.

อรอนงค์ โรจน์วัฒนบูลย์. (2553). การพัฒนาตัวแบบผู้นำเชิงนวัตกรรม. วิทยานิพนธ์ปริญญารัฐศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการพัฒนา สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

Ailin, M. and Lindgren, P. (2008). Innovation Leadership in Danish SMEs. In Management of Innovation

and Technology, 2008. ICMIT 2008. 4th IEEE International Conference on 21-24 September 2008. pp. 98-103. Retrieved November 22, 2008, from IEEEXplore.

DuBrin, J. (1998). Leadership research finding: Practice and skills. Boston Houghton: Mifflin.

George, J. M., & Jones, G. R. (1996). Organizational behavior. (3rd ed). New Jersey: Prentice.

Gibson, J. L., Ivancevich, J. M., & Donnelly, J. H., Jr. (1997). Organizations, behavior structure processes. International Edition. United States of America: Irwin/McGraw-Hill.

Gliddon, D. G. (2006). Forecasting a competency model for innovation leaders using a modified Delphi

technique (Doctor dissertation of Philosophy). Pennsylvania: The Pennsylvania State University, Pennsylvania State.

Krejcie, R. V., & Morgan, D. W. (1970). Determining sample size for research activities. Educational and

Psychological Measurement, 30(3), 607-610.

McMillan, J. H. (2010). Participants, subjects, and sampling for quantitative designs. Upper Saddle River:

Pearson Education. organization behavior. 3rd ed. New York: McGraw-Hill.

Patel. (2012). Evolutionary crossroads in developmental biology. Development, 139(11), 2637-2638.

Porter-O’Grady, T., & Malloch, K. (2010). Innovation leadership: Creating the landscape of healthcare.

Sudbury, MA: Jones & Bartlett Learning.

Richard, I. A. (2009). Learning to teach. (9th ed). New York: Mc Graw-Hill.

Sen, A. & Erol Eren. (2012). Innovative Leadership for the twenty-first Century. Procedia - Social and

Behavioral Science, 41, 1-14.

Watts, M. (2002). The Content of Science: A Constructivist approach to its teaching and Learning. London:

The Felmer Press.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-03-23