ภาวะผู้นำตามสถานการณ์ของผู้บริหารโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาอุดรธานี

ผู้แต่ง

  • สุดารัตน์ แสงสิทธิ์ คณะบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชธานี
  • กิจพิณิฐ อุสาโห คณะบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชธานี

คำสำคัญ:

ผู้บริหารโรงเรียน, ภาวะผู้นำตามสถานการณ์

บทคัดย่อ

      การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับภาวะผู้นำตามสถานการณ์ และแนวทางพัฒนาภาวะผู้นำตามสถานการณ์ของผู้บริหารโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาอุดรธานี ประชากร คือ โรงเรียน จำนวน 63 แห่ง ผู้ให้ข้อมูล คือ ครูผู้สอน จำนวน 310 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ มีค่าความเที่ยงตรงระหว่าง 0.67-1.00 ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.91 เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้โปรแกรม Google form ได้รับการตอบกลับร้อยละ 91.72 การวิเคราะห์ข้อมูลผู้วิจัยใช้สถิติ ได้แก่ ความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1. ระดับภาวะผู้นำตามสถานการณ์ของผู้บริหารโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาอุดรธานี ภาพรวมอยู่ในระดับมาก มีการกระจายตัวน้อย ทุกด้านอยู่ในระดับมาก ด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ แบบขายความคิด รองลงมา คือ แบบมีส่วนร่วม และแบบมอบหมายงาน ด้านที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ แบบสั่งการ 2. แนวทางพัฒนาภาวะผู้นำตามสถานการณ์ของผู้บริหารโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาอุดรธานี ได้แก่ ผู้บริหารโรงเรียนควรเปิดโอกาสให้ครูผู้สอนได้เป็นผู้วางแผนปฏิบัติงานด้วยตนเอง มีการอธิบายหรือแจ้งครูผู้สอนทราบถึงความคาดหวังของโรงเรียน ผู้บริหารควรบอกรายละเอียดของงานที่ตนเองต้องการให้ผู้ใต้บังคับบัญชาทำให้ละเอียดชัดเจน ผู้บริหารควรเปิดโอกาสให้ครูมีส่วนร่วมแสดงความคิดเห็นในการปฏิบัติงาน ให้ครูผู้สอนมีส่วนร่วมในการกำหนดเป้าหมาย และผู้บริหารควรกระตุ้นให้ผู้ใต้บังคับบัญชาเต็มใจที่จะปฏิบัติหน้าที่ตามที่ได้รับมอบหมายอย่างเต็มความสามารถ

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2559). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2560. กรุงเทพฯ: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

ชัยเสฏฐ์ พรหมศรี. (2557). ภาวะผู้นำร่วมสมัย. กรุงเทพฯ: ปัญญาชน.

ธนากร แก่นเกษ. (2560). ภาวะผู้นำเชิงสถานการณ์ของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาในจังหวัดจันทบุรี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 17. สารนิพนธ์หลักสูตรการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยบูรพา.

ธร สุนทรายุทธ. (2556). พฤติกรรมเชิงการเมืองในองค์กร: จริตและจริยธรรมของคนองค์กรภาครัฐและเอกชน. (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพฯ: เนติกุลการพิมพ์.

ธัญพร ตันหยง. (2560). ได้ศึกษาวิจัยเรื่องการศึกษาบทบาทภาวะผู้นำตามสถานการณ์ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจันทบุรี. วารสารรำไพพรรณี, 12(1), 52-53.

บุญชม ศรีสะอาด. (2560). การวิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 10). กรุงเทพฯ: สุวีริยสาส์น.

วิษณุกร แตงแก้ว. (2563). ภาวะผู้นำตามสถานการณ์ที่ส่งผลต่อประสิทธิผลในการบริหารงานบุคคลของโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 3. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฎสุราษฎร์ธานี.

วรรณพร ตรีชัยศรี. (2561). ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำตามสถานการณ์ของผู้บริหารสถานศึกษากับการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ของสถานศึกษาสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระบุรี เขต 2. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2558). แนวทางการจัดกิจกรรมเรียนรู้ "ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้" ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-3.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาอุดรธานี (2565). แผนปฏิบัติการประจำปี พ.ศ. 2565. อุดรธานี: กลุ่มบริหารงานบุคคล สพม.อุดรธานี ข้อมูล ณ วันที่ 1 พฤศจิกายน 2565.

Hersey, P.; Blanchard, K.H., and Johnson, D.E. (1996). Management of Organizational Behavior. (7th ed). Englewood Cliffs, NJ: Prentice-Hall.

Krejcie, R. V., & Morgan, D. W. (1970). Determining sample size for research activities. Educational and

Psychological Measurement, 30(3), 607-610.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-03-23