ปัจจัยที่ส่งผลต่อคุณภาพการให้บริการของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคจังหวัดสกลนคร

ผู้แต่ง

  • ศรนารายณ์ ณะเกษ หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร
  • ละมัย ร่มเย็น หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

คำสำคัญ:

คุณภาพการให้บริการ, ปัจจัยทางการบริหาร, การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค

บทคัดย่อ

การบริการของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคจังหวัดสกลนคร เป็นงานบริการที่มีประชาชนมารับบริการโดยตรง ซึ่งเมื่อหน่วยงานมีคุณภาพการให้บริการที่ดีแล้วย่อมจะส่งผลให้ประชาชนเกิดความเชื่อมั่น การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายของการวิจัย 1) เพื่อศึกษาระดับปัจจัยทางการบริหารและคุณภาพการให้บริการของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค จังหวัดสกลนคร 2) เพื่อเปรียบเทียบคุณภาพการให้บริการของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค จังหวัดสกลนคร เมื่อจำแนกตามคุณลักษณะส่วนบุคคล 3) เพื่อศึกษาอิทธิพลของปัจจัยด้านโครงสร้าง ด้านกระบวนการขั้นตอนการให้บริการ ด้านเจ้าหน้าที่ผู้ให้บริการ และด้านเทคโนโลยีและสิ่งอำนวยความสะดวก ที่ส่งผลต่อคุณภาพการให้บริการของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค จังหวัดสกลนคร กลุ่มตัวอย่างได้แก่ ประชาชนผู้มาติดต่อขอรับบริการของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคจังหวัดสกลนคร จำนวน 400 คน ซึ่งใช้วิธีการสุ่มอย่างง่าย โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล ค่า IOC ระหว่าง 0.80-1.00 ค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง .389-.840 ค่าความเชื่อมั่น .856 และสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ ผลการวิจัยพบว่า 1) ปัจจัยทางการบริหารของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค จังหวัดสกลนคร โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก และคุณภาพการให้บริการของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคจังหวัดสกลนคร โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก 2) คุณภาพการให้บริการของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค จังหวัดสกลนคร แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ตามปัจจัยส่วนบุคคลด้านสาขาที่รับบริการ ยกเว้นด้านเพศ อายุ ระดับการศึกษา อาชีพ รายได้เฉลี่ยต่อเดือน และความถี่ของการมาขอรับบริการต่อเดือน 3) ปัจจัยทางการบริหารที่ส่งผลต่อคุณภาพการให้บริการของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคจังหวัดสกลนคร ได้แก่ กระบวนการขั้นตอนการให้บริการ (F2) (β=.566) โครงสร้าง (F1) (β=.280) เทคโนโลยีและสิ่งอำนวยความสะดวก (F4) (β=.251) และเจ้าหน้าที่ผู้ให้บริการ (F3) (β=.231) และปัจจัยการบริหารดังกล่าว สามารถร่วมกันพยากรณ์คุณภาพการให้บริการของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค จังหวัดสกลนคร ได้ร้อยละ 94.60 (R2Adj=.946) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

References

การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคจังหวัดสกลนคร. (2563). สรุปผลการดำเนินงานการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคจังหวัดสกลนคร ปี 2563. การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคจังหวัดสกลนคร.

การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค. (2555). กรอบนโยบายและทิศทางการดาเนินงานของ กฟภ. จาก http://www.pea.co.th/introduction/Documents/นโยบายองค์กร.pdf

จิตติมา ธีรพันธุ์เสถียร. (2549). การศึกษาคุณภาพบริการแผนกผู้ป่วยนอกโรงพยาบาลบ้านแพ้ว (องค์การมหาชน) สาขาพร้อมมิตร. สารนิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาการสังคมและการจัดการระบบสุขภาพ มหาวิทาลัยศิลปากร.

ชญานิษฐ์ โสรส. (2559). คุณภาพการให้บริการไปรษณีย์จังหวัดจันทบุรีที่ส่งผลต่อภาพลักษณ์ ไปรษณีย์ไทย:

ไปรษณีย์จังหวัดจันทบุรี. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยบูรพา.

ชาญธิวัฒน์ กิจสวัสด์ิ. (2560). ปัจจัยการบริหารที่ส่งผลต่อคุณภาพการให้บริการสาธารณะแก่ประชาชน กรณีศึกษา เทศบาลเมืองไร่ขิง อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม. วิทยานิพนธ์รัฐประศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชานโยบายสาธารณะและการจัดการภาครัฐ คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล.

พรรณิดา ขุนทรง. (2558). ปัจจัยที่ส่งผลต่อคุณภาพการให้บริการโรงพยาบาลบ้านแพ้ว (องค์การมหาชน) การศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อคุณภาพการให้บริการโรงพยาบาลบ้านแพ้ว (องค์การมหาชน). วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหิดล.

วิบูลย์ เผือกฉุย. (2559). ความพึงพอใจของประชาชนที่มีต่อการให้บริการของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคตำบลบึง อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี. วารสารเครือข่ายบัณฑิตศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏภาคเหนือ, 6(10), 57–70.

ศุภกัญญา จันทรุกขา. (2557). คุณภาพการให้บริการของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค เขตอำเภอเมืองอุบลราชธานี จังหวัดอุบลราชธานี. รายงานการวิจัย มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี.

สมภพ เต็งทับทิม. (2558). หลักนิติธรรมกับการบริหารงานการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค. กรุงเทพฯ: วิทยาลัยรัฐธรรมนูญู สํานักงานศาลรัฐธรรมนูญ.

สิทธิชัย บาเพ็ญเพียร. (2557). คุณภาพการให้บริการของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคเมืองพัทยา จังหวัดชลบุรี. วิทยานิพนธ์ รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยบูรพา.

Bass, B. M. (1981). Transformational leadership: Enhancing employee performance and organizational consciousness. London: Lexington Books. (Although not mentioned in your list, this reference was included in a previous response.)

Bertalanffy, L. v. (1968). General theory of systems: Foundations, development, applications. George Braziller.

Burns, P. M., & Stalker, G. M. (1961). The management of innovation. London: Tavistock Publications.

Davenport, T. H. (1993). Process innovation: Reengineering work through information technology. Harvard Business Press.

Grönroos, C. (2016). Service management and marketing: Customer management for service competitiveness. John Wiley & Sons.

Katzenbach, R. L., & Smith, D. K. (1993). The wisdom of teams: Creating high-performance groups to achieve collective success. Harper Business.

Laudon, K. C., & Laudon, J. P. (2016). Information systems management, Managing the digital enterprise. Pearson.

Maslow, A. H. (1943). A theory of human motivation. Psychological review, 50(4), 370-396.

Neely, A., & Adams, C. (2000). The performance measurement handbook. Butterworth-Heinemann.

Nonaka, I., & Takeuchi, H. (1995). Creating knowledge in the company. Routledge.

Weber, M. (1947). The theory of social and economic organization. Oxford University Press.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-06-11