ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงในศตวรรษที่ 21 ของผู้บริหารโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหนองบัวลำภูเขต 2
คำสำคัญ:
แนวทางพัฒนา, ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง, ผู้บริหารโรงเรียน, ศตวรรษที่ 21บทคัดย่อ
การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับและแนวทางพัฒนาภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงในศตวรรษที่ 21 ของผู้บริหารโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหนองบัวลำภู เขต 2 ประชากรและ กล่มุตัวอย่าง จำนวน 290 คน ใช้วิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ์ มีค่าความเที่ยงตรงของแบบสอบถามอยู่ระหว่าง 0.67-1.00 ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.92 การเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้โปรแกรม Google form ผ่านช่องทางอีเมล์ การวิเคราะห์ข้อมูลผู้วิจัยใช้สถิติความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) ระดับภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงในศตวรรษที่ 21 ภาพรวมอยู่ในระดับมาก และพบว่า ทุกด้านอยู่ในระดับมาก สำหรับด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ การบริหารการเปลี่ยนแปลง รองลงมา คือ มนุษยสัมพันธ์ และสมรรถนะผู้นำ ด้านที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้นำในอนาคต 2) แนวทางพัฒนาภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงในศตวรรษที่ 21 ของผู้บริหาร ได้แก่ ผู้บริหารควรศึกษาระบบสังคมในสถานศึกษา อันประกอบด้วย นโยบาย สถานศึกษา วัฒนธรรมองค์การ รูปแบบการเรียนรู้ ภาษา การสื่อสาร การมีส่วนร่วม การให้คำปรึกษา การวัดและประเมินผล สื่อและอุปกรณ์การสอนหลักสูตร วิธีการสอน และเจตคติ ความเชื่อ และการกระทำของบุคลากรเพื่อใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานในการจัดการบริหารสถานศึกษา เป็นต้น รวมถึงการสร้างความประทับใจหรือสร้างภาพพจน์ที่ดีให้แก่องค์การและผู้ที่เกี่ยวข้อง การปฏิบัติตนให้แบบอย่างที่ดีแก่บุคลากรในองค์การด้วยยการแสดงพฤติกรรมที่เหมาะสมของตน การสร้างความเชื่อถือและสร้างแรงจูงใจให้แก่ทีมงาน และการน้อมนําคุณลักษณะของหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไปประยุกต์ใช้ในการดำเนินชีวิตและการปฏิบัติงาน อันได้แก่ ความพอประมาณ ความมีเหตุผล และมีภูมิคุ้มกันที่ดี
References
ชาญ คำภิระแปง. (2560). รูปแบบการเสริมสร้างภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงในศตวรรษที่ 21 ของผู้อำนวยการกลุ่มนโยบายและแผน สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต สาขาผู้นำทางการศึกษาและการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
บุญชม ศรีสะอาด. (2554). การวิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 9). กรุงเทพฯ: สุวีริยสาส์น.
ณัฐปาลิน นิลเป็ง. (2560). ผู้นำการเปลี่ยนแปลงในศตวรรษที่ 21, วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ, 15(19).
ธีรศักดิ์ สารสมัคร. (2564). ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารในยุคการศึกษา 4.0 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 29, การประชุมวิขาการและนำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ ราชธานีวิชาการ, 343-358, 2564.
นภัทร ธัญญวณิชกุล. (2564). แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงในศตวรรษที่ 21 ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 1, วารสารการวัดผลการศึกษา, 233-243.
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาการศึกษาประถมศึกษาหนองบัวลำภู เขต 2. (2565). แผนปฏิบัติการประจำปี 2565. หนองบัวลำภู: กลุ่มนโยบายและแผนสำนักงาน.
รุ่งอรุณ หงส์เวียงจันทร์. (2560). รูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงในศตวรรษที่ 21 ของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในเขตภาคตะวันตก. ดุษฏีนิพนธ์ปรัชญาดุษฏีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารเพื่อการพัฒนาการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฎกาญจนบุรี.
รุ้งนภา จันทร์ลี. (2562). ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจันทบุรี เขต 2. วิทยานิพนธ์ครุศาสสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฎรำไพพรรณี.
สุภาพร ภูสมที. (2559). การศึกษาบทบาทภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 17. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี.
สำนักวิจัยและพัฒนาการศึกษา. (2558). ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงในศตวรรษที่ 21. สืบค้น 8 กุมภาพันธ์ 2566 จาก http://http://www.thaiedresearch.org/.
Bass, B. M. (1981). Stogdill’s handbook of leadership. New York: The Free Press.
Barnard, C. I. (1969). Organization and management. Cambridge, Massachusette Harvard University.
Bennis, W. G., & Nanus, B. (1985). Leadership: The strategies for taking charge. New York: Harper & Row.
Campbell, R., et al. (1977). Introduction administration. (4th ed). Boston: Allyn and Racon Inc.
Drucker, P. F. (1968). The Age of Discontinuity. New York: Harper and RoFullan, M. (2008). Learning to lead change: Building system capacity, core concepts. Retrieved March 30, 2011, from www.michelfullan.ca
Heller, F. A. & Porter, L. W. (1990). Personal characteristics conductive to success in business quoted in maureen guirdham, Interpersonal skills at work. Great Britain: Prentice Hall.
Katz, D. (1955). Skills of effective administrator. Harward Business Review, 23(1), 33–42.
Korman, A. K., & Tanofsky, R. (1975). Statistical problems of contingency models in organizational behavior. The Academy of Management Journal, 18(2), pp. 393-397.
Krejcie, R. V., & Morgan, D. W. (1970). Determining sample size for research activities. Educational and
Psychological Measurement, 30(3), 607-610.
Leithwood, K., & Jantzi, D. (1996). Toward an explanation of variantion in teacher’s perceptions of transformational school leadership. Educational administration quarterly, 32(4), 512-538.
Luthans, F. (2002). Organizational behavior (9th ed). New Jersey: McGraw-Hill.
Robbins, S. R., & Coulter, M. (1999). Management (6th Ed), Prentice Hall, Upper Saddle River, New Jersey.
Stedt, R. W. (1974). Managing career education programs. Englewood Cliffs, New Jersey: Prentice-Hall.
Stogdill, R. M. (1974). Handbook of leadership: A survey of theory and research. New York: The Free Press.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-ShareAlike 4.0 International License.
บทความที่ตีพิมพ์ในวารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร เป็นทัศนะ ลิขสิทธิ์ และความรับผิดชอบของผู้เขียนเจ้าของผลงาน