ภาวะผู้นำตามสถานการณ์ที่ส่งผลต่อการบริหารงานบุคลากรของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรี เขต 1

ผู้แต่ง

  • ฐิติพัฒน์ หิรัญนิธิธำรง คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกริก
  • สมชัย พุทธา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกริก
  • หมิงชุน เชี่ย คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกริก

คำสำคัญ:

การบริหารงานบุคคล, ผู้บริหารสถานศึกษา, ภาวะผู้นำตามสถานการณ์

บทคัดย่อ

      บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ระดับภาวะผู้นำตามสถานการณ์ 2) ระดับการบริหารงานบุคคลของผู้บริหารสถานศึกษา 3) ภาวะผู้นำตามสถานการณ์ที่ส่งผลต่อการบริหารงานบุคคลของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรี เขต 1 ประชากร คือ ผู้บริหารสถานศึกษาและครู จำนวน 1,681 คน กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอน รวมจำนวนทั้งสิ้น 313 คน ทำการสุ่มอย่างด้วยวิธีการเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามประมาณค่า 5 ระดับ ได้ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาครอนบาคของตัวแปร   ด้านภาวะผู้นำตามสถานการณ์ เท่ากับ .94 และตัวแปรด้านการบริหารงานบุคคลของผู้บริหารสถานศึกษา เท่ากับ .93 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป ผลการวิจัยพบว่า 1) ภาวะผู้นำตามสถานการณ์ โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก 2) การบริหารงานบุคคลของผู้บริหารสถานศึกษา โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก 3) ภาวะผู้นำตามสถานการณ์ที่ส่งผลต่อการบริหารงานบุคคลของผู้บริหารสถานศึกษา พบว่า ด้านการมีส่วนร่วม ด้านสั่งการ ด้านขายความคิดและด้านมอบหมายงาน ส่งผลต่อการบริหารงานบุคคลของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรี เขต 1 สามารถทำนายการบริหารงานบุคคลของผู้บริหารสถานศึกษาประสิทธิภาพการทำนายได้ร้อยละ 52.10 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 แสดงเป็นสมการพยากรณ์ ดังนี้ สมการพยากรณ์ในรูปคะแนนมาตรฐาน Ẑy  = .387 (Z1) + .370 (Z4) + .248 (Z2) + .116 (Z3)

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545 และ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2553. กรุงเทพฯ: องค์การรับส่งสินค้าพัสดุภัณฑ์ (ร.ส.พ.).

กระทรวงแรงงาน. (2564). ชีวิตวิถีใหม่ (New Normal). สืบค้น 29 มีนาคม 2565 จาก https://www.tosh.or.th/covid-19/index.php/new-normal.

ก้องภพ วิชญกูล. (2565). ภาวะผู้นำเชิงสถานการณ์ของผู้บริหารสถานศึกษากับมาตรฐานวิชาชีพด้านการปฏิบัติงานของครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปัตตานีเขต. วิทยานิพนธ์บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา.

ชัชฎา เมธีทรงกิจ. (2558). การศึกษาภาวะผู้นำตามสถานการณ์ของผู้ประกอบการวิสาหกิจชุมชนอำเภอเชียงคาน จังหวัดเลย. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย.

ชัยณรงค์ สร้างช้าง. (2561). โปรแกรมการพัฒนาภาวะผู้นำของผู้บริหารโรงเรียนบนพื้นที่สูง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 3. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย.

ชูศรี วงศ์รัตนะ. (2553). เทคนิคการใช้สถิติเพื่อการวิจัย. กรุงเทพฯ: เทพเนรมิตการพิมพ์.

โชติกา พรหมเทศ. (2557). การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำตามสถานการณ์กับประสิทธิผลสถานศึกษาและแนวทางส่งเสริมภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิษณุโลก เขต 2. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม.

บุญชม ศรีสะอาด. (2554). หลักการวิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 9). กรุงเทพฯ: สุวิริยาสาส์น.

พัทธกานต์ อู่ทองมาก และอดุลย์ วังศรีคูณ. (2559). การศึกษาภาวะผู้นำตามสถานการณ์ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิษณุโลก เขต 3. การประชุมวิชาการระดับชาติ มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร ครั้งที่ 3 วันที่ 22 ธันวาคม 2559 (328 - 336). กำแพงเพชร: มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร.

ลัดดาวัลย์ เพชรโรจน์ และคณะ (2547). สถิติสำหรับการวิจัยและเทคนิคการใช้ SPSS (Statistics For Research and SPSS Application Techniques). (ฉบับปรับปรุง ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: เจริญดีมั่นคงการพิมพ์.

วรรณพร ตรีชัยศรี. (2561). ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำตามสถานการณ์ของผู้บริหารสถานศึกษากับการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ของสถานศึกษาสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระบุรี เขต 2. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

วิษณุกร แตงแก้ว. (2563) ภาวะผู้นำตามสถานการณ์ที่ส่งผลต่อประสิทธิผลในการบริหารงานบุคคลของโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 3. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี.

ศิริรัตน์ มกรพฤกษ์. (2559). การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษากับการบริหารงานบุคคลของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 1. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา.

สงกรานต์ ตะโคดม. (2563). ประสิทธิผลการบริหารงานบุคคลในสถานศึกษา สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจังหวัดสกลนคร. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

สถาบันมูลนิธิคีนันแห่งเอเชีย. (2563). ผลกระทบจากโควิด 19 ด้านการศึกษา. สืบค้น 20 ตุลาคม 2565 จาก https://www.kenan-asia.org/th/covid-19-education-impact.

สมคะเน โตวัฒนา. (2557). พฤติกรรมของผู้บริหารสถานศึกษาตามมาตรฐานวิชาชีพสังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานีเขต 2. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ในพระบรมราชูปถัมภ์.

สุภาพร พิศาลบุตร. (2553). การสรรหาและบรรจุพนักงาน. กรุงเทพฯ: ศูนย์เอกสารและตำรา สถาบันราชภัฏสวนดุสิต.

สุวิมล มธุรส. (2564). การจัดการศึกษาในระบบออนไลน์ในยุค NEW NORMAL COVID-19. วารสารรัชต์ภาคย์, 15(40), 33-42.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2550). แนวทางการกระจายอำนาจกรบริหารและการจัดการการศึกษา. กรุงเทพมหานคร: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จํากัด. สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน สำนักงานวิชาการและพัฒนาคุณภาพการศึกษา.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2553). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2553. กรุงเทพฯ: สำนักนายกรัฐมนตรี.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2565). แผนพัฒนาการศึกษาขั้นพื้นฐาน (พ.ศ. 2566 - 2570) ของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรงศึกษาธิการ.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรี เขต 1. (2565). แผนพัฒนาการศึกษาขั้นพื้นฐาน (พ.ศ. 2566 - 2570). กาญจนบุรี: สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาการจนบุรี เขต 1.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2559). คู่มือการบริหารงานบุคคล สำหรับข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาของ กศจ. กรุงเทพฯ: กระทรวงศึกษาธิการ.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถามศึกษากาญจนบุรีเขต 1. (2565). ข้อมูลผู้บริหารสถานศึกษาจำนวนบุคลากรภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565 (ข้อมูล ณ วันที่ 10 พฤศจิกายน 2565).

เอวิกา ปราบพาลทัพพ์. (2565). การบริหารงานด้านบุคคลโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 4. วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร. 2(1), 41-54.

Best, John W. (1970). Research in Education. New Jersey: Prentice-Hill.

Cronbach, L. J. (1951). Coefficient alpha and the internal structure of tests. Psychometrika, 16, 297-334.

Fiedler, E. F. (1967). A Theory of Leadership Effectiveness. New York: McGraw-Hill.

Hersey and Blanchard. (1993). Management of Organization behavior: Utilizing Human Resources. Englewood Cliffs, New Jersey: Prentice-Hall.

House, R. J. and Mitchell, T. R. (1974). Path-Goal Theory of Leadership. Journal of Contemporary Business, 81-97.

Krejcie, R. V. and Morgan, D. W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Education and Psychological Measurement, 30 (3), 607-610.

Likert, R. (1967). New Pattern of Management. New York: McGraw - Hill.

Reddin, J. W. (1970). Managerial Effectiveness. New York: McGraw-Hill.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-03-23

How to Cite

หิรัญนิธิธำรง ฐ. ., พุทธา ส. ., & เชี่ย ห. . (2024). ภาวะผู้นำตามสถานการณ์ที่ส่งผลต่อการบริหารงานบุคลากรของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรี เขต 1 . วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร, 4(1), 191–204. สืบค้น จาก https://so08.tci-thaijo.org/index.php/JMSSNRU/article/view/2052