อิทธิพลของการออกแบบการเรียนรู้ที่มีต่อประสิทธิผลในการเรียนรู้ออนไลน์ผ่านระบบเปิดขนาดใหญ่ (MOOCs) ของบุคลากรในมหาวิทยาลัยวิจัยแห่งชาติของไทย

ผู้แต่ง

  • สุปัญญดา สุนทรนนธ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

คำสำคัญ:

การออกแบบการเรียนรู้, การเรียนรู้ออนไลน์ผ่านระบบเปิดขนาดใหญ่, บุคลากรในมหาวิทยาลัยวิจัยแห่งชาติ, ประสิทธิผลในการเรียนรู้

บทคัดย่อ

    บทความวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์สำคัญเพื่อศึกษา 1) ระดับการรับรู้ต่อปัจจัยด้านการออกแบบการเรียนรู้ผ่านการเรียนรู้ผ่านระบบ MOOCs ของมหาวิทยาลัยวิจัยแห่งชาติของไทย 2) ระดับประสิทธิผลในการเรียนรู้ผ่านการเรียนรู้ผ่านระบบ MOOCs ของบุคลากร และ 3) อิทธิพลของปัจจัยด้านการออกแบบการเรียนรู้ที่มีต่อประสิทธิผลในการเรียนรู้ผ่านการเรียนรู้ออนไลน์ระบบ MOOCs ของบุคลากร ประชากรในการศึกษาครั้งนี้ ได้แก่ บุคลากรที่ทำงานประจำแบบเต็มเวลาของมหาวิทยาลัยวิจัยแห่งชาติของไทยจำนวน 9 แห่ง สำหรับกลุ่มตัวอย่างงานวิจัยกำหนดได้ที่ 400 ตัวอย่าง และสามารถเก็บข้อมูลได้จำนวน 355 ตัวอย่าง คิดเป็นร้อยละ 88.75 ของกลุ่มตัวอย่างที่กำหนดไว้ ผลการศึกษาพบว่า 1) ระดับการรับรู้ถึงปัจจัยการออกแบบการเรียนรู้ทั้ง 6 ด้านผ่านการเรียนรู้ระบบ MOOCs ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่ามีปัจจัย 2 ด้านอยู่ในระดับมากที่สุด ได้แก่ ด้านการประยุกต์ใช้ทฤษฎีการเรียนรู้ และด้านระบบเทคโนโลยี  2) ระดับประสิทธิผลในการเรียนรู้ผ่านระบบ MOOCs จากการรับรู้ของบุคลากรในภาพรวมอยู่ในระดับมาก 3) ปัจจัยด้านการออกแบบการเรียนรู้ (ทั้ง 6 ตัวแปรย่อย) ได้แก่ การสร้างสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ การประยุกต์ใช้ทฤษฎีการเรียนรู้ การกำกับการเรียนรู้ตนเอง การออกแบบการนำเสนอเนื้อหา ระบบจัดการการเรียนรู้ ระบบเทคโนโลยี มีอิทธิพลในทางบวกต่อประสิทธิผลในการเรียนรู้ผ่านระบบMOOCs อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ และพบว่า ปัจจัยย่อยด้านการกำกับเรียนรู้ตนเองมีอิทธิพลทางบวกต่อระดับประสิทธิผลในการเรียนรู้ผ่านระบบ MOOCs มากที่สุด

References

กัลยา วานิชย์บัญชา. (2559). สถิติสำหรับงานวิจัย. (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

โครงการพัฒนามหาวิทยาลัยวิจัยแห่งชาติ กระทรวงศึกษาธิการ. (2555). มหาวิทยาลัยวิจัยแห่งชาติ: แนวทางเพื่อส่งเสริมงานวิจัยแห่งอุดมศึกษา. สืบค้น 5 สิงหาคม 2566 จาก https://www.gotoknow.org/posts/293212

ชนินทร์ ตั้งพานทอง. (2560). ปัจจัยที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนออนไลน์เพื่อเสริมการเรียนการสอน. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

เบญญศิกานต์ กาญจนาธนเสฏฐ์. (2563). การออกแบบการเรียนรู้ที่ส่งผลต่อประสิทธิผลในการเรียนรู้ผ่านการเรียนรู้ออนไลน์ ระบบเปิด (MOOCs) ของคนเจนเนอเรชั่นวาย (Generation Y) ในเขตกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์การจัดการมหาบัณฑิต สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

ปราวีณยา สุวรรณณัฐโชติ. (2563). การออกแบบการเรียนการสอน (re) Design ในยุค New Normal . เอกสารประกอบการเสวนาทางวิชาการ เรื่อง การออกแบบการเรียนการสอนและการประเมินการศึกษาทางไกล (Re) Design ในยุค New Normal. สำนักเทคโนโลยีการศึกษา มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมธิราช. นนทบุรี.

สุจิตรา บุณยรัตพันธ์. (2551). ระเบียบวิธีวิจัยสำหรับรัฐประศาสนศาสตร์. (พิมพ์ครั้งที่ 15). กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์เสมาธรรม.

สุปัญญดา สุนทรนนธ์. (2558). ปัจจัยภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ และความพร้อมสำหรับการเปลี่ยนแปลงที่มีอิทธิพลต่อผลการปฏิบัติงานของบุคลากรในมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ. วารสารปัญญาภิวัฒน์. 7(2), 28-42.

Alqaray, M. and Almazyad, R. (2020). Challenges of Using Massive Open Online Courses (MOOCs) in the Workplace (Literature Review). Paper presented at the Education Media + Innovate Learning 2020, Online, The Netherlands. Retrieved September 1, 2022 from https://www.learntechlib.org/p/217401.

Baldwin, T. T. and Ford, J. K. (1988). Transfer of training: A review and directions for future research. Personnel Psychology, 41(1), 63-105.

Cologne, D. S. and Shah, M. A. (2016). MOOCs, Graduate Skills Gaps, and Employability: A Qualitative Systematic Review of the Literature. The International Review of Research in Open and Distributed Learning, 17(5). Retrieved September 1, 2022 from https://wwwirrodl.v17i5.2675.

Milligan, C., & Littlejohn, A. (2017). Why study on a MOOC? The motives of students and professionals. The International Review of Research in Open Learning, 18(2) pp: 237-252.

Noe, R. (2016). The phenomenal MOOC. In Emergence and Innovation in Digital Learning: Foundations and Applications. Canada: AU Press, Athabasca University.

Smith, P. L. and Ragan, T. J. (2014). Instructional Design. (5th Edition). New York: John Wiley & Sons.

Wong, J. (2017). Enhancing Self-Regulated Learning in Massive Open Online Courses. Retrieved August 21, 2022 from www.educationandlearning.nl/projects/enhancing-selfregulated-learning-in-massive-open-online-course.

Yamane T. (1973). Statistics: An Introductory Statistics, (2nd edition). New York: Harper & Row

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-03-23