ทักษะของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 ศูนย์การศึกษานอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัยกลุ่มอำเภอท่ายางห้วยหนอง จังหวัดกาฬสินธุ์

ผู้แต่ง

  • ดาบชัย รังคะราช สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชธานี วิทยาเขตอุดรธานี
  • กิจพิณิฐ อุสาโห สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชธานี วิทยาเขตอุดรธานี

คำสำคัญ:

ทักษะ, ผู้บริหารสถานศึกษา, ศตวรรษที่ 21, ทักษะผู้บริหาร

บทคัดย่อ

การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับและแนวทางพัฒนาทักษะของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 ศูนย์การศึกษานอกระบบบและการศึกษาตามอัธยาศัยกลุ่ม อำเภอท่ายางห้วยหนอง จังหวัดกาฬสินธุ์ประชากรที่ศึกษา คือ โรงเรียน จำนวน 4 แห่ง กลุ่มตัวย่างจำนวน 93 คน ได้มาด้วยเลือกเฉพาะเจาะจงตามคุณสมบัติของครู เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ มีค่าความเที่ยงตรง ระหว่าง .67-1.00 ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .89 เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้โปรแกรม google form ได้รับตอบกลับคิดเป็นร้อยละ 100 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) ระดับทักษะของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 ภาพรวมอยู่ในระดับมาก มีการกระจายตัวน้อย ด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ ทักษะด้านการสร้างสรรค์ผลิตนวัตกรรม รองลงมาคือ ทักษะด้านมนุษยสัมพันธ์ ทักษะด้านคุณธรรม จริยธรรมและจรรยาบรรณ และด้านที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ ทักษะด้านเทคนิค 2) แนวทางพัฒนาทักษะของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 ได้แก่ ผู้บริหารควรสื่อสารให้ชัดเจนและเหมาะสมกับสถานการณ์ เพิ่มช่องทางในการสื่อสารให้สอดคล้องกับบริบทและสถานการณ์ปัจจุบัน ควรพัฒนาและใช้เทคโนโลยีดิจิทัลอย่าสม่ำเสมอในการประชาสัมพันธ์ภายในสถานศึกษาและชุมชนด้วยวิธีการที่หลากหลาย ควรพัฒนาและมีการจัดระเบียบวิธีการทำงานให้คำแนะนำในการปฏิบัติงาน ควรมีความมุ่งมั่นและทุ่มเทอย่างจริงจัง เพื่อให้งานบรรลุผลสำเร็จตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ และควรศึกษาหาความรู้ เรียนรู้ เทคนิควิธีการปฏิบัติงานใหม่ ๆ อยู่ตลอดเวลาผู้บริหารวิเคราะห์จุดเด่น จุดด้อย จุดแข็ง ปัญหาและอุปสรรค เพื่อเตรียมความพร้อมสู่การเป็นองค์กรในอนาคตเปิดโอกาสให้ผู้ใต้บังคับบัญชาได้นําเสนอแนวทางการดำเนินงานใหม่ ผลงานใหม่ โดยไม่ตำหนิเมื่อเกิดข้อผิดพลาด

References

ไกรศร เจียมทอง. (2561). ทักษะของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา มัธยมศึกษา เขต 32 . วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต (ศษ.ม.) สาขาวิชาการบริหารจัดการการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

คณะกรรมการคุ้มครองการศึกษา. (2563). หลักสูตรพัฒนาผู้บริหารสถานศึกษาคุณธรรม. กรุงเทพฯ: สำนักงาน คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.

ชัยยนต์ เพาพาน. (2559). ผู้บริหารโรงเรียนยุคใหม่ในศตวรรษที่ 21. วารสารคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัย กาฬสินธุ์, 1(1), 304-306.

ดำเนิน เพียรค้า. (2561). แนวทางการพัฒนาทักษะการบริหารของผู้บริหารสถานศึกษาในตวรรษที่ 21 สังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปราจีนบุรี เขต 1. รายงานการศึกษาส่วนบุคคลหลักสูตร.

ณัฐพงษ์ ปรีชานนทกุล. (2563). ทักษะของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 ที่ส่งผลต่อการบริหารงานวิชาการ สถานศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษาจังหวัดระยอง จันทบุรี และตราด. วิทยานิพนธ์ ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎรำไพพรรณี.

บุญชม ศรีสะอาด. (2554). หลักการวิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 9). กรุงเทพฯ: สุวิริยาสาส์น.

บุญส่ง กรุงชาลี. (2561). ทักษะการบริหารในศตวรรษที่ 21 ของผู้บริหารสถานศึกษาขึ้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์ เขต 3. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์.

พรพิมล แก้วอุทัศน์. (2563). ทักษะการบริหารในศตวรรษที่21 ของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่ การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์เขต 3 ตามทัศนะของครู. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎนครราชสีมา.

พัฒนานักบริหารระดับสูง กระทรวงศึกษาธิการ (นบส.ศธ.) รุ่นที่ 8 สถาบันพัฒนาครู คณาจารย์ และบุคลากร ทางการศึกษา.

แพรดาว สนองผัน. (2557). ทักษะของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษาอุดรธานี เขต 3. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น.

มณฑาทิพย์ นามนุ. (2561). ทักษะผู้บริหารในศตวรรษที่ 21 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การประถมศึกษาปทุมธานี เขต 2. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร. (2561). ทักษะความเป็นผู้นำเชิงมนุษยสัมพันธ์. https://rdi.snru.ac.th/topics/16854.

วัฒนากร ต่อซอน. (2561). คุณลักษณะผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษานครพนม เขต 2. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

วิจารณ์ พานิช. (2555). วิถีสร้างการเรียนร้เพื่อศิษย์ในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ: มูลนิธิสดศรีสฤษดิ์วงศ์.

ศรสวรรค์ บุญณกรณ์ชัย. (2561). ภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 โรงเรียนทวีธาภิเศก สังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 1. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการ บริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกริก.

สถาบันการพัฒนาการบริหารการศึกษา. (2560). หลักสูตรพัฒนาผู้บริหารสถานศึกษา หลักสูตรผู้บริหารสถานศึกษาที่มีวิสัยทัศน์เชิงนวัตกรรม (พัฒนาผู้บริหาร สพฐ. รุ่นที่ 2). กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.

สมหมาย อ่ำดอนกลอย. (2556). บทบาทผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฎพิบูลสงคราม, 7(1), 1-7.

สัตตบุษย์ โพธิรุท. (2564). ทักษะการบริหารของผู้บริหารโรงเรียนในศตวรรษที่ 21 ที่ส่งผลต่อประสิทธิผลโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 21. ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหาร การศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2562). ทักษะการสื่อสารสำหรับนักบริหารการศึกษา. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2561). หลักสูตรพัฒนาผู้บริหารสถานศึกษา หลักสูตรประกาศนียบัตร บริหารการศึกษา (พ.บ.) รุ่นที่ 22. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.

สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดกาฬสินธุ์. (2566). แผนพัฒนาการศึกษา พ.ศ. 2566-2570. อัดสาเนา.

สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล. (2564). ทักษะดิจิทัลสำหรับผู้บริหารสถานศึกษา. https://www.depa.or.th/.

Krejcie, R. V. and Morgan, D. W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities, Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607-610.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-06-11