ธรรมาภิบาลและแรงจูงใจในการปฏิบัติงานที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการปฏิบัติงานของบุคลากรกรมการปกครองจังหวัดสกลนคร
คำสำคัญ:
ธรรมาภิบาล, ประสิทธิผล, แรงจูงใจในการปฏิบัติงานบทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับธรรมาภิบาล ระดับแรงจูงใจในการปฏิบัติงาน และประสิทธิผลการปฏิบัติงานของบุคลากร กรมการปกครอง จังหวัดสกลนคร 2) เพื่อศึกษาปัจจัยด้านธรรมาภิบาลและแรงจูงใจในการปฏิบัติงานที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการปฏิบัติงานของบุคลากร กรมการปกครอง จังหวัดสกลนคร กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ บุคลากรของกรมการปกครอง จังหวัดสกลนคร จำนวน 181 คน โดยการหาขนาดของกลุ่มตัวอย่างใช้วิธีการคำนวณจากตารางสำเร็จรูปของเครจซี่และมอร์แกน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถาม และสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ ผลการวิจัย พบว่า 1. ธรรมาภิบาลในการปฏิบัติงานของบุคลากรกรมการปกครอง จังหวัดสกลนคร โดยรวมอยู่ในระดับมาก ปัจจัยแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของบุคลากร กรมการปกครอง จังหวัด
สกลนคร โดยรวมอยู่ในระดับมาก ปัจจัยค้ำจุนในการปฏิบัติงานของบุคลากร กรมการปกครอง จังหวัดสกลนคร โดยรวมอยู่ในระดับมาก และประสิทธิผลการปฏิบัติงานของบุคลากร กรมการปกครอง จังหวัดสกลนคร โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด 2. ธรรมาภิบาลในการปฏิบัติงานมีอิทธิพลต่อประสิทธิผลการปฏิบัติงานของบุคลากร กรมการปกครอง จังหวัดสกลนคร อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยผลหลักความรับผิดชอบมีอิทธิพลสูงที่สุด) รองลงมา คือ หลักคุณธรรม และหลักความโปร่งใส ตามลำดับ มีค่าสัมประสิทธิ์พยากรณ์ = .519 3. แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของบุคลากรมีอิทธิพลต่อประสิทธิผลการปฏิบัติงานของบุคลากร กรมการปกครอง จังหวัดสกลนคร อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยผลด้านความรับผิดชอบในงาน มีอิทธิพลสูงที่สุด รองลงมา คือ ด้านการได้รับการยอมรับนับถือ และด้านลักษณะของงานที่ปฏิบัติ ตามลำดับ มีค่าสัมประสิทธิ์พยากรณ์ = .394 4. ปัจจัยค้ำจุนในการปฏิบัติงานมีอิทธิพลต่อประสิทธิผลการปฏิบัติงานของบุคลากร กรมการปกครอง จังหวัดสกลนคร มีอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยผลปัจจัยค้ำจุนในการปฏิบัติงาน ค่าตอบแทนและสวัสดิการ มีอิทธิพลสูงที่สุดรองลงมา คือ สภาพการทำงาน และความสัมพันธ์กับหัวหน้างาน ตามลำดับ มีค่าสัมประสิทธิ์พยากรณ์ = .542
References
กาญจนา ศิริรัตน์. (2557). แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของบุคลากร สังกัดที่ทำการปกครองจังหวัดจันทบุรี. งานนิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยบูรพา.
กิตติ์รวี เลขะกุล และคณะ. (2561). ธรรมาภิบาล วัฒนธรรมองค์การที่ส่งผลต่อประสิทธิผลองค์การของเทศบาล ในเขตภาคใต้ของประเทศไทย. วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการภาครัฐ และเอกชน มหาวิทยาลัยหาดใหญ่.
กรมการปกครอง จังหวัดสกลนคร. (2564). ข้อมูลอัตรากำลังของกรมปกครองจังหวัดสกลนคร. ที่ทำการปกครองจังหวัดสกลนคร ศาลากลางจังหวัดสกลนคร ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร.
เกศรินทร์ วิเศษสิงห์. (2564). แรงจูงใจกับประสิทธิผลในการปฏิบัติงานของข้าราชการกรมการปกครอง จังหวัดกาญจนบุรี. วารสารโครงการทวิปริญญาทางรัฐประศาสนศาสตร์และบริหารธุรกิจ, 19(ฉบับพิเศษ). มหาวิทยาลัยรามคำแหง. คำสั่งกรมการปกครอง ที่ 1275/2559 เรื่อง การจัดโครงสร้างส่วนราชการและการแบ่งงานภายในกรมการปกครอง. ลงวันที่ 13 ธันวาคม 2559.
จิดาภา ป้อมป้อง. (2552). ความก้าวหน้าในอาชีพของข้าราชการสังกัดกระทรวงมหาดไทย จังหวัดเชียงใหม่.
เฉลิมพล ทองเหลา. (2562). ธรรมาภิบาลและคุณภาพการให้บริการงานทะเบียนราษฎรของที่ว่าการอำเภอชานุมาน จังหวัดอำนาจเจริญ. วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.
บุษบา เชิดชู. (2556). แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของข้าราชการองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตอำเภอขลุงจังหวัดจันทบุรี. งานนิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยบูรพา.
มานะ ศรีวิชัย. (2563). ปัจจัยแรงจูงใจที่มีผลต่อประสิทธิภาพการทำงานของเจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติในจังหวัดสกลนคร. วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.
สิรภพ เจริญยิ่ง. (2561). แรงจูงใจกับประสิทธิผลการปฏิบัติงานของพนักงานราชการโรงงานผลิตเครื่องแต่งกายทหาร กรมพลาธิการทหารบก. วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเกริก. 136
McGregor, J. P. (1960). The Human Side of Enterprise. New York: McGraw-Hill. Peterson, E & Plowman, E.G. (1989). Business Organization and Management. Homewood, Illinois: Richard D. Irwin.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-ShareAlike 4.0 International License.
บทความที่ตีพิมพ์ในวารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร เป็นทัศนะ ลิขสิทธิ์ และความรับผิดชอบของผู้เขียนเจ้าของผลงาน