บทบาทของผู้นำชุมชนและการมีส่วนร่วมของประชาชนที่ส่งผลต่อสัมฤทธิ์ผล ตามมาตรการการป้องกันปัญหายาเสพติดในพื้นที่อำเภอบ้านม่วง จังหวัดสกลนคร

ผู้แต่ง

  • วันชนะ ดวงจันทร์ทิพย์ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฎสกลนคร
  • ชาติชัย อุดมกิจมงคล คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฎสกลนคร
  • สามารถ อัยกร คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฎสกลนคร

คำสำคัญ:

การมีส่วนร่วมของประชาชน, การป้องกันปัญหายาเสพติด, มาตรการ, บทบาท, ผู้นำชุมชน, สัมฤทธิ์ผล

บทคัดย่อ

   บทความวิจัยนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษาระดับบทบาทของผู้นำชุมชน การมีส่วนร่วมของประชาชน และสัมฤทธิ์ผลตามมาตรการการป้องกันปัญหายาเสพติดในพื้นที่อำเภอบ้านม่วง จังหวัดสกลนคร 2) ศึกษาอิทธิพลของบทบาทของผู้นำชุมชนและการมีส่วนร่วมของประชาชนที่ส่งผลต่อสัมฤทธิ์ผลตามมาตรการการป้องกันปัญหายาเสพติดในพื้นที่อำเภอบ้านม่วง จังหวัดสกลนคร กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ประชาชนที่มีภูมิลำเนาอยู่ในเขตอำเภอบ้านม่วง จังหวัดสกลนคร จำนวน 398 คน ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิ เครื่องมือในการวิจัย คือ แบบสอบถาม และสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ ผู้วิจัยพบว่า1) บทบาทของผู้นำชุมชนในการดำเนินงานตามนโยบายด้านการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก การมีส่วนร่วมของประชาชนในการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด โดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง และสัมฤทธิ์ผลตามมาตรการการป้องกันปัญหายาเสพติด โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก 2) บทบาทของผู้นำชุมชน ด้านการป้องกันยาเสพติด ด้านการบริหารจัดการอย่างบูรณาการ และด้านการบำบัดรักษายาเสพติด มีอิทธิพลต่อสัมฤทธิ์ผลตามมาตรการการป้องกันปัญหายาเสพติด อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และสามารถร่วมกันทำนายระดับสัมฤทธิ์ผลตามมาตรการการป้องกันปัญหายาเสพติดได้ร้อยละ 44.80 ยกเว้นด้านการปราบปรามและบังคับใช้กฎหมาย นอกจากนี้ การมีส่วนร่วมในการรับผลประโยชน์ และการมีส่วนร่วมในการดำเนินการมีอิทธิพลต่อสัมฤทธิ์ผลตามมาตรการการป้องกันปัญหายาเสพติด อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และสามารถร่วมกันทำนายระดับสัมฤทธิ์ผลตามมาตรการการป้องกันปัญหายาเสพติดได้ร้อยละ 38.50 ยกเว้นการมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ และการมีส่วนร่วมในการประเมินผล

References

กษมา วรรณโร. (2561). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการดำเนินงานป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดของหมู่บ้านกองทุนแม่ของแผ่นดิน บ้านคลองทราย อำเภอแม่ลาน จังหวัดปัตตานี. สารนิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

กัมพล เพ็ชรล้อมทอง และธนัสถา โรจนตระกูล. (2564). การมีส่วนร่วมของเครือข่ายภาคประชาชนในการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด: กรณีศึกษาตำบลลำประดา อำเภอบางมูลนาก จังหวัดพิจิตร (รายงานการวิจัย). มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม.

กิตติพงษ์ แพงพา. (2563). ภาวะผู้นำของข้าราชการตำรวจที่ส่งผลต่อการมีส่วนร่วมของประชาชนในการดำเนินงานป้องกันและปราบปรามยาเสพติดของสถานีตำรวจภูธรเจริญศิลป์ จังหวัดสกลนคร. วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

กิตติยา รินเพ็ง. (2561). บทบาทหน้าที่ของผู้นำชุมชนในการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดภายในหมู่บ้าน/ชุมชนอำเภอสร้างคอม จังหวัดอุดรธานี. วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.

จิรเดช กมลเพ็ชร. (2561). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการแก้ไขปัญหายาเสพติดของหมู่บ้านตามแนวชายแดนในจังหวัดเชียงใหม่และจังหวัดเชียงราย (ศึกษาเฉพาะพื้นที่ชายแดนประเทศไทย-เมียนมา) (รายงานการวิจัย). หลักสูตรการป้องกันราชอาณาจักร รุ่นที่ 60. กรุงเทพฯ: วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร.

ชนภรณ์ สังสนา. (2559). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในบ้านคลองม่วงเหนือ หมู่ที่3 ตำบลลาพญากลาง อำเภอมวกเหล็ก จังหวัดสระบุรี. สารนิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิตมหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิต.

ซูไมยะห์ ลาเต๊ะ. (2563). การจัดการปัญหายาเสพติดในชุมชนบาราเฮาะ ตำบลบาราเฮาะ อำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี. รายงานการวิจัยศิลปศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์วิทยาเขตปัตตานี.

ถวิลวดี บุรีกุล. (2551). คู่มือการมีส่วนร่วมของประชาชน. นนทบุรี: สถาบันพระปกเกล้า.

บรรณารักษ์ ฟั่นสิม. (2564). การมีส่วนร่วมของเยาวชนในการแก้ไขปัญหายาเสพติดขององค์การบริหารส่วนตำบลเชียงพิณอำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี (รายงานการวิจัย). หนองบัวลำภู: วิทยาลัยพิชญบัณฑิต.

บุญชม ศรีสะอาด. (2553). การวิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 8). กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

บุรฉัตร จันทร์แดง. (2560). บทวิเคราะห์สถานการณ์ปัญหายาเสพติดในปัจจุบัน. วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

พงษ์ศักดิ์ มุกดาม่วง. (2563). บทบาทกำนันผู้ใหญ่บ้านที่มีต่อประสิทธิผลตามนโยบายด้านการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในพื้นที่อำเภอธาตุพนม จังหวัดนครพนม. วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิตมหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

พัฒน์ธนธร ตันติเวชยานนท์. (2558). ประสิทธิผลการนำนโยบายการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดไปปฏิบัติในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน. วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตร์ดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ในพระบรมราชูปถัมภ์.

พีรพัฒน์ แสนสุข. (2561). บทบาทผู้นำชุมชนในการแก้ไขป้องกันปัญหายาเสพติดในเขตตำบลบึงสามพัน อำเภอบึงสามพัน จังหวัดเพชรบูรณ์. การศึกษาอิสระรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-03-23