การแก้ไขปัญหานักศึกษาลาออกจากสาขาวิชานิติศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร
คำสำคัญ:
การแก้ไขปัญหา, การลาออกกลางคัน, นักศึกษาลาออก, สาขาวิชานิติศาสตร์บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาปัญหาการลาออกของนักศึกษาสาขาวิชานิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร 2) เสนอแนะแนวทางการแก้ไขปัญหาการคงอยู่ของนักศึกษาสาขาวิชานิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร โดยใช้วิธีวิทยาการวิจัยเชิงคุณภาพ ประกอบด้วยการวิจัยเอกสาร การสัมภาษณ์เชิงลึก และการจัดเวทีเสวนากับนักศึกษาและอาจารย์ สาขาวิชานิติศาสตร์ รวมถึงเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง วิเคราะห์ข้อมูลโดยการบรรยายพรรณนาจากข้อมูลเชิงสถิติ ประกอบกับข้อมูลจากการสัมภาษณ์และสนทนากลุ่ม ข้อค้นพบของการวิจัย คือ อัตราค่าเฉลี่ยของนักศึกษาที่ลาออกระหว่างเรียนอยู่ที่ ร้อยละ 25.54 สาเหตุหลักคือ นักศึกษาต้องการทำงาน ส่วนสาเหตุประการรองลงมา คือ นักศึกษาย้ายสาขาไปเรียนสาขาอื่น ซึ่งจากการสัมภาษณ์ พบว่า สาเหตุคือนักศึกษาเรียนกฎหมายไม่ไหวมีความยากกว่าเรียนสาขาวิชาอื่น ซึ่งการเรียนสาขาวิชานิติศาสตร์มีองค์กรวิชาชีพได้แก่ เนติบัณฑิตยสภา และสภาทนายความกำกับหลักสูตรอยู่ตามกฎหมายจึงไม่สามารถเปลี่ยนรูปแบบหลักสูตรโดยเฉพาะการสอบข้อเขียนตามหลักกฎหมาย การวิจัยเสนอแนะแนวเสนอทางสาขาวิชานิติศาสตร์จัดกิจกรรมเพิ่มเติมให้กับนักศึกษา ได้แก่ 1) กิจกรรมฝึกเขียนตอบปัญหากฎหมายอย่างต่อเนื่อง 2) กิจกรรมติวข้อกฎหมายเพิ่มเติม 3) กิจกรรมการลงพื้นที่จริงและปรับใช้กับข้อกฎหมายจากกรณีจริงที่เกิดขึ้นในพื้นที่ นำไปสู่การทำงานวิจัยถัดไป เรื่องการปรับแนวทางการเรียนการสอนทางด้านนิติศาสตร์โดยการลงพื้นที่กรณีศึกษาเพื่อลดปัญหาการลาออก
References
กฤติยา แก้วมณี และเฟื่องอรุณ ปรีดีดิลก. (2562). แนวทางการจัดการกระบวนการเรียนรู้เพื่อแก้ปัญหาความเครียดด้านการเรียนของนักเรียนมัธยมศึกษาในกรุงเทพมหานคร, วารสารอิเล็กทรอนิกส์ทางการศึกษา, 15(1), 1-12.
จิรายุทธิ์ อ่อนศร. (2561). การพัฒนาแนวคิดทฤษฎีการเรียนรู้สู่การปฏิบัติในศตวรรษที่-21. สืบค้น 25 เมษายน พ.ศ.2565 จาก http://www.nwm.ac.th/nwm/wp-content/uploads.
จุมพล หนิมพานิช. (2561). การวิเคราะห์ข้อมูลสำหรับการวิจัยเชิงคุณภาพ. สืบค้น 10 กันยายน 2565 จาก https://www.stou.ac.th/Schoolnew/polsci/UploadedFile/%E0%B8%99.%207%20.pdf.
ฐานิตา ลอยวิรัตน์ กุศล แก้วหนู และเกศริน คงจันทร์. (2558). การศึกษาสาเหตุและปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อการพ้นสภาพการเป็นนักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์. สืบค้น 25 เมษายน พ.ศ. 2565 จาก http://kb.psu.ac.th/psukb/bitstream/2016/10653/1/414326.Pdf.
ฐาปาณีย์ นิเดร์อะ. (2554). แรงจูงใจในการศึกษาต่อระดับมหาบัณฑิต คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.
ธัญญ์พิชชา ท้วมทับ. (2563). แนวทางการป้องกันการออกกลางคันของนักศึกษากลุ่มเสี่ยง กรณีศึกษา: วิทยาลัยเทคนิคอุตรดิตถ์. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 7(6), 60-76.
พีชญาดา พื้นผา. (2563). ปัจจัยการออกกลางคันของนักศึกษาคณะบริหารธุรกิจ. วารสารการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 14(2), 144-60.
สุภาพร อัศววิโรจน์. (2550). สาเหตุการออกกลางคันและไม่สำเร็จการศึกษาตามระยะเวลาที่หลักสูตรกำหนด คณะเทคโนโลยีและการจัดการอุตสาหกรรม. สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
สมพร ฉั่วสกุล และคณะ. (2554). การศึกษาปัจจัยสาเหตุและแนวทางแก้ไขปัญหาการออกกลางคันของนักเรียน นักศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา เขตตรวจราชการที่ 7 ปีการศึกษา 2553 (รายงานการวิจัย). กรุงเทพฯ: กระทรวงศึกษาธิการ.
สุนีย์ มัลลิกะมาลย์. (2560). วิธีวิจัยทางนิติศาสตร์และสังคมศาสตร์: สำนักพิมพ์อาร์ทิพาเนีย.
Lazarus, R. s. (1999). Stress and emotional: a new synthesis. Springer Publishing Company.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-ShareAlike 4.0 International License.
บทความที่ตีพิมพ์ในวารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร เป็นทัศนะ ลิขสิทธิ์ และความรับผิดชอบของผู้เขียนเจ้าของผลงาน