ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลในการปฏิบัติงานป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดของกำนันผู้ใหญ่บ้านในพื้นที่อำเภอกุสุมาลย์ จังหวัดสกลนคร
คำสำคัญ:
ภาวะผู้นำ, การมีส่วนร่วมของประชาชน, ปัญหายาเสพติด, กำนันผู้ใหญ่บ้านบทคัดย่อ
ในการดำเนินการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดของทุกส่วนราชการ รวมทั้งของกำนันผู้ใหญ่บ้านจำเป็นต้องอาศัยการมีส่วนร่วมของประชาชนเพราะมาตรการสำคัญในการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด โดยการวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายของการวิจัยเพื่อศึกษา 1) ระดับภาวะผู้นำของกำนันผู้ใหญ่บ้าน การมีส่วนร่วมของประชาชน และประสิทธิผลในการปฏิบัติงานป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดของกำนันผู้ใหญ่บ้านในพื้นที่อำเภอกุสุมาลย์ 2) อิทธิพลของปัจจัยด้านภาวะผู้นำของกำนันผู้ใหญ่บ้านและปัจจัยด้านการมีส่วนร่วมของประชาชน ที่ส่งผลต่อประสิทธิผลในการปฏิบัติงานป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดของกำนันผู้ใหญ่บ้านในพื้นที่อำเภอกุสุมาลย์ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ประชาชนที่มีภูมิลำเนาอยู่ในเขตอำเภอกุสุมาลย์ จำนวน 397 คน ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิ เครื่องมือในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม และสถิติในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ ผลการวิจัยพบว่า 1) ภาวะผู้นำของกำนันผู้ใหญ่บ้านในพื้นที่อำเภอกุสุมาลย์ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ประชาชนในพื้นที่อำเภอกุสุมาลย์มีส่วนร่วมในการปฏิบัติงานป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด โดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง ประสิทธิผลในการปฏิบัติงานป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดของกำนันผู้ใหญ่บ้านในพื้นที่อำเภอกุสุมาลย์ จังหวัดสกลนคร โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก 2) ภาวะผู้นำของกำนันผู้ใหญ่บ้าน ด้านความรู้และประสบการณ์ (β=.714) และด้านมนุษยสัมพันธ์และบุคลิกภาพ (β=.195) มีอิทธิพลต่อประสิทธิผลในการปฏิบัติงานป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดของกำนันผู้ใหญ่บ้านอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยสามารถร่วมกันทำนายระดับประสิทธิผลในการปฏิบัติงานป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดของกำนันผู้ใหญ่บ้าน ได้ร้อยละ 59.70 การมีส่วนร่วมในผลประโยชน์ (β=.224) และการมีส่วนร่วมในการดำเนินการ (β=.148) มีอิทธิพลต่อประสิทธิผลในการปฏิบัติงานป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดของกำนันผู้ใหญ่บ้าน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ส่วนการมีส่วนร่วมในการประเมินผล (β=.105) มีอิทธิพลต่อประสิทธิผลในการปฏิบัติงานป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดของกำนันผู้ใหญ่บ้าน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยสามารถร่วมกันทำนายระดับประสิทธิผลในการปฏิบัติงานป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดของกำนันผู้ใหญ่บ้าน ได้ร้อยละ 36.60 (R2Adj=.366)
References
กรมการปกครอง. (2555). คู่มือปฏิบัติงานเกี่ยวกับกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์อาสารักษาดินแดน.
กฤษฎา นาคประสิทธิ์. (2557). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในเขตเทศบาลเมืองลพบุรี จังหวัดลพบุรี. การค้นคว้าอิสระรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยรังสิต.
กิตติพงษ์ แพงพา. (2563). ภาวะผู้นำของข้าราชการตำรวจที่ส่งผลต่อการมีส่วนร่วมของประชาชนในการ ดำเนินงานป้องกันและปราบปรามยาเสพติดของสถานีตำรวจภูธรเจริญศิลป์ จังหวัดสกลนคร. วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.
เกรียงศักดิ์ จอดนอก. (2558). บทบาทในการสร้างหมู่บ้านปลอดยาเสพติด ของกำนันผู้ใหญ่¬บ้าน ในพื้น¬ที่อำเภอกุสุมาลย์ จังหวัดสกลนคร. วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.
จิรเดช กมลเพ็ชร. (2561). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการแก้ไขปัญหายาเสพติดของหมู่บ้าน ตามแนวชายแดนด้านจังหวัดเชียงใหม่และจังหวัดเชียงราย (ศึกษาเฉพาะพื้นที่ชายแดนติดประเทศเมียนมา). ผลงานการวิจัย หลักสูตรการป้องกันราชอาณาจักร รุ่นที่ 60 (ลักษณะวิชาสังคมจิตวิทยา). วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร.
จุลศักดิ์ บุญแดง. (2558). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด ในเทศบาลตำบลนาป่า อำเภอเมืองชลบุรี จังหวัดชลบุรี. วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยบูรพา.
ที่ว่าการอำเภอกุสุมาลย์. (2565). รายงานผลการดำเนินงานป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดประจำปี 2565. สกลนคร: ที่ว่าการอำเภอกุสุมาลย์.
นพพร ธนะชัยขันธ์. (2555). สถิติเบื้องต้นสำหรับการวิจัย. กรุงเทพฯ: วิทยพัฒน์.
ปภินวิช ศรีกุล. (2563). ภาวะผู้นำเชิงพฤติกรรมที่ส่งผลต่อการปฏิบัติงานตามบทบาทหน้าที่ของกำนัน ผู้ใหญ่บ้านในเขตอำเภอบ้านดุง จังหวัดอุดรธานี. วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.
พงษ์ศักดิ์ มุกดาม่วง. (2563). บทบาทกำนันผู้ใหญ่บ้านที่มีต่อประสิทธิผลตามนโยบายด้านการป้องกันและแก้ไข ปัญหายาเสพติดในพื้นที่อำเภอธาตุพนม จังหวัดนครพนม. วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.
ไพโรจน์ ฦาชา. (2565). การมีส่วนร่วมของประชาชนที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์การปฏิบัติงานตามบทบาทหน้าที่ ของกำนัน ผู้ใหญ่บ้านในเขตอำเภอบ้านม่วง จังหวัดสกลนคร. วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร
ศุภิสรา ธารประเสริฐ. (2563). ประสิทธิผลการปฏิบัติหน้าที่ของกำนัน ผู้ใหญ่บ้านในเขตอำเภอธาตุพนม จังหวัดนครพนม. วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.
ศูนย์อำนวยการป้องกันและปรามปรามยาเสพติด. (2564). แผนยุทธศาสตร์ด้านการบำบัดรักษาและฟื้นฟูผู้ป่วย ยาเสพติดประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564-2566. กรุงเทพฯ: ศูนย์อำนวยการป้องกันและปรามปรามยาเสพติด.
สมบูรณ์ ศักดาพิภพ. (2560). ภาวะผู้นำของกำนันผู้ใหญ่บ้านในเขตอำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่. การค้นคว้า อิสระรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
สรายุทธ์ หอมจันทร์. (2563). ภาวะผู้นำของกำนันผู้ใหญ่บ้านที่ส่งผลต่อการบริหารราชการส่วนท้องที่ในจังหวัด สุพรรณบุรี. วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยปทุมธานี.
โสฬส บุญโส และคณะ. (2564). ภาวะความเป็นผู้นำของกำนันผู้ใหญ่บ้านตำบลชัยพฤกษ์ อำเภอเมืองเลย จังหวัดเลย. รายงานการวิจัย. กรุงเทพฯ: กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย.
สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด. (2558). แผนยุทธศาสตร์การป้องกันและแก้ไขปัญหา ยาเสพติด พ.ศ. 2558-2562. กรุงเทพฯ: สำนักยุทธศาสตร์ สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด.
สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด. (2560). รายงานสถานการณ์ยาเสพติด ประจำปี 2559. กรุงเทพฯ: สำนักยุทธศาสตร์ สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด.
สำนักทะเบียนราษฎร ที่ทำการปกครองอำเภอกุสุมาลย์ จังหวัดสกลนคร. (2565). รายงานประจำปี 2565. สกลนคร: ที่ทำการปกครองอำเภอกุสุมาลย์ จังหวัดสกลนคร.
อัมรินทร์ พานัด. (2563). อิทธิพลของภาวะผู้นำเชิงคุณลักษณะที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการปฏิบัติงานของกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ในอำเภอโพนสวรรค์ จังหวัดนครพนม. วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัย ราชภัฏสกลนคร.
Cohen, J. M. & Uphoff N. T. (1980). “Participation’s Place in Rural Develop: Seeking clarity Through Specificity”. World Development. 1980.
Yamane, T. (1973). Statistic: An Introductory Analysis. (3rd ed). New York: Harper and Row.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial 4.0 International License.
บทความที่ตีพิมพ์ในวารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร เป็นทัศนะ ลิขสิทธิ์ และความรับผิดชอบของผู้เขียนเจ้าของผลงาน