การศึกษาการผลิตสารสกัดครามสกลนครสู่การแปรรูปผลิตภัณฑ์บำรุงผิวพรรณ วิสาหกิจชุมชนแสงจันทร์สมุนไพรเกษตรแปรรูปอินทรีย์ จังหวัดสกลนคร

ผู้แต่ง

  • นันทกาญจน์ เกิดมาลัย คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร
  • สุพิชญา นิลจินดา คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร
  • นิรมล เนื่องสิทธะ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร
  • ศุภกร อาจหาญ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร
  • กนกวรรณ วรดง คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร
  • ปริฉัตร ภูจิตร คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร
  • ชนินทร์ วะสีนนท์ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

คำสำคัญ:

สารสกัดคราม, ผลิตภัณฑ์, บำรุงผิวพรรณ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการผลิตสารสกัดจากครามสกลนครสำหรับการแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์บำรุงผิวพรรณ วิธีการศึกษารูปแบบการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (PAR) ใช้กระบวนการวิจัยเชิงคุณภาพ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ ใช้การสังเกต การสังเกตแบบมีส่วนร่วม กลุ่มตัวอย่างวิสาหกิจชุมชนแสงจันทร์สมุนไพรเกษตรแปรรูปอินทรีย์ จังหวัดสกลนคร วิเคราะห์งานวิจัยเชิงคุณภาพแบบนิรนัย (Deductive method) ด้วยการนำเสนอแบบการพรรณนาบรรยาย ผลการวิจัยเพื่อสกัดสาระสำคัญจากใบ พบว่า ใช้ใบครามฝักงอจากแปลงบ้านดอนกอย อำเภอพรรณานิคม จังหวัดสกลนคร แหล่งผลิตเนื้อครามและแปรรูปที่มีชื่อเสียงของจังหวัดสกลนคร ขั้นตอนการสกัด นำใบครามฝักงอมาล้างทำความสะอาดผึ่งลมให้แห้งเก็บในที่ร่มหลีกเลี่ยงความชื้นนำมาบดละเอียด สกัดแบบมาเซอร์เรชั่นด้วยตัวทำละลายเอทานอล 3 วัน กรองแยกสารละลายและระเหยด้วยเครื่องระเหยสุญญากาศแบบหมุน (Rotary Evaporator) ส่วนกากนำมาสกัดซ้ำ 2 ครั้ง ทำละลายด้วยเอทานอล ชั่งน้ำหนักของสารสกัด บรรจุขวดแก้วสีชาปิดฝาให้สนิทเก็บอุณหภูมิในตู้เย็น สารสกัดเป็นแบบหยาบจึงทำให้ผลิตภัณฑ์มีสีตามธรรมชาติ ไม่ขาวใส ข้อเสนอนแนะการนำผลวิจัยไปใช้ สามารถเติมสีและกลิ่นได้ตามความต้องการของผู้ใช้ สารสกัดครามมีศักยภาพ ข้อเสนอแนะการวิจัยครั้งต่อไป สามารถพัฒนาให้เป็นผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางและขยายสายผลิตภัณฑ์แต่งหน้า เช่น ลิปสติก อายเชโด้ บลัชออน พัฒนาเครื่องสกัดสารจากใบครามระดับวิสาหกิจชุมชน และส่งใบครามในเอทานอลให้บริษัทสกัดสารเพื่อแปรรูปเป็นสารกสัดที่พร้อมใช้ เพื่อให้สามารถผลิและแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ที่หลากหลายเพิ่มทางเลือกแก่ผู้บริโภค

References

กนกวรรณ วรดง. (2561). โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช อันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี (อพ.สธ.) กิจกรรมการใช้ประโยชน์จากใบครามในการทำผลิตภัณฑ์น้ำใสยับยั้งเชื้อ Propionibacterium acnes. สกลนคร: มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์. (2563). สมุนไพรและผลิตภัณฑ์สมุนไพร. สืบค้น 17 ตุลาคม 2565, จาก https://www.ditp.go.th/contents_attach/584685/584685.pdf

กรุงเทพธุรกิจ. (2563). ตลาดสมุนไพรเศรษฐกิจหลักของไทย. สืบค้น 17 ตุลาคม 2565, จาก https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/914569.

กลุ่มงานยุทธศาสตร์และพัฒนาจังหวัดสกลนคร. (2564). แผนพัฒนาจังหวัดสกลนคร 5 ปี (พ.ศ.2561- 2565) ฉบับทบทวน ประจำปีงบประมาณ 2564. สกลนคร: สำนักงานจังหวัดสกลนคร. 118

ชนัญ ผลประไพ และศรัณยู อุ่นทวี. (2562). การพัฒนากระบวนการเตรียมสารสกัดสมุนไพรไทยที่มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ. วารสาร Thai Journal of Science and Technology, 8(5), 479-492

ญาดา พูลเกษม. (2560). "คราม" มีสารต้านอนุมูลอิสระ. สืบค้น 17 ตุลาคม 2565, จาก https://www.nationtvtv/news/378567530.

ญาดา พูลเกษม และคณะ. (2565). ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระและการคัดกรองความเป็นพิษต่อเซลล์ของสาร สกัดจากคราม. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 10(5), 469-486.

นำพล แปนเมือง และคณะ. (2566). การพัฒนาผลิตภัณฑ์เซรั่มที่ผสมสารสกัดหยาบถั่งเช่าสีทองเพื่อบำรุงผิวหน้า. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี, 10(2), 201-212.

นิรมล ศากยวงศ์ และอริย์ธัช ญาติฉิมพลี. (2561). อนุสิทธิบัตร เลขที่ 16673 อสป/200-ข. กรุงเทพมหานคร: กรมทรัพย์สินทางปัญญา.

ปฏิพล ตั้งจักรวรานนท์. (2563). หน้า 188. คัมภีร์การตลาด (ฉบับปรับปรุง). กรุงเทพฯ: เอ็กซเปอร์เน็ท.

ประชาชาติธุรกิจ. (2564). เครื่องสำอางไทยฮอต ขึ้นแท่นส่งออกอันดับ 2 อาเซียน อันดับ 10 ของโลก. สืบค้นเมื่อ 17ตุลาคม 2565 จาก https://www.prachachat.net/economy/news-651308.

พรสิรินทร์ อุดมสมุทรหิรัญ และไอย์ริสา ทองนายแก้ว. (2564). การพัฒนาครีมทามือจากสารสกัดของต้นคราม. สืบค้นเมื่อ 5 สิงหาคม 2566 จาก https://www.nstda.or.th/sims/login/index.

พัตต์วราภรณ์ อุดรสรรพ์ และคณะ. (2563). องค์ประกอบทางพฤกษเคมีและฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระของสารสกัดครามใหญ่ที่สกัด ด้วยแอลกอฮอล์ และน้ำ. วารสารเกษตรศาสตร์และเทคโนโลยี, 1(1), 4-48.

พระราชบัญญัติ (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2565. (2565). เครื่องสำอาง. สืบค้น 1 มีนาคม 2566, จาก https://www.fda.moph.go.th/sites/Cosmetic/Shared%20Documents/Laws.

พระราชบัญญัติทะเบียนพาณิชย์ พ.ศ.2599 (2499, หน้า 1). พระราชบัญญัติทะเบียนพาณิชย์ พ.ศ.2599 รวมแก้ไขเพิ่มเติมฉบับที่ 2 พ.ศ. 2549. สืบค้น 5 ตุลาคม 2566, จาก http://bangsaray.go.th.a33.readyplanet.net/images/sub_C8_2499.pdf.

ราชบัณฑิตยสถาน (2557, หน้า 66). พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน. กรุงเทพฯ: นานมีบุ๊คส์พับลิเคชั่นส์.

ศุภกร อาจหาญ. (2561, หน้า 1). รายงานผลการพัฒนาสารสกัดจากคราม. สกลนคร: มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

สำนักงานจังหวัดสกลนคร. (2565). แผนพัฒนาจังหวัดสกลนคร (พ.ศ. 2561 - 2565) ฉบับทบทวน ประจำปี งบประมาณ พ.ศ. 2564. สำนักงานจังหวัด 31.

สำนักงานเลขานุการของคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคม แห่งชาติ. (2560). ยุทธศาสตร์ชาติ พ.ศ.2561-2580 (ฉบับย่อ).สืบค้น 17 ตุลาคม 2565, จาก https://drive.google.com/file/d/12scnWUn0XxmgoxpJ_b1CrLILbkMqATaF.

สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ. (2563). หน้า 13. รายงานตลาดเครื่องสำอางธรรมชาติราชอาราจักร เนเธอร์แลนด์. สืบค้น 17 ตุลาคม 2565, จาก https://www.ditp.go.th/contents_attach/605462/605462.pdf

สำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ. (2564). ไขคำตอบ BCG Economy Model สำคัญอย่างไรทำไมถึงประกาศเป็นวาระแห่งชาติ. สืบค้น 17 ตุลาคม 2565, จาก https://www.nxpo.or.th/th/7040.

สุวิมล ว่องวาณิช. (2550). การวิจัยประเมินความต้องการจำเป็น. กรุงเทพ: จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย.

อิศเรศ ปัญญา. (2561). การพัฒนาเซรัมจากสารสกัดบัวบก. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทร์วิโรฒ, สืบค้น 6 สิงหาคม 2566, จาก http://iithesis.swu.ac.th/dspace/bitstream.pdf.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-06-11