พฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ตำบลดอนมะนาว อำเภอสองพี่น้อง จังหวัดสุพรรณบุรี

ผู้แต่ง

  • จิราภรณ์ เติมลาภ หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต คณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเอเชียอาคเนย์
  • ราเชนทร์ นพณัฐวงศกร หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต คณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเอเชียอาคเนย์

คำสำคัญ:

พฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเอง, อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน, ตำบลดอนมะนาว

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับพฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านตำบลดอนมะนาว อำเภอสองพี่น้อง จังหวัดสุพรรณบุรี และ 2) เปรียบเทียบพฤติกรรมการดูแลสุขภาพของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านตำบลดอนมะนาว อำเภอสองพี่น้อง จังหวัดสุพรรณบุรี จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล ประชากรกลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านตำบลดอนมะนาว อำเภอสองพี่น้อง จังหวัดสุพรรณบุรี 65 คน ผู้วิจัยนำข้อมูลที่ได้จากการตอบแบบสอบถามไปทำการประเมินผลด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ใช้สถิติ t-test ในการเปรียบเทียบระหว่างตัวแปร และค่าสถิติ One-way ANOVA เพื่อหาความแตกต่างระหว่างตัวแปร เมื่อพบความแตกต่างทำการเปรียบเทียบความแตกต่างรายคู่โดยวิธีของ LSD ผลการวิจัย พบว่า 1) ระดับพฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ตำบลดอนมะนาว อำเภอสองพี่น้อง จังหวัดสุพรรณบุรี ในภาพรวมอยู่ในระดับสูง เรียงลำดับจากมากไปหาน้อย ดังนี้ ด้านการดูแลสุขภาพเบื้องต้น มากที่สุด รองลงมา คือ ด้านการบริโภคอาหาร ด้านการจัดการความเครียด และด้านการออกกำลังกาย ตามลำดับ 2) ผลการเปรียบเทียบพฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านตำบลดอนมะนาว อำเภอสองพี่น้อง จังหวัดสุพรรณบุรีจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล พบว่า อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านจำแนกตามการประกอบอาชีพ และบุคคลที่อาศัยอยู่ด้วยแตกต่างกัน มีพฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองโดยรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

References

กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ. คู่มือสำหรับเจ้าหน้าที่เพื่อยกระดับอสม. เป็นอสม. หมอประจำบ้าน. สืบค้น 12 มิถุนายน 2566 จาก http://xn--y3cri.com/.

กองสนับสนุนสุขภาพภาคประชาชน กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ. (2557). วิวัฒนาการการสาธารณสุขในประเทศ พ.ศ.2521-2557. กรุงเทพฯ: สำนักงานกิจการโรงพิมพ์ องค์การทหารผ่านศึก.

กฤษฎา พรหมสุวรรณ์. (2560). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุในชมรมผู้สูงอายุตำบลหนองไม้แก่น. วิทยานิพนธ์สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์.

จักรี ปัถพี, นวลฉวี ประเสริฐสุข. (2559). พฤติกรรมการส่งเสริมสุขภาพประชาชนของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านอำเภอบ่อพลอย จังหวัดกาญจนบุรี. วารสารวิชาการ Veridian E-Journal, Silpakorn University, 9(3), 1190-1025.

จิราวิช วัฒนชัย และคณะ. (2564). พฤติกรรมการดูแลตนเองของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านเพื่อป้องกันโรคและภาวะแทรกซ้อนของความดันโลหิตสูง. วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ, 39(1), 108-117.

เบญจวรรณ บัวชุ่ม. (2563). ความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ตำบลป่างิ้ว อำเภอเวียงป่าเป้า จังหวัดเชียงราย. วารสารวิชาการกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ,16(3), 49-58.

พร้อมจิตร ห่อนบุญเหิม. (2553). ทฤษฎีการพยาบาลของโอเร็ม: แนวคิดและการประยุกต์. มหาสารคาม: อภิชาติการพิมพ์.

พิมผการ์ ยาโน, ณัฐิดา จินราช, วัชราพร พวงไพรพฤกษ์, ประภัสรา สุวรรณ, และอารีย์ จอแย. (2560). พฤติกรรมที่มีความสัมพันธ์ต่อการดูแลสุขภาพของตนเองของ อสม. ในเขตเทศบาลตำบลบ้านดู่ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย. UBRU Journal for Public Health Research, 6(1), 61-70.

วาสนา สิทธิกัน. (2560). ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุ ในเขตเทศบาลตำบลบ้านโฮ่ง อำเภอบ้านโฮ่ง จังหวัดลำพูน. วิทยานิพนธ์สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่.

สมจิต หนุเจริญกุล. (2536). การดูแลตนเอง:ศาสตร์และศิลปะทางการพยาบาล. (พิมพ์ครั้งที่2). กรุงเทพฯ: วี.เจ. พริ้นติ้ง.

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสุพรรณบุรี. สืบค้น 12 มิถุนายน 2566 จาก https://spo.moph.go.th/spo/.

สุรัตน์ อนันทสุข. (2564). โปรแกรมพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพเพื่อชะลอภาวะไตเสื่อมในผู้ป่วย โรคเบาหวานชนิดไม่พึ่งอินซูลินในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบางพูน อำเภอเมืองปทุมธานี จังหวัดปทุมธานี. วิทยานิพนธ์ คหกรรมศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

อนงค์ หาญสกุล และศิริลักษณ์ ง้าวนาเสียว. (2555). พฤติกรรมสร้างเสริมสขภาพของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านอำเภอบำเหน็จณรงค์ จังหวัดชัยภูมิ. วารสารคณะพลศึกษา, 15, 225-235.

อรรถพล เกิดอรุณสุขศรี, ภูริทัต แสงทองพานิชกุล. (2020). การศึกษาพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้สูงอายุในชมรมผู้สูงอายุโรงพยาบาลราชพิพัฒน์บนพื้นฐานของปัจจัยส่วนบุคคลและแรงสนับสนุนทางสังคม. วชิรเวชสาร และวารสารเวชศาสตร์เขตเมือง, 64(2), 85-96.

ANGELO GONZALO. (2023). Nola Pender: Health Promotion Model. สืบค้น 15 กรกฎาคม 2566 Available https://nurseslabs.com/nola-pender-health-promotion-model.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-06-11

How to Cite

เติมลาภ จ., & นพณัฐวงศกร ร. (2024). พฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ตำบลดอนมะนาว อำเภอสองพี่น้อง จังหวัดสุพรรณบุรี. วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร, 4(2), 713–730. สืบค้น จาก https://so08.tci-thaijo.org/index.php/JMSSNRU/article/view/2564