นิติเศรษฐศาสตร์ว่าด้วยการแทรกแซงทางเศรษฐกิจโดยรัฐ กรณีธุรกิจประกันภัย
คำสำคัญ:
นิติเศรษฐศาสตร์, การแทรกแซงทางเศรษฐกิจ, การประกันภัยบทคัดย่อ
บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์การแทรกแซงทางเศรษฐกิจของธุรกิจประกันภัย ซึ่งธุรกิจประกันภัยมีความสำคัญต่อระบบการเงินและความมั่นคงทางสังคม ซึ่งประเทศไทยแบ่งประเภทของการประกอบธุรกิจประกันภัย ออกเป็นประกันวินาศภัย และประกันชีวิต และให้แยกการประกอบธุรกิจประกันวินาศภัยออกจากการประกอบธุรกิจประกันชีวิตโดยเด็ดขาด โดยมีเจตนารมณ์เพื่อคุ้มครองผู้เอาประกันภัยหรือผู้รับประโยชน์ตามกรมธรรม์ประกันภัยให้ได้รับความเป็นธรรม ตามหลักการรับรองสิทธิในทรัพย์สินหรือหลักกรรมสิทธิ์ และหลักเสรีภาพในทางอุตสาหกรรมและการค้า รวมทั้งมีกฎหมายจัดตั้งองค์กรเพื่อเป็นผู้วางกฎเกณฑ์ในการประกอบธุรกิจประกันภัยและเป็นผู้ดูแลควบคุมให้บริษัทประกันภัยปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ ตามหลักการแทรกแซงทางเศรษฐกิจโดยรัฐ แต่สัญญาประกันไวรัสโคโรนา 2019 ไม่มีข้อกำหนดที่ชัดเจนตามกฎหมาย ทำให้คณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัยอนุมัติให้บริษัทประกันชีวิตและบริษัทประกันวินาศภัยสามารถเสนอประกันไวรัสโคโรนา 2019 กับประชาชนได้ซึ่งถือเป็นการประกอบธุรกิจที่ไม่สอดคล้องกับกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ รวมทั้งส่งผลทำให้ประชาชนขาดหลักประกันจากการประกอบการของบริษัทประกันที่ไม่ได้มีการตรวจสอบความสามารถที่จะรับผิดชอบต่อผู้เอาประกันได้ จนทำให้เกิดการเลิกประกอบการของบริษัทประกันภัย ทำให้คณะกรรมการต้องเข้าควบคุมกิจการที่ขาดสภาพคล่องรุนแรง จนส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นของประชาชนต่อการประกันภัยในภาพรวม คณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัยจึงควรกำหนดกฎเกณฑ์ในการประกันภัยไวรัสโคโรนา 2019 โดยการวางหลักเกณฑ์กำหนดหลักทรัพย์ของบริษัทที่สูงขึ้นกว่าการประกันชีวิตตามลักษณะความเสี่ยงของโรคอุบติใหม่เพื่อเป็นหลักประกันให้ประชาชนเกิดความเชื่อมั่น รวมทั้งกำหนดรูปแบบการรับประกันภัยโรคอุบัติใหม่ให้ชัดเจนและเข้มงวดเพื่อให้เกิดความเชื่อมั่นต่อระบบประกันภัยของไทย
References
ไชยยศ เหมะรัชตะ. (2549). คำอธิบายประมาลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยประกันภัย. กรุงเทพมหานคร : นิติธรรม. ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
พรชัย สุนทรพันธุ์ ณชัชชญา ทองจันทร์ และสุเมธ จานประดับ. (2565). ปัญหาทางกฎหมายของสัญญาประกันภัยไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19). วารสารการบริหารปกครอง, 11 (1). 1-15.
พระราชบัญญัติคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย พ.ศ. 2550
พระราชบัญญัติประกันชีวิต พ.ศ. 2535 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2551
พระราชบัญญัติประกันวินาศภัย พ.ศ. 2535 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2551
ภาณุกร เจริญลิขิตกวิน. (2562). มาตรการทางกฎหมายในการกำกับดูแลกิจการประกันภัยต่อของบริษัทประกันวินาศภัยไทยโดยผู้รับประกันภัยต่อต่างประเทศ. วารสารบัณฑิตศึกษานิติศาสตร์ 12 (1). 138-144.
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักร พ.ศ. 2560
วรชัย แสนสีระ. (2552). การควบคุมธุรกิจประกันภัยตามกฎหมายที่แก้ไขใหม่. จุลนิติ (พ.ค.-มิ.ย.). 105-115.
สำนักข่าวอีไฟแนนซ์. (2565). รายงานพิเศษ: ธุรกิจประกันกระอักเลือดเซ่นพิษโควิด ค้น 10 ธันวาคม 2565 จาก https://www.efinancethai.com/LastestNews/LatestNewsMain.aspx?release= y&ref=M&id=RFJZSUJFSDJPcm89.
สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย. (2565). ประกาศคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย. ค้น 15 ธันวาคม 2565 จาก www.oic.or.th.
สุภาวณีย์ อมรจิตสุวรรณ. (2563). หลักกฎหมายมหาชนทางเศรษฐกิจ. กรุงเทพมหานคร : วิญญูชน.
อารยะ ปรีชาเมตตา พรเทพ เบญญาอภิกุล และกุศล เลี้ยวสกุล. (2562). การประกันความเสียหายจากภัยพิบัติ. วารสารเศรษฐศาสตร์และกลยุทธ์การจัดการ. 6 (2). 39-54.
European Commission. (2022). Risk management and supervision of insuran ce companies (Solvency 2), from https://ec.Euro pa.eu/info/business-economy-euro/banking-and-finance/insurance-and-pensions/risk-management-and-supervision-insurance-companies-solvency2_en Insurance Act Chapter 142
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial 4.0 International License.
บทความที่ตีพิมพ์ในวารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร เป็นทัศนะ ลิขสิทธิ์ และความรับผิดชอบของผู้เขียนเจ้าของผลงาน